ยังจำวันนั้นได้!!! วินาที "กิตติรัตน์" วิ่งหนีชาวนา?? หลังเจรจาจำนำข้าวแป๊ก!!!(มีคลิป)

ยังจำวันนั้นได้!!! วินาที "กิตติรัตน์" วิ่งหนีชาวนา?? หลังเจรจาจำนำข้าวแป๊ก!!!(มีคลิป)

 

ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ นายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา เจ้าของสำนวนคดีจำนำข้าว พร้อมองค์คณะรวม 9 คน ได้ไต่สวนพยานจำเลยนัดที่ 10 คดีหมายเลขดำ อม.22/2558 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อายุ 49 ปี อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 กรณีละเลยไม่ดำเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท

ยังจำวันนั้นได้!!! วินาที "กิตติรัตน์" วิ่งหนีชาวนา?? หลังเจรจาจำนำข้าวแป๊ก!!!(มีคลิป)

 

ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นำพยานเข้าไต่สวนเพียงปากเดียวคือ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งเบิกความถึงโครงการรับจำนำ 8 ประเด็น ประกอบด้วย 1.ความจำเป็นทางเศรษฐกิจและสังคม 2.หลักการสำคัญของโครงการรับจำนำข้าว 3.โครงการมีขนาดใหญ่เกินไปหรือไม่ 4.การใช้เงินของโครงการ 5.กรอบเงินทุนหมุนเวียน 6.วิธีการบริหารการเงินการคลังของรัฐบาล 7.ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และ 8.ความใส่ใจเมื่อมีข้อเสนอแนะและทักท้วง

ยังจำวันนั้นได้!!! วินาที "กิตติรัตน์" วิ่งหนีชาวนา?? หลังเจรจาจำนำข้าวแป๊ก!!!(มีคลิป)

โดยนายกิตติรัตน์ได้สรุปคำให้การประกอบสไลด์ ระบุว่า ความจำเป็นของการจัดทำโครงการก็เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของกลุ่มเกษตรกรที่ประสบปัญหาความยากจน และยังมีความจำเป็นด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับการแก้ปัญหารายได้เฉลี่ยประชาชนต่อคน ขณะที่หลักการสำคัญในการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรที่มีอยู่ 3.7 ล้านครัวเรือน หรือประมาณ 15 ล้านคน แต่การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวมีเกษตรกรหลายรายไม่ได้เข้าโครงการ ซึ่งไม่ได้เป็นปัญหา เพราะชาวนาสามารถขายข้าวให้แก่เอกชนโดยตรงได้ และเอกชนก็แข่งขันกันซื้อขายข้าวและส่งออกได้

โดยการกำหนดราคารับจำนำข้าว 1,500 บาทต่อตัน เป็นการคำนวณจากต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อหัวชาวนา 1 คนให้มีรายได้เฉลี่ย 300 บาท ซึ่งการทำโครงการรับจำนำข้าว ยังทำควบคู่ไปกับนโยบายสาธารณะอื่น เช่น การปรับเงินเดือน 15,000 บาท สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ขณะที่จะมีการจัดทำโครงการนี้ได้มีการศึกษาโครงการที่รัฐบาลอื่นเคยทำมาก่อนหน้านี้ เช่น โครงการประกันรายได้พืชผลทางการเกษตร ซึ่งทำได้ดีกับพืชยืนต้น และมีขั้นตอนไม่มาก แต่ยังมีจุดอ่อนตรงที่เกษตรกรอาจจะไม่ได้ราคาตามที่มีการอ้างอิงไว้ ขณะที่การตรวจสอบการขึ้นทะเบียนพื้นที่เพาะปลูกจะมีปัญหา เพราะการปลูกข้าวจะใช้ระยะเวลาเพียง 2-3 เดือน และเก็บเกี่ยว

นายกิตติรัตน์กล่าวว่า เงินทุนที่ใช้ในโครงการเป็นเงินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และเงินกู้ ธ.ก.ส.ที่มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน โดยวิธีทางการเงินการธนาคารของรัฐบาลได้มีการควบคุมโดยการกำหนดกรอบวงเงินหมุนเวียนที่ใช้ในโครงการไม่เกิน 5 แสนล้านบาท

ส่วนที่มีหนังสือทักท้วงมาแต่ไม่ได้ยุติการทำโครงการจำนำข้าวนั้น จะเห็นว่าทุกข้อทักท้วงเป็นการอ้างอิงข้อมูลโครงการในอดีตที่มีปัญหา โดยไม่ได้พิจารณาว่าโครงการรับจำนำข้าวได้ปรับปรุงนโยบายก่อนดำเนินโครงการแล้ว ขณะที่ระหว่างการดำเนินโครงการก็ได้มีแก้ไขตามข้อทักท้วง รวมถึงมีการตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองในด้านต่างๆ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีดูแล ซึ่งตนก็เป็นทีมคณะกรรมการกลั่นกรองดูแลด้านเศรษฐกิจ ตนจึงเสนอความเห็นต่อจำเลยในฐานะนายกรัฐมนตรี โดยยืนยันว่าโครงการรับจำนำข้าวมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และสภาพัฒน์ได้ประเมินโครงการแล้ว ยืนยันว่าโครงการจำนำข้าวช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น และมีความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จึงไม่เกิดความเสียหาย

อดีตรองนายกฯ ยังตอบข้อซักค้านของอัยการที่ถามถึงบทสัมภาษณ์ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในนิตยสารฟอร์บส์ว่าเป็นผู้คิดโครงการรับจำนำข้าวว่า โครงการนี้เริ่มจากการพูดคุยของทีมเศรษฐกิจที่มีพยาน นายโอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษาเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย และคณะเมื่อปี 2553 ขณะที่กรอบระยะเวลาการระบายข้าว เมื่อมีการดำเนินโครงการไปแล้วก็มีการพูดถึงแนวทางการระบายข้าว โดยมีอนุกรรมการระบายข้าวเป็นผู้ดูแล แต่ไม่ได้ระบุเวลาระบายข้าวที่ชัดเจน เพราะขึ้นอยู่กับกลไกทางตลาด ซึ่งจะทำให้การระบายข้าวมีความเหลื่อมล้ำกันระหว่างฤดูกาล โดยช่วงดำเนินโครงการรัฐบาลได้ระบายข้าวไปจำนวนมาก แต่หากไม่มีรัฐประหารเกิดขึ้น ยืนยันว่ารัฐบาลสามารถระบายข้าวได้หมด

ส่วนการดำเนินโครงการนั้น จำเลยในฐานะนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้กำชับตั้งแต่แรกให้ดำเนินการทุกอย่างโปร่งใส สุจริต โดยคณะกรรมการ กขช.จะมีรองประธาน 3 คน ปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน กขช.เมื่อติดภารกิจ และเมื่อมีข้อหารือฝ่ายเลขาฯ จะนำเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อหารือร่วมกันก่อนตัดสินใจ

ภายหลังนายกิตติรัตน์เบิกความเสร็จสิ้นแล้ว ศาลจึงนัดไต่สวนพยานปากต่อไปในวันที่ 17 มี.ค.นี้ เวลา 09.30 น.

ย้อนกลับไป (17 กุมภาพันธ์ 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มเกษตรกรชาวนากว่า 20 จังหวัด ราว 4,000 คน ที่เคลื่อนมาชุมนุมบริเวณหน้าสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานี เพื่อรอพบกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยต้องการให้ นายกรัฐมนตรี ออกมาพูดคุยกันโดยตรงเรื่องเงินจำนำข้าว

ในเวลาประมาณ 17.30 น. กิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เตรียมมาชี้แจงต่อชาวนา ท่ามกลางความไม่พอใจของชาวนา เนื่องจากต้องการพบนายกรัฐมนตรีมากกว่า

ยังจำวันนั้นได้!!! วินาที "กิตติรัตน์" วิ่งหนีชาวนา?? หลังเจรจาจำนำข้าวแป๊ก!!!(มีคลิป)

อย่างไรก็ดี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 18.00 น. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ได้ลงมาพบกลุ่มชาวนาที่มาเรียกร้องขอเงินค่าจำนำข้าว เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงและข้อหารือระหว่างตัวแทนชาวนา คือ นายระวี รุ่งเรือง ประธานเครือข่าวชาวนากับรัฐบาล โดยมีมติว่า ชาวนาจะยอมรับเงื่อนไขของรัฐบาล ในการหาเงินวันละ 4 พันล้านบาท แต่ขอให้รัฐบาลมากำหนดเวลาแน่นอน เพื่อให้ชาวนาสบายใจ  ข้าว เมื่อถูกซักว่าใบประทวนจำนำข้าวปี 55/56 จะได้เมื่อไร กลับตอบไม่ได้ ถูกโห่ก่อนเผ่นกลับทันที

ยังจำวันนั้นได้!!! วินาที "กิตติรัตน์" วิ่งหนีชาวนา?? หลังเจรจาจำนำข้าวแป๊ก!!!(มีคลิป)

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก "มองชะตาประเทศ มากกว่าชะตาชีวิตตัวเอง" นายกลั่นไม่กลัวที่มีคนขู่ฆ่า!!" ยิ่งลักษณ์"แขวะไม่ควรนำข่าวโซเชียลมาเป็นประเด็น

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก "ยิ่งลักษณ์" ขึ้นศาลสืบพยานจำเคย "นัด11"โอดครวญม.44 อายัดทรัพย์ ลำบากใจ!!

Jirasak Tnews

Cr.คลิปจากworayuth srivoragij