ย้อนตรวจสอบ ข้อเท็จจริง ...กระบวนการจับกุมกองกำลังชุดดำภาพของการใช้ความรุนแรงและการสร้างความเสียหายต่อประเทศ  (มีคลิป)

อย่างไรก็ตามเมื่อได้ย้อนกลับไปตรวจสอบข้อเท็จจริงผ่านกระบวนการจับกุมกองกำลังชุดดำ ก็ยิ่งทำให้ภาพของการใช้ความรุนแรงและการสร้างความเสียหายต่อประเทศนั้น ชัดเจนมากขึ้นว่าเกิดมาจากฝีมือของใคร

อย่างไรก็ตามเมื่อได้ย้อนกลับไปตรวจสอบข้อเท็จจริงผ่านกระบวนการจับกุมกองกำลังชุดดำ ก็ยิ่งทำให้ภาพของการใช้ความรุนแรงและการสร้างความเสียหายต่อประเทศนั้น ชัดเจนมากขึ้นว่าเกิดมาจากฝีมือของใคร

11 กันยายน 2557 พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. ในขณะนั้น แถลงข่าวจับกุม 5 ผู้ต้องหาชายชุดดำ ที่ก่อเหตุใช้อาวุธสงครามยิงใส่เจ้าหน้าที่ทหารและผู้ชุมนุมบริเวณสี่แยกคอกวัว เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ประกอบด้วย

1.นายกิตติศักดิ์ สุ่มศรี หรืออ้วน อายุ 45 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา 1600/2557

         

2.นายปรีชา อยู่เย็น หรือ ไก่เตี้ย อายุ 24 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1603/2557

 

3.นายรณฤทธิ์ สุริชา หรือนะ อายุ 33 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1604/2557

 

4.นายชำนาญ ภาคีฉาย หรือ เล็ก อายุ 45 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1605/2557

 

5.นางปุณิกา ชูศรี หรืออร อายุ 39 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1606/2557

นอกจากนี้ ยังมีผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างการหลบหนีอีก 2 ราย ประกอบด้วย

 

1.นายธนเดช เอกอภิวัชร์ หรือ ไก่รถตู้ อายุ 39 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 16001/2557

 

2.นายวัฒนะโชค จีนปุ้ย หรือโบ้ อายุ 23 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1602/2557

 

สำหรับผู้ต้องหาทั้ง 5 รายที่นำตัวมาแถลงข่าวในวันนี้ ถูกตั้งข้อหาร่วมกันมีและใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ ,พกพาอาวุธปืนและวัตถุระเบิดไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่มีเหตุอันควร ทั้งนี้ ผู้ต้องหาทั้งหมดให้การรับสารภาพว่าร่วมกันก่อเหตุจริง

โดยรู้จักกันที่สถานีวิทยุ เอฟเอ็ม 97.75 ก่อนร่วมกันวางแผนก่อเหตุ ที่บ้านริมน้ำ ถนนรามอินทรา โดยมี นายจักรรินทร์ หรือ เสธไก่ ที่อยู่ระหว่างการหลบหนีเป็นผู้บงการจัดอาวุธ ถัดมาอีก 2 วัน คือวันที่ 10 เมษายน 2553 กลุ่มผู้ต้องหาจึงได้ลงมือก่อเหตุ โดยใช้รถตู้สีขาว เป็นยานพาหนะ โดยนำมาจอดไว้บริเวณถนนตะนาว จากนั้นได้เดินเท้าไปยังสี่แยกคอกวัว และลงมือก่อเหตุ โดยไม่ได้ระบุเป้าหมายว่าจะยิงใคร และไม่ได้รับการฝึกอาวุธมาก่อน ซึ่งขณะเกิดเหตุตำรวจสามารถจับกุม ผู้ต้องหาได้ 1 คน พร้อมอาวุธปืน เอ็ม 79 แต่ผู้ชุมนุมได้เข้ามาช่วยเหลือจนผู้ต้องหาสามารถหลบหนีไปได้ทั้งหมด

พลตำรวจเอกสมยศ ยังเปิดเผยระหว่างการแถลงข่าวด้วยว่า ผู้ต้องหากลุ่มนี้มีความเชื่อมโยงกับ น.ส.กริชสุดา คุณะแสน หรือเปิ้ล นักกิจกรรมเสื้อแดงที่ถูกศาลอนุมัติออกหมายจับ กรณีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดหาอาวุธสงครามให้กับผู้ต้องหาคดีใช้อาวุธสงครามยิงใส่สถานที่ต่างๆ ก่อนหน้านี้ โดยพบหลักฐานเป็น สลิปการโอนเงินจำนวนมากให้กับผู้ต้องหาเหล่านี้

จากการแถลงจับกุมผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้อง กับชายชุดดำที่ออกมาปฏิบัติการในวันที่ 10 เมษายน ในปี 2553 มีรายชื่อผู้ต้องหาที่ยังไม่สามารถจับกุมตัวได้ 1 คน คือนายธนเดช เอกอภิวัชร์ หรือ ไก่รถตู้

ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตรงกับสำนักข่าวทีนิวส์ได้มีการนำเสนอมาตลอด เนื่องจากมีข้อสงสัยว่านายธนเดช น่าจะเป็น 1 ในผู้ต้องหาที่มีความเชื่อมโยงกับแกนนำ นปช. ใช่หรือไม่

นี่คือภาพจากกล้อง ซีซีทีวี บริเวณแยกสี่กั๊กที่นายธนเดชได้ขับพาชายชุดดำเข้าไปก่อเหตุที่บริเวณ 4 แยกคอกวัว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อเวลา 20 นาฬิกา 19 นาที  หลังจากมาถึงที่บริเวณ 4 แยกคอกวัว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกองกำลังติดอาวุธชายชุดดำก็ได้ลงจากรถตู้และก็ได้ปฎิบัติการก่อเหตุ

โดยหลังจากที่ชายชุดดำนั้นได้ปฏิบัติภารกิจเสร็จก็ได้ขับรถตู้กลับออกมาผ่านทางแยก 4 กั๊ก และกล้อง ซีซีทีวี ก็ได้สามารถบันทึกภาพได้อีกครั้ง ในเวลา 21 นาฬิกา 1 นาที

และนี่ก็คือโฉมหน้าของ นายธนเดช เอกอภิวัชร์ คนขับรถตู้ให้กับกลุ่มชายชุดดำ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาที่กลุ่มชายชุดดำเรียกว่า ไก่ รถตู้ ซึ่งในเวลาต่อมาแม่ของนายธนเดช ได้เสียชีวิตลง

ปรากฎว่าในงานศพเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปี 2553 บรรดาแกนนำ นปช. ก็ได้ส่งพวงรนีดไปร่วมไว้อาลัย ก็คือ ชินวัฒน์  หาบุญพาด จรัล  ดิษฐาอภิชัย พายัพ  ปั้นเกตุ ขวัญชัย  ไพรพนา พ.ต.ท.ไวพจน์  อาภรณ์รัตน์ จักรภพ  เพ็ญแข

สำหรับการจับกุมกองกำลังชุดดำในครั้งนั้น มีการวิพากษ์วิจารณือย่างกว้างขวาง เนื่องจากแกนนำนปช.ที่นำโดยนายจตุพร ได้ออกโรงมาช่วยเหลือผู้ต้องหาอย่างชัดเจน

18 ก.ย. 2557 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) นายจตุพร พน้อมด้วยแกนนำนปช. เดินทางเข้าพบ พล.ต.อ.สมยศ เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกกรณีที่มีการแถลงผลการจับกุมและทำแผนชายชุดดำในเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553 ที่อ้างว่าอาจทำให้สังคมเข้าใจผิดในประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเข้าใจว่าชายชุดดำกลุ่มนี้ฆ่าทหาร รวมถึง พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ที่ถนนดินสอ นอกจานี้ยังทำให้เข้าใจว่าการชุมชนของประชาชนที่เรียกร้องให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นากรัฐมนตรีในขณะนั้นยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนเมื่อปี 2553 เป็นการชุมนุมที่มีกองกำลังอาวุธใช้ความรุนแรง

 

โดย นปช.ตั้งข้อสังเกตต่อการแถลงข่าวคดีการจับกุมกลุ่มคนที่เรียกว่า “ชายชุดดำ” 5 ข้อโดยพยายามเน้นย้ำว่าว่าการแถลงข่าวจงใจเจตนาให้สังคมเข้าใจว่าเป็นการก่อความรุนแรงตั้งแต่ปี 2553 กระทำต่อเนื่องมาตลอดจนถึงปี 2557 โดยไม่แสดงความชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ซ้ำยังข่มขู่เจ้าหน้าที่ตำรวจอื่นไม่ให้พูดถึงที่มาของข้อมูล เป็นการครอบงำและบังคับให้สังคมเชื่อตามคำพูดของท่านและคณะอย่างลอยๆ ทั้งที่เป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรง

ตอนนั้นผู้สื่อข่าวถามว่า การที่นายจตุพรออกมาแบบนี้จะถูกสังคมมองว่าเป็นการออกมาปกป้องชายชุดดำและเป็นพวกเดียวกัน นายจตุพรกล่าวว่า ไม่มีการปกป้อง ตนประกาศมาตั้งแต่ต้นว่าความตายของทหารและประชาชนไม่ว่าจะเป็นการกระทำของชายชุดใด สีเสื้อใด หากเป็นการทำให้ผู้อื่นตายจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

เพราะฉะนั้นเมื่อพิจารณาจากข้อมูลทั้งหมดทั้งมวลแล้ว คุณผู้ชมก็ลองพิจารณากันดูว่าแกนนำนปช.นั้น มีส่วนร่วมกับความเสียหายและสูญเสียเมื่อการชุมนุมปี 2553 หรือไม่ และมีส่วนเกี่ยวข้องในระดับใด