เปิดประวัติ "พระพรหมคุณาภรณ์"(ประยุทธ์ ปยุตโต)...พระสงฆ์ที่ดํารงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนา(รายละเอียด)

เปิดประวัติ "พระพรหมคุณาภรณ์"(ประยุทธ์ ปยุตโต)...พระสงฆ์ที่ดํารงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนา(รายละเอียด)

ล่าสุดได้มี ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ "พระพรหมคุณาภรณ์" (ประยุทธ์ ปยุตโต) เพื่อเป็นการบําเพ็ญพระราชกุศล ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

จึงสมควรจะสถาปนาอิสริยยศ และเลื่อนอิสริยฐานันดร พระสงฆ์ที่ดํารงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนาดังกล่าวสูงขึ้น เพื่อจักได้บริหารพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสถาพร ตามโบราณราชประเพณีสืบต่อไป

มีพระราชโองการโปรดสถาปนา พระพรหมคุณาภรณ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามที่จารึก ในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลกวรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาสนามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฏ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี สถิต ณ วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม

เปิดประวัติ "พระพรหมคุณาภรณ์"(ประยุทธ์ ปยุตโต)...พระสงฆ์ที่ดํารงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนา(รายละเอียด)

เปิดประวัติ "พระพรหมคุณาภรณ์"(ประยุทธ์ ปยุตโต)...พระสงฆ์ที่ดํารงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนา(รายละเอียด)

เปิดประวัติ "พระพรหมคุณาภรณ์"(ประยุทธ์ ปยุตโต)...พระสงฆ์ที่ดํารงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนา(รายละเอียด)

พระพรหมคุณาภรณ์ นามเดิม ประยุทธ์ อารยางกูร ฉายา ปยุตฺโต หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนามปากกา "ป.อ. ปยุตฺโต" เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2481 ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 13 ปี เมื่อ 10 พฤษภาคม 2494โดยมีหลวงพ่อวัดบ้านกร่าง พระครูเมธีธรรมสาร เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งตลอด 1 ปีที่วัดบ้านกร่าง นอกเหนือจากการมุมานะเรียนนักธรรมตรีแล้ว สามเณรประยุทธ์ยังให้ความสนใจในการอ่าน โดยค้นเอาเอกสารเก่าๆ สมุดข่อยโบราณ หนังสือธรรมมะ ตลอดจนแบบเรียนภาษาอังกฤษและสารคดีความรู้ต่างๆ  และจากการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใส่ตัวเองเสมอ ทำให้สามเณรประยุทธ์สามารถสอบนักธรรมตรีในปีแรกที่บวชเรียนได้

จากนั้นก็ได้ไปเรียนนักธรรมโทและบาลี ณ สำนักเรียนวัดปราสาททอง กับหลวงพ่อพระวิกรมมุนี เจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี

จากนั้นสามเณรประยุทธ์จึงไปสอบนักธรรมโท พร้อมกับเดินทางเข้ามาศึกษาบาลีต่อที่กรุงเทพมหานครอีกครั้ง โดยมาพำนักที่วัดพระพิเรนทร์ในปีแรกที่มาพำนักอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์อีกครั้งของสามเณรประยุทธ์ ก็สอบธรรมเอกได้ สำหรับบาลีนั้นสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค เมื่อ พ.ศ. 2498

ต้นปี พ.ศ. 2504 แม่กองบาลีสนามหลวงได้ประกาศรายชื่อพระภิกษุสามเณรผู้สอบได้เปรียญธรรม  9  ประโยค จำนวน 11 รูป ปรากฏว่า สามเณรประยุทธ์ อารยางกูร วัดพระพิเรนทร์ สอบได้ลำดับที่  6  ซึ่งก่อนหน้านี้มีเพียงสามเณร 3 รูปเท่านั้นที่สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค

เปิดประวัติ "พระพรหมคุณาภรณ์"(ประยุทธ์ ปยุตโต)...พระสงฆ์ที่ดํารงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนา(รายละเอียด)

หลังจากที่สามเณรประยุทธ์ สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ รับสามเณรประยุทธ์ อารยางกูร เป็นนาคหลวง อุปสมบทเมื่อวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (กิตติโสภณมหาเถร) วัดเบญจมบพิตร ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า ปยุตฺโต มีความหมายว่า ผู้เพียรประกอบแล้ว

ต่อมา พระมหาประยุทธ์ ปยุตฺโต ก็ตัดสินใจสอบเข้าศึกษาต่อในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ควบคู่ไปกับการเรียนบาลี ซึ่งหันมาใช้วิธีอ่านและเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะไม่มีเวลาไปเรียนในชั้นเรียนปกติ และในการศึกษาวิชาสามัญของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ปรากฏว่าท่านก็มีผลการเรียนดีเยี่ยม จวบจบปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 ในปี 2504 และได้บรรจุเป็นอาจารย์ประจำในแผนกเตรียมพุทธศาสตร์ พร้อมกันนี้ยังเป็นอาจารย์สอนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยเป็นกำลังหลักในการปรับปรุงหลักสูตร ซึ่งยังใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้

เปิดประวัติ "พระพรหมคุณาภรณ์"(ประยุทธ์ ปยุตโต)...พระสงฆ์ที่ดํารงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนา(รายละเอียด)

พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นพระนักวิชาการนักคิดนักเขียนผลงานทางพระพุทธศาสนารุ่นใหม่ มีผลงานทางวิชาการพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ผลงานของท่านที่เป็นที่รู้จัก เช่น พุทธธรรม เป็นต้น ท่านได้รับการยกย่องจากทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก ด้วยผลงานของท่านทำให้ท่านได้รับรางวัลและดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบันทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การยูเนสโก (UNESCO Prize for Peace Education)

เปิดประวัติ "พระพรหมคุณาภรณ์"(ประยุทธ์ ปยุตโต)...พระสงฆ์ที่ดํารงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนา(รายละเอียด)

นอกจากนี้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ท่านได้รับรวมมีมากกว่า 15 สถาบัน ซึ่งนับว่าท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ไทยที่ได้รับการยกย่องให้ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์มากที่สุดในปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2549 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ปัจจุบันพระพรหมคุณาภรณ์ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และจำพรรษาอยู่ที่วัดญาณเวศกวัน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ด้านวัตรปฏิบัตินั้น ท่านเจ้าคุณฯ ก็ไม่เคยรบกวนผู้อื่นเลย ทุกวันนี้ท่านยังซักเครื่องอัฐบริขารของท่านเองอยู่ แม้ในช่วงหลังจะมีพระบางรูปช่วยเหลือท่านที่กุฏิ ด้วยเป็นห่วงสุขภาพและวัยที่เพิ่มขึ้น แต่ท่านมักจะบอกกับพระรูปนั้นอยู่เสมอว่า "ไม่เป็นไร เดี๋ยวผมทำเองได้"

อย่างเวลาฉันท่านจะมีแค่ปิ่นโตเถาเล็กๆ ไม่มีการจัดสำรับหรูหรา เพราะท่านไม่อยากให้ญาติโยมลำบาก อีกทั้งท่านเจ้าคุณฯ ยังห่มจีวรสีสดที่ตัดเย็บจากผ้าธรรมดาทั่วๆ ไป สวมรองเท้าแตะยาง

และเป็นที่รู้กันในหมู่ผู้ใกล้ชิดว่าในกุฏิของท่านจะไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ เลย จะมีก็แต่เพียงวิทยุ ที่ท่านใช้เปิดฟังข่าวสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เสริมบางตัวที่สำคัญกับการทำงานเผยแพร่ของท่าน หรือหากมีสิ่งของใดๆ เสีย ท่านก็จะลงมือซ่อมแซมเอง ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกา วิทยุ เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ จึงเป็นที่รู้กันดีว่างานอดิเรกของท่านคือ การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้นั่นเอง

เปิดประวัติ "พระพรหมคุณาภรณ์"(ประยุทธ์ ปยุตโต)...พระสงฆ์ที่ดํารงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนา(รายละเอียด)

ซึ่งตัวอย่างผลงานทางวิชาการพุทธศาสนาของ พระพรหมคุณาภรณ์ อาทิ พุทธธรรม , พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์ , พจนานุกรมฉบับประมวลธรรม , สถาบันสงฆ์กับสังคมไทยในปัจจุบัน , พจนานุกรมพุทธศาสตร์ , จารึกอโศก , ธรรมนูญชีวิต , มองอเมริกาแก้ปัญหาไทย,พระพุทธศาสนากับสังคมไทย

 

ซึ่งบทความที่พระพรหมคุณาภรณ์ได้เขียนนั้นก็มีบุคคลที่นำไปศึกษาต่อและใช้ประกอบเพื่อประโยชน์ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาอีกมากมาย

 

ซึ่งบางช่วงบางตอนของหนังสือกรณีธรรมกายนั้นพระประยุทธ์ได้เขียนถึง การหาทางตีความ ให้นิพพานเป็นอัตตา ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ไม่มีหลักฐานในคัมภีร์ใดเลยที่กล่าวถ้อยคำระบุลงไปว่านิพพานเป็นอัตตา  แต่หลักฐานในคัมภีร์ที่ระบุลงไปว่านิพพานเป็นอนัตตานั้นมี และมีหลายแห่ง  ดังที่ยกตัวอย่างมาแสดงแล้ว

เมื่อไม่สามารถหาหลักฐานมาแสดงว่านิพพานเป็นอัตตา ผู้ที่หาทางจะทำให้นิพพานเป็นอัตตา ก็ใช้วิธีตีความ หรือทำให้เกิดความสับสนขอให้พิจารณาข้อความที่เอกสารของวัดพระธรรมกายได้กล่าวไว้

คำว่า สัพฺเพ ธัมฺมา อนัตฺตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ซึ่งเป็นคำที่มีการอ้างอิงกันมากนี้ คำว่า สัพฺเพ ธัมฺมา คือ ธรรมทั้งปวง กินความกว้างเพียงใดเพราะมีทั้งคัมภีร์ชั้นอรรถกถาที่บอกว่า ธรรมทั้งปวง ในที่นี้ รวมเอาพระนิพพานด้วย 

และมีทั้งคัมภีร์อรรถกถาที่บอกว่า ธรรมทั้งปวงที่ว่าเป็นอนัตตานั้นหมายเอาเฉพาะขันธ์ 5 ไม่ได้ครอบคลุมถึงพระนิพพาน คำกล่าวนี้จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือสับสน ถ้าไม่เป็นเพราะตัวผู้กล่าวสับสนเอง ก็เป็นเพราะตั้งใจจะทำให้เกิดความ สับสน เป็นการเสี่ยงต่อพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง

เปิดประวัติ "พระพรหมคุณาภรณ์"(ประยุทธ์ ปยุตโต)...พระสงฆ์ที่ดํารงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนา(รายละเอียด)

จิรศักดิ์ สำนักข่าวทีนิวส์

Cr.ภาพนิตยสาร ฅ คน