"มีชัย" ขอบคุณที่ออกมาใช้สิทธิ ...ไม่เกิน 4 เดือน รอใช้ "รัฐธรรมนูญฉบับใหม่"  ทั้งหมดจะทำเพื่อประโยชน์สุขต่อไปในอนาคต (มีคลิป)

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยกรธ. ร่วมแถลงเพื่อขอบคุณประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ ซึ่งมีผลอย่างไม่เป็นทางการว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิเกินครึ่งนายมีชัย นำแถลงว่า ตน

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยกรธ. ร่วมแถลงเพื่อขอบคุณประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ ซึ่งมีผลอย่างไม่เป็นทางการว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิเกินครึ่งนายมีชัย นำแถลงว่า ตนขอขอบแถลงขอบคุณประชาชนผู้มาออกเสียงลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ทำให้ผลการลงประชามติมีแนวโน้มจะได้รับความเห็นชอบเกินครึ่ง และขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้การสนับสนุนการทำงานของกรธ.โดยสำคัญคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ให้คำชี้แจงต่อกระบวนการอธิบายความของร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ รวมถึงขอขอบคุณผู้ที่เห็นต่างกับกรธ.ที่ช่วยเพิ่มความกว้างขวางของการรับรู้ในเนื้อหาไปสู่ประชาชนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหลังจากนี้ไปตนขอให้ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกับรัฐบาล และคสช. เพราะทั้งหมดจะทำเพื่อประโยชน์สุขต่อไปในอนาคต

ต่อไปนี้ ผมคิดว่า เรากำลังจะมีกติกาใหม่ที่ผ่านความเห็นชอบของประชาชนทั้งประเทศ เราต้องลืมเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างการรณรงค์ทำประชามติ ที่แสดงความเห็นที่แตกต่าง ตำหนิ และต่อว่า หากเป็นส่วนที่กระทำต่อ กรธ. ทางกรธ.จะขอทิ้งไป หากกรธ.ตอบและทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดี ขออภัยและขอให้ลืม เพื่อให้เดินหน้าและนำพาประเทศเดินหน้าตามกติกาใหม่ที่เราเห็นดีเห็นงามร่วมกัน ขอให้รับรู้ว่า กรธ. จะรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายที่จัดทำกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองและการเลือกตั้งให้มากที่สุด เพราะเรารู้ดีว่าความชำนาญในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งมีน้อยมาก ซึ่งกรธ.พร้อมรับความเห็นของพรรคการเมืองและพร้อมรับนัดพูดคุยเพื่อให้เกิดความร่วมมือซึ่งกันและกัน แต่คงไม่ถึงขั้นให้ร่วมยกร่างกฎหมาย เพราะกังวลว่าอาจมีข้อครหาตามมาภายหลัง"

หลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศผลการออกเสียงประชามติอย่างเป็นทางการแล้ว ต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 4 เดือนร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถึงมีผลบังคับใช้ เพราะกรธ.ต้องนำร่างรัฐธรรมนูญกลับมาปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับคำถามประกอบร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวต้องหารือร่วมกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่าเนื้อหาของคำถามประกอบมีบทบัญญัติที่ครอบคลุมประเด็นอะไรบ้าง โดยเวลาที่กรธ.ต้องพิจารณาคือ ภายใน 30 วัน จากนั้นต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาบทบัญญัติว่าความสอดคล้องกับคำถามประกอบการออกเสียงประชามติหรือไม่