ครม.-คสช.เคาะแล้วยังไม่ให้ส.ว.เสนอชื่อนายกฯคนนอก (ชมคลิป)

ครม.-คสช.เคาะแล้วยังไม่ให้ส.ว.เสนอชื่อนายกฯคนนอก (ชมคลิป)

มีความชัดเจนขึ้นมาอีกระดับหนึ่งแล้ว สำหรับการตีความคำถามพ่วงประชามติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของส.ว.ในการร่วมพิจารณารายชื่อนายกรัฐมนตรีว่า สามารถเสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรีนอกบัญชีรายชื่อได้หรือไม่ เนื่องจากในวันนี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.ได้ออกมาเปิดเผยว่าที่ประชุมร่วมระหว่างครม.กับคสช.เห็นพ้องต้องกันให้สว.มีสิทธิ์พิจารณาร่วมสส.ตั้งแต่รอบแรก โดยพิจารณาจากรายชื่อในตะกร้าและหากไม่ได้ก็เลือกรอบ2โดยมีสิทธิ์เลือกนอกตะกร้า หรือเสนอนอกบัญชีรายชื่อ และระบุครม.คสช.เห็นพ้องต้องกันให้สว.มีสิทธิ์พิจารณาร่วมสส.ตั้งแต่รอบแรก โดยพิจารณาจากรายชื่อในตะกร้าและหากไม่ได้ก็เลือกรอบ2โดยมีสิทธิ์เลือกนอกตะกร้า นายกหลังลต.ว่าจะเป็นใครมาจากไหนมาเถอะ ขอให้สง่างามเท่านั้นและขออย่ามองเรื่องสืบทอดอำนาจ ผมต้องการนายกที่ไม่ทำผิดกม.และมีธรรมาภิบาลจะได้ไม่วุ่นวายและสับสน นายกกล่าวคำถามพ่วงมีไว้เพื่อต้องการเป็นทางออกให้กับมาตรา 7

คำถามพ่วงประชามติที่กำลังเกิดการตีความอยู่ ในตอนนี้ระบุว่า
“ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”แม้ว่าจะมีข้อคิดเห็นมาจาก ครม. คสช. หรือก่อนหน้านี้เป็นสนช.ไปแล้วนั้น อำนาจในการพิจารณาและเขียนบทบัญญัติลงไปในร่างรัฐธรรมนูญก็คือกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือกรธ. ซึ่งจะมีการประชุมเพื่อให้ได้ข้อสรุปในวันที่ 24สิงหาคมนี้
นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวว่า กรธ.จะมีการประชุมในวันที่ 24 ส.ค. ก็คงจะพิจารณาความเห็นและข้อเสนอต่างๆ เพื่อให้เวลาส่งร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกแก้ไขไปยังศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญจะได้ไม่ส่งกลับมายัง กรธ.อีกครั้ง ทำให้ต้องเสียเวลาเพิ่มอีก 15 วัน ขอยืนยันว่า กรธ.ต้องการให้ประเทศมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรโดยเร็วที่สุด
เมื่อถามว่า เข้าใจว่าคำถามพ่วงฯนั้นเป็นกระบวนการ 2 ขยัก หรือจะเป็นการโหวตเพื่อหานายกรัฐมนตรีในการประชุมครั้งแรกเลย นายอุดมกล่าว่ายังลงความเห็นไม่ได้ คงต้องรอการตัดสินใจของที่ประชุม กรธ.ก่อนแต่ขอยืนยันว่า กรธ.ไม่ได้คิดเหมือน สนช.อยู่แล้ว เพราะมิฉะนั้นคงไม่มีคำถามพ่วงฯแต่อย่างไรก็ตาม เมื่อคำถามพ่วงฯผ่านประชามติ กรธ.ก็ต้องมาดูว่าจะแก้ไขอย่างไร ให้มีความสอดคล้อง ประชาชนที่ลงมติรับคำถามพ่วงฯทราบแค่ว่า ส.ว.มีสิทธิ์เลือกนายกรัฐมนตรี แต่ไม่ทราบว่า ส.ว.จะร่วมเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีด้วย นายอุดมกล่าวว่าก็ต้องไปถาม สนช. ด้วย แต่ตนขอเรียนว่าเรื่องการค้นหาเจตนารมณ์ของประชาชนที่มาลงมตินั้น ก็ต้องฟังจากทุกฝ่ายที่ได้นำเสนอความเห็นมา แม้แต่ข้อวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อมวลชน
อย่างไรก็ตามหากลองซาวด์เสียงส่วนใหญ่ ณ ขณะนี้ก็ดูเหมือนว่าจะให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเสียก่อน แต่ถ้าหากยังเลือกไม่ได้ ก็ค่อยให้ส.ว.ร่วมเสนอบุคคลนอกบัญชีรายชื่อ โดยจะเดินตามรัฐธรรมนูญมาตรา 88 และ 159 เป็นหลักดังต่อไปนี้
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 88 ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง แจ้งรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกินสามรายชื่อต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าว ให้ประชาชนทราบ และให้นำความในมาตรา 87 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม พรรคการเมืองจะไม่เสนอรายชื่อบุคคลตามวรรคหนึ่งก็ได้ มาตรา 159 ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควร ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 และเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 เฉพาะจากบัญชีรายชื่อ ของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าร้อยละห้า ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร การเสนอชื่อตามวรรคหนึ่งต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร  มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องกระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย และมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

อย่างไรก็ดีในทรรศนะของนายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ผู้อำนวยการสำนักข่าวทีนิวส์ พูดในรายการยุคคลถามตรงสนธิญาณฟันธงตอบทางทีนิวส์ทีวีว่า การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนอกหรือในบัญชีรายชื่ออาจไม่ใช่สาระสำคัญ
เพราะท้ายที่สุดผู้ที่จะมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีก็คือเสียงในสภา โดยถ้าหากว่าพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งน่าจะมีคะแนนรวมกันเกินกึงหนึ่งไปถึงกว่า 400 เสียง ไม่เห็นด้วย ก็สามารถโหวตไม่เอานายกรัฐมนตรีคนนอกและเสนอชื่อบุคคลในบัญชีรายชื่อที่ตัวเองต้องการได้อยู่ดี