เปิดแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2560 – 2579)

ยุทธศาสตร์ชาติ(ของไทย) หมายถึง การสร้างศักยภาพหรือขีดความสามารถของประเทศให้เกิดความพร้อมของทุกด้าน ในการใช้จุดแข็งภายในประเทศ หรือใช้โอกาสที่เกิดจากภา

ยุทธศาสตร์ชาติ(ของไทย) หมายถึง การสร้างศักยภาพหรือขีดความสามารถของประเทศให้เกิดความพร้อมของทุกด้าน ในการใช้จุดแข็งภายในประเทศ หรือใช้โอกาสที่เกิดจากภายนอกประเทศ มาช่วงชิงฉกฉวยผลประโยชน์ที่เป็นของประเทศ หรือให้ประเทศสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างเต็มที่ และลดหรือขจัดจุดอ่อนของภายในประเทศ หรือหลีกเลี่ยงหรือสร้างเกราะป้องกันจากภัยคุกคามที่มาจากนอกประเทศ โดยสร้างระบบความมั่นคงของประเทศ ประกอบด้วยความมั่นคงด้านการเมือง ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคงด้านสังคมจิตวิทยา ความมั่นคงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งความมั่นคงด้านการป้องกันประเทศ

 

ยุทธศาสตร์ชาติ(ของไทย) แบ่งตามมุมมองเชิงวิสัยทัศน์ ได้ 2 แบบ คือ

1.ยุทธศาสตร์ชาติแบบ outdoor คือการหันหน้ามองออกไปข้างนอกหรือออกไปนอกประเทศ โดยมองไปที่โอกาสและภัยคุกคามที่เกิดขึ้น และส่งผลกระทบเข้ามาในประเทศ ยุทธศาสตร์แบบ indoor คือการหันหน้ากลับมามองที่ภายในหรือหันกลับมามองภายในประเทศ โดยการมองไปที่จุดแข็งและจุดอ่อน (ความเข้มแข็งและความอ่อนแอ)ที่เรามีอยู่หรือที่เรากำลังเผชิญอยู่

2.ยุทธศาสตร์ชาติ(ไทย) จะต้องใช้ “คน” ในรูปของแผนคน ใช้ ”เงิน” ในรูปของแผนเงิน(งบประมาณ)ทำ “งาน” ในรูปแผนงาน(โครงการ) เป็นเครื่องมือ (tools) เพื่อเป็นตัวผลักดันหรือตัวขับเคลื่อน(drivers)กำลังอำนาจของชาติ(ไทย) ซึ่งมีองค์ประกอบต่างๆดังนี้คือ กำลังอำนาจด้านการเมือง กำลังอำนาจด้านเศรษฐกิจ กำลังอำนาจด้านสังคมจิตวิทยา กำลังอำนาจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และกำลังอำนาจด้านป้องกันประเทศ( โดยป้องกันการรุกรานจากภายนอกประเทศผ่านกระทรวงกลาโหม ป้องกันเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นภายในประเทศผ่านสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกระทรวงมหาดไทย)

กรอบแนวทางที่สำคัญของยุทธศาสตร์ชาติ

1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง

                1.1 การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

                1.2 การปฏิรูปกลไกการบริหารประเทศ

                1.3 การป้องกันและแก้ไขการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

                1.4 การพัฒนาระบบ กลไก มาตรการและความร่วมมือระหว่างประเทศทุกระดับ

2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

                2.1 สมรรถนะทางเศรษฐกิจ ได้แก่ รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่น ส่งเสริมการค้าและการลงทุน ส่งเสริมการค้าและการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน

                2.2 พัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ พัฒนาทักษะและองค์ความรู้ของผู้ประกอบการไทย พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่สากล และพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและสถาบันเกษตรกร

3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน

                3.1 พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ

                3.2 สร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี

                3.3 สร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยให้เอื้อต่อการพัฒนาคน

4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม

                4.1 สร้างความมั่นคงและการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

                4.2 สร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมและความเข้มแข็งของชุมชน

5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

                5.1 การจัดระบบอนุรักษ์ ฟื้นฟูและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

                6.1 การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ

                6.2 การปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของหน่วยงานภาครัฐให้มีขนาดที่เหมาะสม

                6.3 การวางระบบบริหารงานราชการแบบบูรณาการ

                6.4 การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนและพัฒนาบุคลากรภาครัฐในการปฏิบัติราชการ

                6.5 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

                6.6 การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับให้มีความชัดเจน ทันสมัย เป็นธรรม และสอดคล้องกับข้อบังคับสากลหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ ตลอดจน พัฒนาหน่วยงานภาครัฐและบุคลากรที่มีหน้าที่เสนอความเห็นทางกฎหมายให้มีศักยภาพ

 

เปิดแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2560 – 2579)

 

เปิดแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2560 – 2579)

 

เปิดแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2560 – 2579)

 

เปิดแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2560 – 2579)