ถอดรหัสตัวเลข "ประชามติ 2550" จริงหรือไม่...จุดชี้ขาดอยู่ที่ภาคใต้... ???

ถอดรหัสตัวเลข "ประชามติ 2550" จริงหรือไม่...จุดชี้ขาดอยู่ที่ภาคใต้... ???

เหลือเวลาอีกแค่เพียง 1 สัปดาห์เท่านั้นก็จะถึงวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ซึ่งก็ถูกมองว่าจะเป็นวันสำคัญในการชี้ชะตาอนาคตของประเทศไทยซึ่งก็ต้องมาลุ้นกันว่าผลของการออกเสียงประชามติรับ หรือ ไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญนั้นจะออกมาเป็นอย่างไร

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ  ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง นับถอยหลัง 7 วันก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 ส.ค. 59” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 2,810 คน พบว่า

ในประเด็นความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ในการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูล แก่ประชาชนก่อนลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 66.0 พอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ต่อการทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ในการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลแก่ประชาชนก่อนลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559

 

ขณะที่ร้อยละ 25.7 พอใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

 

และร้อยละ 8.3 ระบุว่า ไม่แน่ใจ

ทั้งนี้เมื่อถามว่ากังวลหรือไม่ว่าจะมีกลุ่มคนบางกลุ่มสร้างความก่อกวน/ปั่นป่วน ให้เกิดสถานการณ์รุนแรงในช่วงใกล้วันลงประชามติ ประชาชนร้อยละ 75.4 ระบุว่าไม่กังวล 

 

ขณะที่ร้อยละ 22.0 ระบุว่ากังวล

 

ที่เหลือร้อยละ 2.6 ระบุว่าไม่แน่ใจ

สำหรับความตั้งใจจะไปออกเสียงลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 ส.ค. 59 ที่จะถึงนี้นั้น

 

ส่วนใหญ่ร้อยละ 87.8 ตั้งใจว่าจะไป เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ร้อยละ 2.0 

 

ขณะที่ร้อยละ 6.2 ตั้งใจว่าจะไม่ไป (ลดลงร้อยละ 0.9)

 

และร้อยละ 6.0 ยังไม่แน่ใจ (ลดลงร้อยละ 1.1)

 

สุดท้ายเมื่อถามว่าหากวันนี้เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 48.4 ระบุว่า เห็นชอบเพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งที่ผ่านมา ร้อยละ 3.7 

 

ขณะที่ร้อยละ 7.7 ระบุว่า ไม่เห็นชอบลดลงร้อยละ 2.1

 

ส่วนร้อยละ 8.5 ระบุว่า งดออกเสียงลดลงร้อยละ 3.7

 

และมีถึงร้อยละ 35.4 ระบุว่า ไม่แน่ใจ

เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติก็ยังออกมาเน้นย้ำว่าอย่าได้สร้างความขัดแย้งในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญและต้องช่วยกันทำให้ประเทศดีขึ้น

 

เกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติหรือไม่อย่างไรในวันนี้ทางสำนักข่าวทีนิวส์ก็จะได้มีการประเมินตัวเลขในการทำประชามติครั้งที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ปี 2550 ซึ่งจะเป็นการลงลึกรายละเอียดเป็นรายภาคเพื่อวิเคราะห์กันว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้างที่จะเป็นตัวแปรที่สำคัญในการทำให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านหรือไม่ผ่านการทำประชามติ

สถิติการใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ 19 ส.ค. 2550 จำแนกตามรายภาค ถ้าดูจากทั่วประเทศจะเป็นดังนี้

ผู้มีสิทธิออกเสียง45,092,955 คน ผู้มาใช้สิทธิออกเสียง 25,978,954 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 57.61

ขณะที่มีบัตรที่นำเป็นคะแนน 25,474,747 บัตร เห็นชอบ 14,727,306 บัตร คิดเป็นร้อยละ 56.69 ส่วนไม่เห็นชอบ 10,747,441 บัตร คิดเป็นร้อยละ 41.37 

ส่วนบัตรที่ไม่สามารถที่จะนับเป็นคะแนนได้ คือ บัตรเสีย504,120 บัตร และบัตรที่มีการคืนและอื่น ๆ 87 บัตร รวม 504,207 คิดเป็นร้อยละ 1.94

ทั้งนี้เมื่อแยกตามรายภาคก็จะพบว่ามีสถิติที่น่าสนใจ ดังนี้

 

เริ่มกันที่ภาคกลางผู้มีสิทธิออกเสียง15,144,307 คน ผู้มาใช้สิทธิออกเสียง 8,741,488 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 57.72

ขณะที่มีบัตรที่นำเป็นคะแนน 8,589,647 บัตร เห็นชอบ 5,714,973 บัตร คิดเป็นร้อยละ 65.38 ส่วนไม่เห็นชอบ 2,874,674 บัตร คิดเป็นร้อยละ 32.89 

ส่วนบัตรที่ไม่สามารถที่จะนับเป็นคะแนนได้ คือ บัตรเสีย151,815 บัตร และบัตรที่มีการคืนและอื่น ๆ 26 บัตร รวม 151,841 คิดเป็นร้อยละ 1.74

ภาคใต้ผู้มีสิทธิออกเสียง6,268,074 คน ผู้มาใช้สิทธิออกเสียง 3,717,664 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 59.31

ขณะที่มีบัตรที่นำเป็นคะแนน 3,640,389 บัตร เห็นชอบ 3,214,506 บัตร คิดเป็นร้อยละ 86.47 ส่วนไม่เห็นชอบ 425,883 บัตร คิดเป็นร้อยละ 11.46 

ส่วนบัตรที่ไม่สามารถที่จะนับเป็นคะแนนได้ คือ บัตรเสีย 77,217 บัตร และบัตรที่มีการคืนและอื่น ๆ 4 บัตร รวม 77,275 คิดเป็นร้อยละ 2.08

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือผู้มีสิทธิออกเสียง 15,351,973 คน ผู้มาใช้สิทธิออกเสียง 8,350,677 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54,39

ขณะที่มีบัตรที่นำเป็นคะแนน 8,200,139 บัตร เห็นชอบ 3,050,182 บัตร คิดเป็นร้อยละ 36.53 ส่วนไม่เห็นชอบ 5,149,957 บัตร คิดเป็นร้อยละ 61.67 

ส่วนบัตรที่ไม่สามารถที่จะนับเป็นคะแนนได้ คือ บัตรเสีย 150,492 บัตร และบัตรที่มีการคืนและอื่น ๆ 46 บัตร รวม 150,538 คิดเป็นร้อยละ 1.80

ภาคเหนือผู้มีสิทธิออกเสียง 8,328,601 คน ผู้มาใช้สิทธิออกเสียง 5,169,125 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 62.06

ขณะที่มีบัตรที่นำเป็นคะแนน 5,044,572 บัตร เห็นชอบ 2,747,654 บัตร คิดเป็นร้อยละ 23.15 ส่วนไม่เห็นชอบ 2,296,927 บัตร คิดเป็นร้อยละ 44.44 

ส่วนบัตรที่ไม่สามารถที่จะนับเป็นคะแนนได้ คือ บัตรเสีย 124,542 บัตร และบัตรที่มีการคืนและอื่น ๆ 11 บัตร รวม 124,553 คิดเป็นร้อยละ 2.41

ตัวเลขที่เกิดขึ้นนั้นกำลังที่จะบอกอะไรนั้นสำนักข่าวทีนิวส์ก็อยากที่จะตั้งข้อสังเกตว่าตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้นผ่านไปได้นั่นก็คือการออกมาใช้สิทธิ์ของประชาชนในภาคใต้

ย้ำกันอีกครั้งว่าภาคใต้นั้นมีสิทธิออกเสียง6,268,074 คน ผู้มาใช้สิทธิออกเสียง 3,717,664 คนเห็นชอบ 3,214,506 บัตร ส่วนไม่เห็นชอบ 425,883 บัตร

เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่าการออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550 นั้นคนใต้ถึง 86.47 % ออกเสียงรับร่างรัฐธรรมนูญซึ่งก็ถือว่าเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดเนื่องจากคะแนนเสียงในภาคอีสานนั้นที่มีปริมาณสูงถูกมองว่ายังมีอิทธิพลของนักการเมืองเครือข่ายของบุคคลที่มีความชื่นชอบในนายทักษิณ ชินวัตรก็น่าที่จะคงสภาพของคะแนนเดิมเอาไว้ได้

อย่างไรก็ตามแต่นี่เป็นเพียงการวิเคราะห์ข้อมูลในเบื้องต้นเท่านั้นแต่ท้ายที่สุดนั้นประชาชนทุกภาคนั้นก็ล้วนแต่มีความสำคัญและถือว่าเป็นผู้กำหนดอนาคตของประเทศด้วยกันทั้งสิ้น

ซึ่งสำนักข่าวทีนิวส์ก็หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่าพี่น้องประชาชนนั้นจะออกมาใช้สิทธิ์ออกเสียงประชามติ ไม่ว่าการใช้สิทธิ์นั่นจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญก็ตาม

ส่วนในประเด็นของการแสดงความคิดเห็นเรื่องการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญนั้น ล่าสุดของฟากฝั่งของรัฐบาลก็ได้มีการเปิดเวทีให้แสดงความคิเห็นกันทั่วประเทศ

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเปิดเวทีให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ระหว่าง 29 ก.ค.-4 ส.ค.59 โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. อยากให้ประชาชนเกิดความตื่นตัว และมีโอกาสรับรู้เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญอย่างถูกต้อง โดยแต่ละจังหวัดจะเชิญชวนประชาชนให้เข้าร่วมกิจกรรม ณ สถานที่ที่จังหวัดกำหนด เน้นกลุ่มเป้าหมายหลากหลายพื้นที่และกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มอาชีพอิสระ กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มอาสาสมัคร กลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มผู้สูงอายุ นักเรียนนักศึกษา เป็นต้น

ซึ่งรัฐบาลไม่เคยปิดกั้นการแสดงความเห็น และต้องการสนับสนุนให้มีการถกเถียงในสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวาง แต่ขอความร่วมมือทุกฝ่ายยึดมั่นในกฎกติกา ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงหรือพูดหยาบคาย ใส่ร้ายป้ายสี อย่างไรก็ตาม เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ร่วมกิจกรรม ได้มอบหมายให้ศูนย์รักษาความสงบฯ จังหวัด ประสานกองกำลังทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง เพื่อร่วมกันปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง

พล.ต.สรรเสริญ กล่าวอีกว่าขณะนี้ประชาชนมีความตื่นตัวเรื่องการออกเสียงประชามติมากขึ้น ซึ่งจากการลงพื้นที่ของครู ค. พบว่า ชาวบ้านสนใจซักถามเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับจากภาครัฐมากเป็นพิเศษ โดยรัฐบาลยืนยันว่าสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนจะไม่มีการยกเลิก และจะสร้างมาตรฐานในเรื่องเหล่านั้นให้มีความสมบูรณ์ เป็นธรรม และเข้าถึงประชาชนให้มากกว่าที่เป็นอยู่

ขณะที่ทางด้านของ นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เปิดเผยถึงแผนประชาสัมพันธ์ และชี้แจงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญในช่วงสัปดาห์สุดท้าย ก่อนการออกเสียงลงคะแนนประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า กรธ.ได้ยึดตามระเบียบ และกติกาที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดต่อการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ ที่สามารถทำได้ในสื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ และสื่อมวลชน

โดย กรธ.พยายามขอความอนุเคราะห์จากผู้ที่เกี่ยวข้องในการช่วงประชาสัมพันธ์เนื้อหา ทั้งการแจกเอกสารสรุปสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ หรือแจกใบปลิวตามสถานีบริการน้ำมัน หรือห้างสรรพสินค้า เนื่องจาก กรธ.ไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะว่าจ้างให้บุคคลใดมาดำเนินการ นอกจากนั้นในการหารือร่วมกันของ กรธ.เห็นตรงกันว่า ช่วงปลายสัปดาห์หน้าจะให้กรรมการ กรธ.จัดรายการทางสถานีโทรทัศน์ ซึ่งเป็นรายการสด เพื่อสื่อสารสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนควรรู้ก่อนลงประชามติ และชี้แจงประเด็นที่ถูกบิดเบือนไปยังประชาชนด้วยเพราะเชื่อว่าการสื่อสารไปยังประชาชนผ่านทางสถานีโทรทัศน์จะเข้าถึงประชาชนมากที่สุด อย่างไรก็ตามการวางแผนดังกล่าวยังต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอีก 1-2 วัน จะมีความชัดเจน และจะแถลงให้รับทราบต่อไป

นายนรชิต กล่าวด้วยว่า สำหรับการให้ข้อมูลและสาระสำคัญของเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญกับประชาชนตามพื้นที่ต่างๆ กรธ.ยังคงลงพื้นที่ และทำอย่างต่อเนื่อง สำหรับในส่วนของกทม. นั้นสำนักงานเขตแต่ละโซนของ กทม.ได้จัดเวทีเพื่อเชิญผู้นำชุมชนมารับฟังการชี้แจงของ กรธ. ส่วนกรณีที่มีผู้นำของพรรคการเมืองทยอยประกาศจุดยืนว่าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ และหลายฝ่ายกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญในพื้นที่หรือชุมชนนั้น ส่วนตัวมองว่าประเด็นดังกล่าวไม่มีความน่ากังวล เพราะเชื่อว่าประชาชน หรือผู้นำชุมชนที่มาฟังการบรรยายของกรธ.?จะสามารถนำไปชั่งน้ำหนัก และตัดสินใจก่อนการออกเสียงประชามติ

และในทุก ๆ วันนั้นทางด้านของนายสุเทพ เทือกสุบรรณก็จะมีการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เพื่อพูดถึงร่างรัฐธรรมนูญ

เริ่มกันที่นายนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูประเทศ กล่าวผ่าน เฟสบุ๊กไลฟ์ตอนหนึ่งว่า ตนจะไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตามที่ได้ตั้งสัตยาธิษฐานไว้ต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเพื่อไม่ให้วิญญาณของผู้รักชาติรักแผ่นดินที่ได้เสียสละชีวิตในการต่อสู้ร่วมกับพี่น้องมวลมหาประชาชนนั้นเสียเปล่า