ภารกิจแห่งความหวัง!!! "สังฆราชองค์ใหม่" จัดระเบียบองค์กรสงฆ์...สู่ทางสว่าง(รายละเอียด)

ภารกิจแห่งความหวัง!!! "สังฆราชองค์ใหม่" จัดระเบียบองค์กรสงฆ์...สู่ทางสว่าง(รายละเอียด)

เป็นที่น่าจับตามองสำหรับรายนามนามสมเด็จพระราชาคณะ ที่มีสิทธิได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสังฆราช ต่อไป วันนี้เราจึงได้รวบรวมข้อมูลรายนามนามสมเด็จพระราชาคณะ ที่มีสิทธิได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสังฆราช เรียงตามลำดับอาวุโสจากอันดับ 1 ไปถึงสุดท้าย และความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระราชาคณะแต่ละองค์กับวัดพระธรรมกายในอดีต ดังนี้

1. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (มหานิกาย) ปัจจุบันอายุ 91  ปีประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อ พ.ศ. 2538 เป็นทั้งอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของ “ธัมมชโย” วัดพระธรรมกาย และประกาศชัดเจนว่า “วัดปากน้ำ กับวัดพระธรรมกาย เป็นพี่น้องกัน มีอะไรก็ช่วยเหลือกัน” เป็นการประกาศจุดยืนชัดเจนว่า สมเด็จวัดปากน้ำ สนับสนุนวัดพระธรรมกาย 100%

ภารกิจแห่งความหวัง!!! "สังฆราชองค์ใหม่" จัดระเบียบองค์กรสงฆ์...สู่ทางสว่าง(รายละเอียด)

2. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย)ปัจจุบันอายุ 98 ปี สถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2544 สมเด็จมานิต เป็นพระที่สังกัดธรรมยุตเพียงรูปเดียวที่ให้การสนับสนุนวัดพระธรรมกาย โดยปรากฏเป็นกรรมการจัดโครงการบวชแสนรูป และกิจกรรมอื่น ๆ ของวัดพระธรรมกาย โดยมีผู้สันนิษฐานว่า สมเด็จมานิตป่วยมิได้รับรู้อะไรมาก แต่เพราะมีพระพรหมเมธี (จำนง ธัมมจารี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ฯ และโฆษกมหาเถรสมาคม ที่แสดงตนชัดเจนว่าฝักใฝ่และให้การสนับสนุนวัดพระธรรมกาย เป็นผู้อยู่เบื้องหลังทำให้สมเด็จมานิต ไปร่วมงานธรรมกายบ่อย ๆ

ภารกิจแห่งความหวัง!!! "สังฆราชองค์ใหม่" จัดระเบียบองค์กรสงฆ์...สู่ทางสว่าง(รายละเอียด)

3. สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (ธรรมยุติกนิกาย)ปัจจุบันอายุ 89 ปี สถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2552 ไม่มีประวัติใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระธุดงคกรรมฐานชื่อดังในสกลนคร

ภารกิจแห่งความหวัง!!! "สังฆราชองค์ใหม่" จัดระเบียบองค์กรสงฆ์...สู่ทางสว่าง(รายละเอียด)

4. สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย)ปัจจุบันอายุ 80 ปี  สถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2552 ไม่มีประวัติใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย

ภารกิจแห่งความหวัง!!! "สังฆราชองค์ใหม่" จัดระเบียบองค์กรสงฆ์...สู่ทางสว่าง(รายละเอียด)

5. สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส (ธรรมยุติกนิกาย) ปัจจุบันอายุ 69 ปีสถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2553 ไม่มีประวัติใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย

ภารกิจแห่งความหวัง!!! "สังฆราชองค์ใหม่" จัดระเบียบองค์กรสงฆ์...สู่ทางสว่าง(รายละเอียด)

6. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการามวรวิหาร (มหานิกาย) ปัจจุบันอายุ 75 ปีสถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2554 ในอดีตสมเด็จสมศักดิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง “พระธรรมโมลี” ได้รับการแต่งตั้งจาก สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม ให้ตั้งศาลสงฆ์เพื่อเอาผิดต่อ “ธัมมชโย” แต่ก็ทำด้วยความล่าช้า จนสมเด็จวัดชนะสงครามมรณภาพ และพระธรรมโมลี ก็เปลี่ยนตัวเองไปเป็นพยานให้การสนับสนุนธัมมชโย ว่าเผยแผ่คำสอนถูกต้อง จนคดีถูกถอนฟ้องในที่สุด และพระธรรมโมลี ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น “สมเด็จพระพุทธชินวงศ์” ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ สมเด็จสมศักดิ์ เป็นหนึ่งในพระราชาคณะที่ปรากฏชื่อสนับสนุนกิจกรรมวัดพระธรรมกาย ทุกงาน

ภารกิจแห่งความหวัง!!! "สังฆราชองค์ใหม่" จัดระเบียบองค์กรสงฆ์...สู่ทางสว่าง(รายละเอียด)

7. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร (มหานิกาย) ปัจจุบันอายุ 74 ปี สถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2557 สมเด็จสนิท เป็นพระราชาคณะอีกหนึ่งองค์ที่ปรากฏชื่อเป็นผู้ให้การสนับสนุนกิจกรรมของวัดพระธรรมกายเกือบทุกกิจกรรม

ภารกิจแห่งความหวัง!!! "สังฆราชองค์ใหม่" จัดระเบียบองค์กรสงฆ์...สู่ทางสว่าง(รายละเอียด)

8. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม(มหานิกาย)ปัจจุบันอายุ 78 ปี  ซึ่งที่ประชุมมหาเถรสมคมมีมติพิจาราณาเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะแทนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ฯ มรณภาพ สิริอายุ 86 ปี วันจันทร์ ที่ 11 เมษายน 2559

ภารกิจแห่งความหวัง!!! "สังฆราชองค์ใหม่" จัดระเบียบองค์กรสงฆ์...สู่ทางสว่าง(รายละเอียด)

สำหรับ องค์สังฆราช หรือที่เรียกในสังฆมณฑลไทยว่า สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งที่มีมานานมากแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ดังมีหลักฐานจากศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้จารึกคำว่าสังฆราชไว้ด้วย องค์สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นตำแหน่งสมณะศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ราชอาณาไทย ทรงเป็นองค์ประธานการปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งนี้น่าจะมีที่มาจากคณะสงฆ์ไทย นำแบบอย่างมาจาก ลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงอัญเชิญพระเถระผู้ใหญ่ของลังกา ที่เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย

สมัยกรุงสุโขทัยและสมัยกรุงศรีอยุธยา

พัดยศสมเด็จพระสังฆราช
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็นสกลมหาสังฆปริณายก มีอำนาจว่ากล่าวออกไปถึงหัวเมือง โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายคามวาสี เป็นสังฆราชขวา สมเด็จพระวันรัตเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี เป็นองค์สังฆราชซ้าย องค์ใดมีพรรษายุกาลมากกว่า ก็ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอริยมุนี ได้ไปสืบอายุพระพุทธศาสนาที่ลังกาทวีป มีความชอบมาก เมื่อกลับมาได้รับสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับจนเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระเจ้าเอกทัศน์มีพระราชดำริให้คงราชทินนามนี้ไว้ จึงทรงตั้งราชทินนามสมเด็จพระสังฆราชเป็น สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี และมาเป็น สมเด็จพระอริยวงศาญาณ ในสมัยกรุงธนบุรี และได้ใช้ต่อมาจนถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ" ซึ่งได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ตามทำเนียบสมณศักดิ์ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่มีตำแหน่งสังฆปรินายก 2 องค์ ที่เรียกว่า พระสังฆราชซ้าย/ขวา ดังกล่าวแล้ว ยังมีคำอธิบายอีกประการหนึ่งว่า สมเด็จพระอริยวงศ์ เป็นพระสังฆราชฝ่ายขวาว่า คณะเหนือ พระพนรัตน์เป็นพระสังฆราชฝ่ายซ้ายว่า คณะใต้ มีสุพรรณบัฏจารึกพระนามเมื่อทรงตั้งทั้ง 2 พระองค์ แต่ที่สมเด็จพระพนรัตน์ โดยปกติไม่ได้เป็นสมเด็จ ส่วนพระสังฆราชฝ่ายขวานั้นเป็นสมเด็จทุกองค์ จึงเรียกว่าสมเด็จพระสังฆราช จึงเป็นมหาสังฆปริณายก มีศักดิ์สูงกว่าพระสังฆราชฝ่ายซ้าย ที่พระพนรัตน์แต่เดิม ทรงยกพระเกียรติยศเป็นสมเด็จแต่บางองค์ มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงเป็นสมเด็จทุกพระองค์

เมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี วิธีการปกครองพระราชอาณาจักรในครั้งนั้น หัวเมืองใหญ่ที่ห่างไกลจากราชธานี เป็นเมืองประเทศราชโดยมาก แม้เมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้ราชธานี ก็ตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์เสด็จออกไปครองเมือง ทำนองเจ้าประเทศราช เมืองใหญ่แต่ละเมือง จึงน่าจะมีองค์สังฆราชองค์หนึ่ง เป็นสังฆปรินายกของสังฆบริษัทในเมืองนั้น ดังปรากฏเค้าเงื่อนในทำเนียบชั้นหลัง ยังเรียกเจ้าคณะเมืองว่าพระสังฆราชอยู่หลายเมือง จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงเปลี่ยนมาเป็นสังฆปาโมกข์

พระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คือฝ่ายที่พำนักอยู่ใกล้เมืองเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย เรียกว่าคามวาสี อีกฝ่ายหนึ่งบำเพ็ญสมณธรรมในที่สงบเงียบตามป่าเขา ห่างไกลจากบ้านเมืองเรียกว่าอรัญวาสี ภิกษุ แต่ละฝ่ายยังแบ่งออกเป็นคณะ แต่ละคณะจะมีพระราชาคณะปกครอง หัวหน้าพระราชาคณะเรียกว่าสมเด็จพระราชาคณะ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนพระอิสริยยศสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ทรงเศวตฉัตร 5 ชั้น พระราชวงศ์ชั้นรองลงมา เท่าที่ปรากฏ มีชั้นหม่อมเจ้าผู้ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช มีคำนำหน้า พระนามว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น

ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชหนึ่งองค์ ตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ในการนี้ นายกรัฐมนตรีจะเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ แต่ถ้าสมเด็จพระราชาคณะดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ จะเสนอสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นตามลำดับสมณศักดิ์และความสามารถในการทำหน้าที่แทน

 

สำหรับปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นอยู่ในตอนนี้จะมีวิธีดำเนินการอย่างไร

1.การจัดการกับวัดพระธรรมกาย

ซึ่งวัดพระธรรมกายอย่างที่รู้กันอยู่ตอนนี้ว่าทั้งคณะพระและลูกศิษย์ต่างก็ต่อต้านและไม่เข้าร่วมกระบวนการทางกฏหมาย และยังทำตัวเหนือกฎหมาย ปิดกันขวางทาง ไม่ให้ความร่วมมือกับทางด้านเจ้าหน้าที่ในทุกๆกรณี

ภารกิจแห่งความหวัง!!! "สังฆราชองค์ใหม่" จัดระเบียบองค์กรสงฆ์...สู่ทางสว่าง(รายละเอียด)

 

2.ปัญหาพุทธพาณิชย์  กล่าวง่ายๆ คือ กระบวนการค้าขายความเชื่อและความศรัทธาในพุทธศาสนาโดยใช้วัตถุหรือสัญลักษณ์ที่ เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาหรือพระรัตนตรัย มาเป็นเครื่องมือสร้างรายได้แสวงหาผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ ซึ่งเป็นปัญหาที่กำลังมีอยู่มากในตอนนี้

ภารกิจแห่งความหวัง!!! "สังฆราชองค์ใหม่" จัดระเบียบองค์กรสงฆ์...สู่ทางสว่าง(รายละเอียด)

Jirasak Tnews