พระกรุณาหาที่สุดมิได้ !!!  "ชูวิทย์" เข้าข่ายหนึ่งในรายชื่อ "ในหลวงร.10"  พระราชทานอภัยโทษผู้ต้องขัง (รายละเอียด)

นายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ อธิบดีกรมราชทัณฑได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่บุคคล

นายกอบเกียรติ  กสิวิวัฒน์  อธิบดีกรมราชทัณฑได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดี   อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ โดยผู้ที่เข้าหลักเกณฑ์ได้รับอภัยโทษปล่อยตัวและลดโทษรวม ประมาณ   140,000 คน แยกเป็นผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวรวมกว่า 30,000 คน ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้จะมีคณะกรรมการพิจาณาโดยมีผู้ว่ารายการจังหวัด ผู้พิพากษา อัยการมาตรวจสอบให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด เสนอศาลออกหมายปล่อยตัวและหมายลดโทษ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วันในการพิจารณาและจะทยอยปล่อยนักโทษออกมาได้

พระกรุณาหาที่สุดมิได้ !!!  "ชูวิทย์" เข้าข่ายหนึ่งในรายชื่อ "ในหลวงร.10"  พระราชทานอภัยโทษผู้ต้องขัง (รายละเอียด)

ภาพ 26 ม.ค. 2546  ทำลายร้านบาร์เบียร์  บริเวณสุขุมวิทสแควร์

ย้อนกลับไป ช่วงเช้ามืดเวลา 04.00 น. วันที่ 26 ม.ค. 2546 มีกลุ่มชายฉกรรจ์นับหลายร้อยคน แต่งกายชุดซาฟารี พร้อมรถแบ็กโฮ บุกเข้าทำลายร้านบาร์เบียร์ 60 ร้าน ซึ่งตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ บริเวณสุขุมวิทสแควร์ ซอยสุขุมวิท 10 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย จนเสียหายราบเป็นหน้ากลอง ซึ่งเรื่องราวความขัดแย้งนี้ เนื่องจากกลุ่มนายทุนกลุ่มใหม่ ได้ว่าจ้างให้เข้าไปรื้อร้านค้าของผู้เช่าเดิมเพื่อใช้พื้นที่ทำประโยชน์ จนทำให้เกิดเรื่องราวบานปลายถึงขั้นต้องใช้ความรุนแรง

ต่อมาเมื่อเหตุการณ์ได้สงบลง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนจนสามารถดำเนินคดีกับผู้ต้องหา ทั้งสิ้นจำนวน 130 คน โดยพนักงานสอบสวน ใช้เวลารวบรวมพยานหลักฐานกว่า 2 เดือน จึงนำตัวผู้ต้องหา ‘คดีรื้อบาร์เบียร์’ ส่งฟ้องเมื่อวันที่ 13 มี.ค.46 ซึ่งผู้ต้องหาทั้งหมดรวมถึง นายชูวิทย์ ได้ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

จนในวันที่ 28 ม.ค.2559 ศาลอาญากรุงเทพใต้ อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีรื้อบาร์เบียร์ ที่มี นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เป็นจำเลย ในข้อหาจ้างวาน ฐานทำให้เสียทรัพย์ บุกรุกในเวลากลางคืน และกักขังหน่วงเหนี่ยวข่มขืนใจให้บุคคลอื่นปราศจากเสรีภาพ พร้อมพวก 44 คน  ศาลพิพากษาให้จำคุกนายชูวิทย์ เป็นเวลา 5 ปี ลดเหลือ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา

ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์พ.ศ.2559 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เป็นปีที่ 1 ในรัชกาลปัจจุบัน

 

โดยมีใจความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชดำริเห็นว่า เนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ เพื่อเป็นการแสดงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมควรพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และมาตรา 261 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 9)พ.ศ.2517

 

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

 

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2559”

 

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 3 ในพระราชกฤษฎีกานี้

 

“ผู้ต้องกักขัง” หมายความว่า ผู้ต้องโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือผู้ถูกกักขังแทนค่าปรับซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลถึงที่สุดก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

 

"“ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ” หมายความว่า ผู้ต้องโทษปรับซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับตามมาตรา 30/1แห่งประมวลกฎหมายอาญา ก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ โดยผู้นั้นได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและมิได้กระทำผิดเงื่อนไขแต่อย่างใด

 

“ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ” หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดซึ่งเป็นผู้ได้รับการพักการลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร หรือได้รับการลดวันต้องโทษจำคุกตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ ซึ่งมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษหรือการลดวันต้องโทษจำคุกก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

 

“นักโทษเด็ดขาด” หมายความว่า ผู้ซึ่งในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับเป็นนักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ หรือนักโทษตามกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร

 

“กำหนดโทษ” หมายความว่า กำหนดโทษที่ศาลได้กำหนดไว้ในคำพิพากษาและระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเมื่อคดีถึงที่สุด หรือกำหนดโทษตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษ หรือกำหนดโทษดังกล่าวที่ได้ลดโทษลงแล้วโดยการได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือโดยเหตุอื่น

 

“ต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก” หมายความว่า ต้องโทษเพราะถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี โดยมิได้ถูกศาลพิพากษาให้เพิ่มโทษฐานกระทำความผิดอีกตามมาตรา 92 หรือมาตรา 93 แห่งประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น

มาตรา 4 ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้ต้องมีตัวอยู่ในความควบคุมของทางราชการ หรือถูกกักขังไว้ในสถานที่หรือที่อาศัยที่ศาลหรือทางราชการกำหนดในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับติดต่อกันไปจนถึงวันที่ศาลออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษ หรือนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งปล่อยหรือลดโทษตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ และผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ

มาตรา 5 ผู้ต้องโทษดังต่อไปนี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป (1) ผู้ต้องกักขัง          (2) ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ (3) ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ เว้นแต่ผู้ซึ่งต้องโทษตามบัญชีลักษณะความผิด

 

ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ หรือผู้ซึ่งต้องโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกินแปดปี ในความผิดฐานผลิตนำเข้า หรือส่งออก หรือผลิต นำเข้า หรือส่งออกเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และผู้ซึ่งต้องโทษในความผิดตามมาตรา 276 วรรคสาม มาตรา 277 มาตรา 277 ทวิ มาตรา 277 ตรี มาตรา 280 มาตรา 285 หรือมาตรา 343 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

 

กรณีผู้ต้องกักขังตามวรรคหนึ่ง (1) ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาด และยังไม่ได้รับโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับ ให้ผู้ต้องกักขังนั้นได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปในส่วนของโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือในส่วนของการกักขังแทนค่าปรับ แล้วแต่กรณี

มาตรา 15 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแห่งท้องที่ ผู้พิพากษาศาลแห่งท้องที่หรือตุลาการ

 

ศาลทหารแห่งท้องที่หนึ่งคน และพนักงานอัยการแห่งท้องที่หรืออัยการทหารแห่งท้องที่หนึ่งคน รวมสามคน

 

เป็นคณะกรรมการ มีหน้าที่ตรวจสอบผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษและส่งรายชื่อต่อศาลแห่งท้องที่

 

ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เพื่อความสะดวกแก่ศาล

 

แห่งท้องที่นั้นพิจารณาออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษ หรือออกคำสั่งยกเลิกการทำงานบริการสังคม

 

หรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ แล้วแต่กรณี

 

และในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ซึ่งถูกลงโทษจำคุกตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษให้คณะกรรมการมีหน้าที่ตรวจสอบและส่งรายชื่อต่อนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เพื่อนายกรัฐมนตรีพิจารณาออกคำสั่งปล่อยหรือลดโทษ แล้วแต่กรณีเมื่อได้มีหมายหรือคำสั่งปล่อยหรือลดโทษ หรือคำสั่งยกเลิกการทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับแล้ว ให้คณะกรรมการทำบัญชีผู้ซึ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษเก็บไว้ที่เรือนจำหรือทัณฑสถานหนึ่งฉบับ ส่งศาลหนึ่งฉบับ ส่งกระทรวงยุติธรรมหนึ่งฉบับ และทูลเกล้าฯ ถวายอีกหนึ่งฉบับ ถ้าการแต่งตั้งกรรมการบางคนไม่สะดวกในการปฏิบัติ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการตามที่เห็นสมควรเป็นกรรมการ

 

ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง

 

ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นกรรมการ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด

มาตรา 17 ให้นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน

 

ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวระบุด้วยว่าสำหรับบัญชีลักษณะความผิดท้ายพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2559 ซึ่งขอสรุปดังนี้

 1) ความผิดในภาค 2 ความผิดแห่งประมวลกฎหมายอาญาลักษณะ 1/1 ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายมาตรา 135/1 ถึงมาตรา 135/4

 ลักษณะ 2 ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงานมาตรา 139 มาตรา 140 มาตรา 143 และมาตรา 144 หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการมาตรา 147 ถึงมาตรา 166, ลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม หมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม

หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม

 ลักษณะ 5 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน, ลักษณะ 6 ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน, ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ, ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย, ลักษณะ 11 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง, ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

 (2) ความผิดที่มีโทษตามมาตรา 78 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490

 (3) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ

 (4) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

 (5) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ

 (6) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

 (7) ความผิดเกี่ยวกับการยักยอกหรือฉ้อโกงหรือประทุษร้ายต่อทรัพย์หรือกระทำโดยทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกระทำโดยกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบหรือมีประโยชน์เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น

 (8) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น

 (9) ความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

 สำหรับเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์เพื่อเป็นการแสดงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมควรพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

 

เรียบเรียงโดย ชนุตรา สำนักข่าวทีนิวส์