นายกฯคนนอก จะเป็น"พล.อ.ประยุทธ์" ได้หรือไม่  ??

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก ตามแบบอย่าง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ

ตอนนี้กำลังเป็นกระแสเรียกร้อง ว่าให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก ตามแบบอย่าง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติกล่าวว่า วันนี้สนใจแต่ข่าวนายกรัฐมนตรี คนนอก เขียนทุกวันตนเบื่อหน้าตัวเองในหนังสือพิมพ์แล้วไม่มีแก่นสารของประเทศ มีแต่กระพี้เปลือกนอก ทั้งนี้พล.อ.ประยุทธ์ ยังระบุว่า นายกฯ ไม่ต้องไปหาคนนอกคนใน หาใครสักคนตรงนี้ ไม่ต้องคิดมากอยากทำอะไรก็ทำ ไม่มีหลักการ ไม่มีเหตุผล ไม่มีกฎหมายทั้งสิ้น แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น

พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีนายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ประกาศตั้งพรรคปฏิรูปประชาชนเพื่อสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ว่า ไม่ทราบว่าพล.อ.ประยุทธ์ จะเล่นการเมืองต่อไปหรือไม่ ถ้าถามว่าแม้พล.อ.ประยุทธ์จะเล่นการเมืองต่อ ตนจะยังคงช่วยทำงานเหมือนเดิมหรือไม่นั้น ตนต้องบอกว่าไม่เอาแล้ว ตนชอบความเป็นอิสระ ที่ผ่านมาก็ทำงานมามากแล้ว จึงอยากพัก อยากมีชีวิตเป็นของตัวเอง แต่หากจะให้ช่วยอะไรก็ยินดี แต่ตนคิดว่าน่าจะเป็นวันของคนอื่นที่เขาชอบด้านนี้ เพราะยังมีคนเก่งๆอีก ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวทีนิวส์เคย ได้นำเสนอเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับที่มาของนายกรัฐมนตรีให้คุณผู้ชมได้รับทราบและร่วมพิจารณา โอกาสความเป็นไปได้ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งความเป็นไปได้ที่เราเสนอให้คุณผู้ชมได้รับทราบก็คือว่า โอกาสที่พล.อ.ประยุทธ์จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น มีความเป็นไปได้น้อยเหลือเกิน จนแทบไม่มีก็ว่าได้

กล่าวโดยสรุปสูตรสมการ การได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นั่นก็คือสภาร่วม ที่ประกอบได้ ส.ส.500คน และส.ว.250 รวมเป็น 750 เสียง โดยผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีได้นั้นจะต้องมีคะแนนเกินกึ่งหนึ่ง หรือ376 เสียงขึ้นไปนั่นเอง ตามคาดการณ์ หากว่าพล.อ.ประยุทธ์ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี ยกตัวอย่างมีเสียงของวุฒิทั้ง 250 สนับสนุน ก็ต้องการเสียงของส.ส.อีก 126 เสียง ซึ่งถือว่ามีความเป็นไปได้ ฟังมาถึงตรงนี้คุณผู้ชมอาจรู้สึกแปลกใจว่า พล.อ.ประยุทธ์ก็มีโอกาสที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้งได้ หากมีพรรคการเมืองเสนอรายชื่อเข้าไป แต่สำนักข่าวทีนิวส์และรายการเจาะข่าวร้อน ไม่ได้มองหยุดอยู่แค่เพียงตรงนั้น เพราะเงื่อนไขสำคัญอีกประการก็คือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่ใช้เสียงในสภาเกินกึงหนึ่ง ย้ำนะค่ะว่าสภาผู้แทนราษฎร ก็สามารถล้มรัฐบาลได้แล้ว กล่าวโดยสรุปก็คือพล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีอาจจะได้ แต่สถานะจะไม่มีความมั่นคงเลยนั่นเอง
มาตรา ๑๖๗ รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๗๐
(๒) อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
(๓) คณะรัฐมนตรีลาออก
(๔) พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา ๑๔๔
เมื่อรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตาม (๑) (๓) หรือ (๔) ให้ดาเนินการเพื่อให้มีคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่ตามมาตรา ๑๕๘ และมาตรา ๑๕๙
มาตรา ๑๗๐ ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ
มาตรา ๑๕๑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ
เมื่อได้มีการเสนอญัตติตามวรรคหนึ่งแล้ว จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียงตามวรรคสี่
เมื่อการอภิปรายทั่วไปสิ้นสุดลง โดยมิใช่ด้วยมติให้ผ่านระเบียบวาระเปิดอภิปรายนั้นไป ให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ การลงมติในกรณีเช่นว่านี้มิให้กระทำในวันเดียวกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุดลง
มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
รัฐมนตรีคนใดพ้นจากตำแหน่งเดิมแต่ยังคงเป็นรัฐมนตรีในตำแหน่งอื่นภายหลังจากวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อตามวรรคหนึ่ง หรือพ้นจากตำแหน่งเดิมไม่เกินเก้าสิบวันก่อนวันที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อตามวรรคหนึ่ง แต่ยังคงเป็นรัฐมนตรีในตำแหน่งอื่น ให้รัฐมนตรีคนนั้นยังคงต้องถูกอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจต่อไป
นั่นหมายความว่าในการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยสภาผู้แทนราษฎร จะเสียงเสียงเกินกึ่งหนึ่งของส.ส. ซึ่งมีทั้งหมด 500 คนก็คือ 251 เสียงขึ้นไปเท่านั้นและถ้าหากว่าพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ จับมือกัน โอกาสหลุดจากตำแหน่งของพล.อ.ประยุทธ์ก็จะเกิดขึ้นทันที

เพราะถ้าหากย้อนกลับไปตรวจสอบฐานเสียงส.ส.ในพื้นที่ของพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เมื่อทั้งสองพรรครวมกันคะแนนจะเกิน 250 เสียงแน่นอนอน
ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554

พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ส.ส.265 คนจากแบ่งเขต 204 คน บัญชีรายชื่อ 61 คน
 
พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้ส.ส. 159 คน จากแบ่งเขต 115 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน

สองพรรครวมกันได้คะแนนเสียง 424 เสียง เพราะฉะนั้นจะนายกรัฐมนตรีคนในหรือคนนอกบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นผู้ชี้ขาดอยู่แล้ว
หรือในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2550 ก็ปรากฏคะแนนของทั้งสองพรรคดังนี้

พรรคพลังประชาชน  แบ่งเขต 221  สัดส่วน35 รวม 256 คะแนน
พรรคประชาธิปัตย์ แบ่งเขต 127 สัดส่วน35 รวม162คะแนน
หรือทั้งหมด 418 เสียง
ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าจุดอ่อนดังกล่าว แม่นำ 4 สายที่นำโดยคสช.ทราบมาตั้งแต่ต้นแล้วหรือไม่ จึงมีข้อเสนอขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับอ.มีชัยไปที่ กรธ.แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง ซึ่งก็คือประเด็นที่จะให้ร่วมส.ว.ลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจด้วย ซึ่งจะทำให้คะแนนเสียงสามารถยันกับส.ส.ได้
แม้เนื้อหาของรัฐธรรมนูญและสูตรตัวเลขการเลือกตั้งเหมือนจะเป็นการสกัดไม่ให้พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็ใช่ว่าโอกาสของพล.อ.ประยุทธ์จะหมดไป