เสียงสะท้อนของ "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" ถึง "ธรรมกาย" กำลังทำลายพุทธศาสนา...เหตุใดทุกคนต่างยกย่อง ฝากความหวังให้ท่านช่วยปกครองคณะสงฆ์ไทย

เสียงสะท้อนของ "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" ถึง "ธรรมกาย" กำลังทำลายพุทธศาสนา...เหตุใดทุกคนต่างยกย่อง ฝากความหวังให้ท่านช่วยปกครองคณะสงฆ์ไทย

ตามกันที่ผลการพิจารณา ของคณะกรรมการกฤษฎีกา ในการตีความมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ปี 2535มีความเห็นว่า มติของมหาเถรสมาคม ที่เสนอชื่อ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือ สมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ไม่ขัดมาตรา 7

แต่ประเด็นนี้ไม่ใช่ข้อสรุปในการตั้งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ขึ้นเป็นสังฆราชแต่อย่างไร

สำหรับพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง

ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาอาวุโสสูงสุด โดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

 

ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

อย่างที่นำเรียนไปว่าไม่ว่ากระบวนการของการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช จะออกมารูปแบบไหนแต่ท้ายที่สุดผู้ที่จะทำการชี้ขาดและก็ตัดสินในครั้งนี้คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีผู้ที่มีอำนาจตามมาตรา 7

และในวันนี้พล.อ.ประยุทธ์ ก็ได้พูดชัดเจนว่าจะยังไม่มีการแต่งตั้งเนื่องจากคดีความรถโบราณหรู ยังได้ข้อสรุป

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติกล่าวว่า ไม่ได้ว่าอะไร อำนาจใครก็อำนาจใคร ตนมีหน้าที่อะไร มีหน้าที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ แล้วตนทูลเกล้าฯในสิ่งที่มีปัญหาได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็จบ เมื่อถามว่าต้องรอคดีจบก่อนใช่หรือไม่ นายกฯกล่าวว่า ไม่ต้องแสดง คิดไม่ออกเหรอ ว่าต้องรอกระบวนการเรียบร้อยก่อน แล้วไม่กลัวว่าจะเกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันหรืออย่างไร วันนี้มีกี่พวก อย่ามองบ้านเมืองในแง่ดีแง่เดียว

อย่างไรก็ตามก่อนหน้าที่จะมีการชี้ขาดเรื่องการตั้งสมเด็จสังฆราชออกมาก็เป็นทางฝั่งพระเมธีธรรมาจารย์ ได้เคยออกมาระบุว่าหากรัฐบาลไม่มีการตั้งสมเด็จพระมหาราชมังจารย์เป็นสมเด็จพระสังฆราช จะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เกิดขึ้น

ย้อนกลับไป 8 ก.ค. พระเมธีธรรมาจารย์ เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ได้ทำหนังสือจำนวน 35,000 ฉบับ ส่งถึงพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาสขึ้นไปทั่วประเทศ โดยระบุว่า หากถึงที่สุดแล้วสถานการณ์ยากจะเยียวยา จะขอพลังจากพระสังฆาธิการทั่วประเทศมาแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยต่อกลุ่มคนที่พยายามแก้ไขกฎหมายเพื่อพวกพ้องตน
1.ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ระหว่างการตีความมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 ว่าการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชจะต้องมีต้นเรื่องจากใคร ระหว่างนายกรัฐมนตรีหรือมหาเถรสมาคม

 

 2.ขณะนี้มีคนบางกลุ่มพยายามแก้มาตรา 7 เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพวกพ้องตัวเอง ซึ่งต้องรอฟังคำวินิจฉัยและรอดูท่าทีของกลุ่มคนที่พยายามแก้ไขกฎหมาย

และ ในวันที่ 11 ก.ค. 59 พระเมธีธรรมาจารย์ เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก " ระบุว่า ในนามศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย สมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนาและภาคีเครือข่าย ขอแสดงความปรารถนาดีมายังรัฐบาลว่า บัดนี้มติมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 นั้นนับว่าถูกต้องดีงามแล้ว ทั้งตามหลักกฎหมายบ้านเมือง ชอบด้วยจารีตประเพณีอันดีงามของคณะสงฆ์ที่เคยปฏิบัติมายาวนานหลายยุคหลายสมัย

 

ในเมื่อมติดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายและจารีตประเพณีแล้ว มีเหตุผลอะไรที่นายกรัฐมนตรีจะไม่ปฏิบัติตาม มีเหตุผลอะไรที่นายกรัฐมนตรีจะไม่เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะที่ถูกเสนอชื่อโดยชอบแล้ว นายกรัฐมนตรี ควรปฏิบัติตามกฎหมาย จารีตและครรลองอันดีงาม ช่วยกันให้ความเคารพบูชาต่อคณะสงฆ์ทั้งประเทศและมหาเถรสมาคมด้วยเถิด อย่าประวิงเวลา อย่าเอาการเมืองมาเล่นในคณะสงฆ์ อย่าเดินตามกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดีต่อคณะสงฆ์เลย เดินหน้าตามกระบวนการที่ถูกต้องเถิด ความสงบสุขจะกลับมาสู่คณะสงฆ์ดังเดิม

เสียงสะท้อนของ "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" ถึง "ธรรมกาย" กำลังทำลายพุทธศาสนา...เหตุใดทุกคนต่างยกย่อง ฝากความหวังให้ท่านช่วยปกครองคณะสงฆ์ไทย

และเมื่อไม่นานมานี้ สำหรับวาระการพิจารณารายชื่อพระเถรานุเถระที่จะเข้ารับพระราชทานสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์จำนวน 159 รูป เนื่องในวาระพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช วันที่ 5 ธันวาคม 2559  โดยหนึ่งในนั้น  สมเด็จพระราชาคณะ คือ พระพรหมคุณาภรณ์ วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  ท่านจะเป็นสมเด็จพระราชาคณะในสายมหานิกายแทนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) ที่ถึงแก่มรณภาพไป

 “ป.อ.ปยุตโต” ท่านมีนามเดิมว่า ประยุทธ์ อารยางกูร มีผลงานเขียนด้านวิชาการพุทธศาสนามากมาย เป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ นอกจากงานด้านนิพนธ์แล้ว ท่านยังได้รับการอาราธนาให้เป็นผู้แสดงปาฐกถาในการประชุม นานาชาติขององค์กรระดับโลกต่าง ๆ หลายครั้ง อีกทั้งยังได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น รางวัล "สังข์เงิน" สาขาเผยแพร่
พระพุทธศาสนา ปีพ.ศ.2533 รางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพปีพ.ศ.2537 จากยูเนสโก นับเป็นคนไทยคนแรก ที่ได้รับเกียรติให้รับรางวัลนี้ ซึ่งนับเป็นการสร้างเกียรติประวัติ และชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยอย่างมาก และท่านยังดำรงชีวิตแบบ เรียบง่าย มีวัตรปฏิบัติที่อ่อนน้อมถ่อมตน

โดยท่านมีราชทินนามในสุพรรณบัฏที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลกวรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาสนามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฏ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี เป็นสมเด็จพระราชาคณะรูปสุดท้าย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

ที่ผ่านมา พระพรหมคุณาภรณ์ หรือ ป.อ.ปยุตโต ได้มีข้อเขียนเกี่ยวกับการวิพากษ์กรณีธรรมกาย ดังนี้

ปัญหาของ “วัดพระธรรมกาย” ส่วนที่กระทบต่อพระธรรมวินัย
วัดพระธรรมกาย เผยแพร่คำสอนคลาดเคลื่อนไปจากหลักพระพุทธศาสนาหลายประการ เช่น
๑. สอนว่านิพพานเป็นอัตตา
๒. สอนเรื่องธรรมกายอย่างเป็นภาพนิมิต และให้มีธรรมกาย ที่เป็นตัวตนเป็นอัตตาของพระพุทธเจ้ามากมายหลายพระองค์ ไปรวมกันอยู่ในอายตนนิพพาน
๓. สอนเรื่องอายตนนิพพาน ที่ปรุงถ้อยคำขึ้นมาเองใหม่ ให้เป็นดินแดนที่จะเข้าสมาธิไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ ถึงกับมีพิธีถวายข้าวพระ ที่จะนำข้าวบูชาไปถวายแด่พระพุทธเจ้าในอายตนนิพพานนั้น
คำสอนเหล่านี้ ทางสำนักพระธรรมกายสอนขึ้นใหม่ ผิดเพี้ยนออกไปจากธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า แต่แทนที่จะให้รู้กันตามตรงว่าเป็นหลักคำสอนและการปฏิบัติของครูอาจารย์ ทางวัดพระธรรมกายกลับพยายามนำเอาคำสอนใหม่ของตนเข้ามาสับสนปะปนหรือจะแทนที่หลักคำสอนเดิมที่แท้ของพระพุทธศาสนา
ยิ่งกว่านั้น เพื่อให้สำเร็จวัตถุประสงค์ข้างต้น วัดพระธรรมกายยังได้เผยแพร่เอกสาร ที่จ้วงจาบพระธรรมวินัย ชักจูงให้คนเข้าใจผิด สับสน หรือแม้แต่ลบหลู่พระไตรปิฎกบาลี ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น
– ให้เข้าใจว่าพระไตรปิฎกบาลี บันทึกคำสอนไว้ตกหล่น หรือมีฐานะเป็นเพียงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เชื่อถือหรือใช้เป็นมาตรฐานไม่ได้
– ให้นำเอาพระไตรปิฎกฉบับอื่นๆ เช่น พระไตรปิฎกภาษาจีน และคำสอนอื่นๆ ภายนอก มาร่วมวินิจฉัยพระพุทธศาสนาเถรวาท

– ให้เข้าใจเขวไปว่าหลักการของพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องอภิปรัชญาขึ้นต่อการตีความ และความคิดเห็น ตลอดจนการถกเถียงทางวิชาการ

– อ้างนักวิชาการต่างประเทศ และการปฏิบัติของตน ดังว่าจะใช้วินิจฉัยหลักพระพุทธศาสนาได้
ฯลฯ

อีกทั้งสิ่งที่ยกมาอ้าง เช่น คัมภีร์ของมหายาน และทัศนะของนักวิชาการตะวันตก ก็ไม่ตรงตามความเป็นจริง หรือไม่ก็เลื่อนลอย
นอกจากนั้น ยังนำคำว่า “บุญ” มาใช้ในลักษณะที่ชักจูงประชาชนให้วนเวียนจมอยู่กับการบริจาคทรัพย์ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ชนิดที่ส่งเสริมความยึดติดถือมั่นในตัวตนและในตัวบุคคล อันอาจกลายเป็นแนวโน้มที่บั่นรอนสังคมไทยในระยะยาว พร้อมทั้งทำพระธรรมวินัยให้ลางเลือนไปด้วย
พฤติการณ์ของสำนักวัดพระธรรมกายอย่างนี้ เป็นการจาบจ้วง ลบหลู่ย่ำยีพระธรรมวินัย สร้างความสับสนไขว้เขวและความหลงผิดแก่ประชาชน
ข้อความบรรยายต่อไปนี้ ได้เขียนไว้เพื่อเป็นทางแห่งการศึกษา ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
พร้อมทั้งเป็นเหมือนคำขอร้องต่อชาววัดพระธรรมกาย ผู้ยังเห็นแก่พระพุทธศาสนา เมื่อรู้เข้าใจแล้ว จะได้หันมาร่วมกันทำบุญที่ยิ่งใหญ่ และสนองพระคุณบรรพบุรุษไทย ด้วยการรักษาพระธรรมวินัยให้บริสุทธิ์สืบไป
จาก หนังสือ “กรณีธรรมกาย”
โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
วัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม

 

 

ภัทราพร สำนักข่าวทีนิวส์