พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้...ความเป็นมาของ"กังหันน้ำชัยพัฒนา" สิ่งประดิษฐ์ของพระมหากษัตริย์นักพัฒนา (ชมภาพหาดูยาก)

พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้...ความเป็นมาของ"กังหันน้ำชัยพัฒนา" สิ่งประดิษฐ์ของพระมหากษัตริย์นักพัฒนา (ชมภาพหาดูยาก)


28ตุลาคม 2559 เพจ  Information Division of OHM ซึ่งเป็นเพจ กองข่าว สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง ได้เผยแพร่ประวัติที่มาของ กังหันน้ำชัยพัฒนา...
 

สิ่งประดิษฐ์ ที่ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 และเป็นที่มาของ  วันนักประดิษฐ์ อีกด้วย

โดยมีข้อความเนื้อหาดังนี้

เมื่อปี ๒๕๓๑ ประเทศไทยประสบปัญหาน้ำเสียในหลายพื้นที่หลายแห่ง ทั้งในเขตกรุงเทพ ฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด สภาพความเน่าเสียของน้ำบริเวณต่าง ๆ มีอัตราแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้น การใช้วิธีธรรมชาติไม่อาจได้ผลอีกต่อไป
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานรูปแบบและแนวพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๑ ให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตได้เองในประเทศ ซึ่งมีรูปแบบ ไทยทำไทยใช้  โดยทรงได้แนวทางจาก  หลุก  ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านาอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นจุดคิดค้นเบื้องต้น และทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย
การนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อการศึกษาและวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ โดยดำเนินการจัดสร้างเครื่องมือบำบัดน้ำเสียร่วมกับกรมชลประทาน ซึ่งได้มีการผลิตเครื่องกลเติมอากาศขึ้นในเวลาต่อมา และรู้จักกันแพร่หลายทั่วไปในปัจจุบันคือ  กังหันน้ำชัยพัฒนา และได้นำไปติดตั้งใช้ในกิจกรรมบำบัดน้ำเสียที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นระยะเวลา ๔ – ๕ ปี
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการทูลเกล้า ฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ นับได้ว่าเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย และเป็นครั้งแรกของโลกที่ทรงคิดค้นประดิษฐ์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ
และต่อมาในปี ๒๕๓๗ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติกำหนดให้วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น  วันนักประดิษฐ์  เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

เมื่อปี ๒๕๓๑ ประเทศไทยประสบปัญหาน้ำเสียในหลายพื้นที่หลายแห่ง ทั้งในเขตกรุงเทพ ฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด สภาพความเน่าเสียของน้ำบริเวณต่าง ๆ มีอัตราแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้น การใช้วิธีธรรมชาติไม่อาจได้ผลอีกต่อไป
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานรูปแบบและแนวพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๑ ให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตได้เองในประเทศ ซึ่งมีรูปแบบ ไทยทำไทยใช้  โดยทรงได้แนวทางจาก  หลุก  ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านาอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นจุดคิดค้นเบื้องต้น และทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย
การนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อการศึกษาและวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ โดยดำเนินการจัดสร้างเครื่องมือบำบัดน้ำเสียร่วมกับกรมชลประทาน ซึ่งได้มีการผลิตเครื่องกลเติมอากาศขึ้นในเวลาต่อมา และรู้จักกันแพร่หลายทั่วไปในปัจจุบันคือ  กังหันน้ำชัยพัฒนา และได้นำไปติดตั้งใช้ในกิจกรรมบำบัดน้ำเสียที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นระยะเวลา ๔ – ๕ ปี
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการทูลเกล้า ฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ นับได้ว่าเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย และเป็นครั้งแรกของโลกที่ทรงคิดค้นประดิษฐ์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ
และต่อมาในปี ๒๕๓๗ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติกำหนดให้วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น  วันนักประดิษฐ์  เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

 

โดย จิรศักดิ์ ทิตตยานนท์ สำนักข่าวทีนิวส์

ข้อมูลจาก Information Division of OHM
 

 

 

พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้...ความเป็นมาของ"กังหันน้ำชัยพัฒนา" สิ่งประดิษฐ์ของพระมหากษัตริย์นักพัฒนา (ชมภาพหาดูยาก) พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้...ความเป็นมาของ"กังหันน้ำชัยพัฒนา" สิ่งประดิษฐ์ของพระมหากษัตริย์นักพัฒนา (ชมภาพหาดูยาก) พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้...ความเป็นมาของ"กังหันน้ำชัยพัฒนา" สิ่งประดิษฐ์ของพระมหากษัตริย์นักพัฒนา (ชมภาพหาดูยาก) พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้...ความเป็นมาของ"กังหันน้ำชัยพัฒนา" สิ่งประดิษฐ์ของพระมหากษัตริย์นักพัฒนา (ชมภาพหาดูยาก)