เอาผิดคนหมิ่นสถาบันฯในต่างประเทศเรื่องนี้ทำได้จริงหรือไม่...!?! (ชมคลิป)

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

 

ภายหลังจากที่ คสช. เข้ามารักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ  ก็พบว่ายังมีปัญหากลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรม การล่วงละเมิดต่อสถาบันเบื้องสูงอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศ และเผยแพร่จากต่างประเทศซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

โดยภายหลังจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย ส่วนหนึ่งที่พล.อ.ประยุทธ์ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและควบคู่กันก็คือ การดำเนินการประสานงานบุคคลที่มีพฤติกรรมล่วงละเมิดสถาบัน โดยแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาคดีความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร 

โดยมีพล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา เป็นประธาน  และมีคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนจากหน่วยงานด้านความมั่นคงเข้าร่วมด้วย อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ICT) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อดำเนินการติดตามความคืบหน้าที่คดีความมั่นคงและหมายจับผู้ต้องหาในคดีหมิ่นสถาบัน

และหลังจากนั้น พล.อ.ไพบูลย์ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายในคดีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาคดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ประกอบด้วย 4 คณะ ได้แก่

1. คณะอนุกรรมการการประสานสร้างความเข้าใจ และความมือต่างประเทศ

 

2. คณะอนุกรรมการการดำเนินการป้องกันทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

3.คณะอนุกรรมการการบูรณาการสืบสวน ปราบปราม จับกุมผู้กระทำผิด

และ4.คณะอนุกรรมการด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

และที่ผ่านมาได้มีการสรุปภาพรวมจำแนกพฤติกรรมการกระทำความผิด ในแต่ละรูปแบบ และกลุ่มบุคคล โดยกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีความมั่นคงจำนวน 31 คน โดยมีการออกหมายจับแล้ว 30 คน และอยู่ระหว่างเตรียมออกหมายจับ 1 คน รวมถึงบุคคลที่หลบหนีไปอาศัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านและยุโรป อีกประมาณ 7 - 8 ประเทศ

และยังมีกลุ่มเฝ้าระวังดังนี้

1. กลุ่มที่ไม่มีหมายจับแต่มีการเคลื่อนไหวในต่างประเทศ

2. กลุ่มที่มีหมายจับและเคลื่อนไหวอยู่ต่างประเทศ

3. กลุ่มที่เคลื่อนไหวอยู่ในประเทศไทย

และ 4. กลุ่มเฝ้าระวัง รวมทั้งสิ้น 135 รายชื่อ

สำหรับ“ผู้ต้องหา”  คดีหมิ่นสถาบัน มาตรา 112 พร้อมประเทศที่ใช้หลบหนีจาก “หน่วยงานความมั่นคง” ที่คอยติดตามความเคลื่อนไหวของ “ผู้ต้องหา” คดีดังกล่าวมาเปิดเผยข้อมูลของปี 2558 โดยมีรายชื่อชงเข้าสู่ที่ประชุมว่า ขณะนี้มีผู้กระทำผิดตามคดีความมั่นคง มาตรา 112 ที่หลบหนีอยู่ต่างประเทศ จำนวน 31 ราย ซึ่งเป็นการกระทำความผิดในการกล่าวพาดพิงสถาบันฯ และวิจารณ์สถาบันฯผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีรายชื่อดังนี้

สหรัฐอเมริกา : 5 ราย ประกอบด้วย

1.นายชูพงศ์ ถี่ถ้วน

 

2.นายเสน่ห์ ถิ่นแสน หรือเพียงดิน

 

3.นายมนูญ ชัยชนะ หรือเอนก ซานฟราน

 

4.นายริชาร์ด สายสมร

 

5.นายจุติเทพ (เลอพงษ์) วิไชยคำมาตย์ หรือโจ กอร์ดอน

ออสเตรเลีย : 1 ราย คือนายองอาจ ธนกมลนันท์

ญี่ปุ่น : 1 ราย คือนายปวิณ ชัชวาลพงศ์พันธ์

ฝรั่งเศส : 1 ราย คือนายจรัล ดิษฐาภิชัย

นิวซีแลนด์ : 1 ราย คือนายเอกภพ เหลือรา หรือตั้ง อาซีวะ

สเปน : 1 ราย คือนายอิมิลิเอ เอสเทแบบ

ฟินแลนด์ : 1 ราย คือนางจรรยา ยิ้มประเสริฐ

แคนาดา : 1 ราย คือพ.ต.อ.หญิง ณหทัย ตัญญะ

กัมพูชา : 3 ราย ประกอบด้วย

 

1.นายพิษณุ พรหมศร

 

2.นายจักรภพเพ็ญแข

 

3.นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

สปป. ลาว : 14 ราย ประกอบด้วย

 

1.นายศรัญ ฉุยฉาย หรืออั้ม เนโกะ (ประเทศฝรั่งเศส)

 

2.นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสร หรือสุรชัย แซ่ด่าน

 

3.นายอิทธิพล สุขแป้น หรือดีเจเบียร์

 

4.นายวัฒน์ วรรลยางกูร

 

5.พุฒิพงษ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋

6.นายชูชีพ ชีวสุทธิ์ หรือชีพ ชูชัย

 

7.นายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล

 

8.นายพิพัฒน์ พรรณสุวรรณ

 

9.นายนิธิวัต วรรณศิริ

 

10นายธกฤ โยนกนาคพันธุ์

11นายชัยอนันต์ ไผ่สีทอง

 

12.นายไตรรงค์ สินสืบวงศ์

 

13.นางสุดา รังกุพันธ์ หรืออาจารย์หวาน

 

14.นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์

นอกจากนี้ ยังมีการประเมินจำนวนของกลุ่มแนวร่วมว่ามีจำนวนเท่าใด และมีพฤติการณ์กระทำผิดในลักษณะเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายหรือขบวนการหรือไม่ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคงจะกำหนดกลุ่มบุคคลที่เข้าข่ายต้องเฝ้าระวังและติดตาม ในส่วนของอัยการได้มีการรายงานความคืบหน้าของคดี และต่อจากนี้จะดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดความผิดคดีอาญาอื่นว่ามีคดีใดบ้าง และมีจำนวนทั้งหมดกี่ราย เพื่อนำไปสู่การขอให้ส่งตัวผู้ต้องหากลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย

คณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าวส่งผลให้มีการบูรณาการข้อมูลข่าวสารร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลร่วมกับกองทัพ และหลังจากนี้จะมีการบูรณาการความร่วมมือกับกองอำนวยการรักษาความมั่งคงในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ๑-๔ และตำรวจภูธรทั่วประเทศ  เพื่อแก้ปัญหาคดีความมั่นคง ในส่วนของการชี้แจงทำความเข้าใจกับต่างประเทศ เป็นสิ่งที่ดำเนินการเช่นกันเนื่องจากผู้ต้องหามักอ้างว่ากระทำความผิดในคดีการเมือง ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

 แต่การติดตามตัว หรือการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนนั้นกับประเทศที่ผู้ต้องหาพำนักอยู่ เมื่อย้อนดูแนวทางของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ผ่านมาจะแบ่งการดำเนินการตามบุคคลอยู่ 2 กรณีคือ

 

1.ผู้ที่กระทำผิดในประเทศและหลบหนีไปต่างประเทศ

 

2. ผู้ที่กระทำผิดในต่างประเทศ และหลบหนีอยู่ในต่างประเทศทั้งที่เป็นคนไทย และคนไทยถือสัญชาติอื่น

ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

 

2.1.ผู้กระทำผิดอยู่นอกประเทศ แต่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย

 

2.2.มีหมายจับ อีกกรณี คือ ผู้ที่กระทำผิดอยู่นอกประเทศถือสัญชาติไทย และกระทำผิดในต่างประเทศ

ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ตั้งคณะทำงานจะดำเนินการติดตามตัวบุคคลเหล่านี้ที่กระทำผิดมาดำเนินคดี โดยจะใช้ช่องทางตั้งแต่กองการต่างประเทศ ส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุด และกระทรวงการต่างประเทศ จากนั้นทางกระทรวงการต่างประเทศของไทยก็จะประสานไปยังกระทรวงต่างประเทศที่บุคคลเหล่านี้พำนัก

ซึ่งการดำเนินการตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นผู้ที่รับผิดชอบได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด และกระทรวงการต่างประเทศ แต่หากประเทศนั้นไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ก็จะใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศ พ.ศ.2535 ส่วนจะส่งตัวให้หรือไม่ หรือ เป็นคดีการเมือง เป็นเรื่องที่ประเทศที่เราร้องขอไปจะเป็นผู้พิจารณา

แต่สุดท้าย ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ซึ่งเรื่องก็เหมือนจะดูเงียบลงไป จนกระทั้งเรื่องนี้มาประเด็นอีกครั้ง ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต  เจ้าหน้าที่ก็พบข้อมูลการจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันฯก็มีมารุนแรงอีกครั้ง  ซึ่งกลุ่มบุคคลก็จะเป็นกลุ่มเดิมที่เคลื่อนไหว และกลุ่มคนในประเทศไทยเอง ที่ทำผิดผ่านโซเชียมีเดีย

ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ต.ค.59  พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาคดีความมั่นคงในราชอาณาจักรหรือคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้กล่าวความคืบหน้าว่า  ได้ให้พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯดำเนินการอยู่แล้ว เราได้ติดตามเรื่องนี้มาตลอดตามที่รัฐบาลได้มอบหมายและจัดตั้งกรรมการติดตามเอาความผิดมาตรา 112 ในต่างประเทศ

โดยมีอธิบดีดีเอสไอเป็นเลขานุการ และคณะกรรมการชุดที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ที่มีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นรองประธานอยู่ อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้จัดตั้งชุดเฉพาะกิจขึ้นคือชุดของศูนย์บัญชาการติดตามสถานการณ์ (ศตส.) ทั้งนี้ในส่วนคณะทำงานของ ยธ.เราได้ให้ทางอธิบดีดีเอสไอประสานกับ ศตส. กต. และหน่วยงานด้านความมั่นคงติดตามเรื่องนี้อยู่

พล.อ.ไพบูลย์กล่าวต่อว่า รายชื่อผู้กระทำความผิดพบเป็นกลุ่มเก่า ซึ่งเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา ผมได้สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูว่าคนเหล่านี้ไปเคลื่อนไหวอยู่ประเทศใด แล้วมาร่างหนังสือให้ผม ผมจะเซ็นในฐานะที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้เป็นประธานฐานะคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาคดีความมั่นคงในราชอาณาจักรเพื่อส่งหนังสือไปยังเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยตามประเทศที่เขาเคลื่อนไหว แต่เราจะต้องมั่นใจก่อนว่าคนเหล่านี้ไปเคลื่อนไหวอยู่ที่ประเทศไหนบ้าง

พล.อ.ไพบูลย์กล่าวต่อว่า ซึ่งเราเองก็เห็นใจเพราะว่าบางครั้งเขาเคลื่อนไหวอยู่ต่างประเทศ เว็บไซต์ต่างๆ ก็ออกไปยังต่างประเทศ และไม่ใช่ว่าเราไม่ทำงานเราทำมาตลอด แต่เราก็ติดเรื่องกฎหมายต่างประเทศซึ่งยืนยันว่าผมติดตามตลอดไม่ใช่แค่ช่วงนี้เท่านั้น แต่ก็มักจะติดเรื่องการเคลื่อนไหวในต่างประเทศ และในแง่กฎหมายเราก็เคารพอธิปไตยประเทศอื่น และที่ผ่านมาเราก็ทำหนังสือไปในระดับรัฐมนตรีในประเทศที่เรามีความสัมพันธ์ในแง่การทำงานอยู่และเราจะทำหนังสือไปอีกครั้งในส่วนคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาคดีความมั่นคงในราชอาณาจักร แต่ในส่วนรัฐบาลและหน่วยงานอื่นก็ให้ประสานมายัง ศตส.จะได้ทำควบคู่กันได้

ขณะที่ล่าสุดนั้นทางด้านของพล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก็ได้มีการออกมาพูดถึง การดำเนินคดีข้อหามาตรา 112 ว่าดำเนินคดีไปแล้ว 4 - 5 ราย