เรื่องน่าตื่นเต้น !?!? “ไพศาล” แจงยังมีเรื่องใหญ่ “ภาษีชินคอร์ป” ...จะเป็นใครดูเลย ทรัพย์สินมหาศาล แต่ยื่นภาษีน้อยนิด

เพจ ไพศาล พืชมงคล Paisal Puechmongkol โพสต์ข้อความ เรื่องน่าตื่นเต้นยังมีตามมาอีกแน่ ที่ สตง ท่านแจ้งให้ดำเนินการ เรียกเก็บภาษี

เพจ ไพศาล พืชมงคล Paisal Puechmongkol โพสต์ข้อความ เรื่องน่าตื่นเต้นยังมีตามมาอีกแน่

ที่ สตง ท่านแจ้งให้ดำเนินการ เรียกเก็บภาษี นั้นเป็นเพียงทรัพย์สินของนักการเมืองที่เพิ่มขึ้น โดยจำนวนที่เพิ่มขึ้นนั้นเกินกว่าจำนวนเงินได้ที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีจึงมีความชัดเจนว่ามีการเสียภาษีไม่ครบถ้วนไม่ถูกต้อง จึงต้องประเมินเรียกเก็บภาษีพร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ เมื่อผู้มีหน้าที่เฉยๆกันอยู่ ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่จะดำเนินการสั่งการได้ตามกฎหมาย ซึ่งคาดว่า ยากที่จะต่อสู้ได้ ก็ต้องติดตามกันว่ามีใครบ้างที่จะต้องถูกประเมินภาษี

และ เงินได้ที่เพิ่มขึ้นโดยเสียภาษีไม่ถูกต้องนั้นคิดเป็นเงินภาษีเท่าใดกันแน่ ที่ว่าเรื่องใหญ่ ยังมีอีก ก็คือบางคนยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินมากมายมหาศาล แต่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ 10 ปี 20 ปีที่ผ่านมาเพียงน้อยนิด

ก็แสดงอยู่ในตัวว่าทรัพย์สินที่ยื่นแสดงแบบรายการเสียภาษีนั้นได้มาโดยเสียภาษีไม่ครบถ้วนถูกต้อง ซึ่งจะต้องดูว่า สตง ท่านจะว่าอย่างไร





เรื่องน่าตื่นเต้น !?!? “ไพศาล” แจงยังมีเรื่องใหญ่ “ภาษีชินคอร์ป” ...จะเป็นใครดูเลย ทรัพย์สินมหาศาล แต่ยื่นภาษีน้อยนิด

ก่อนหน้านี้ บนเฟสบุ๊ค Paisal Puechmongkol ได้แสดงควาไม่พอใจถึงกรณีที่มีนักการเมืองท่านหนึ่งออกมาชี้แจงเรื่องการเรียกเก็บภาษีหุ้นชินคอร์ป ว่าเป็นการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งท่านไพศาลได้ระบุข้อความว่า "เหม็นเบื่อนักการเมืองบางคน ดูถูกคนไทยว่าโง่ ออกมาหลอกอีกแล้ว ว่า เก็บภาษีหุ้นชินไม่ได้ เพราะเป็นการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ได้รับยกเว้นภาษี  โกหกนะครับ เรื่องหุ้นชินนั้นมีการซื้อขาย 2 ระยะกล่าวคือ

ระยะที่ 1 เป็นการซื้อนอกตลาด เพื่อรวบรวมหุ้นให้ได้จำนวนมากพอที่จะขาย ระยะที่2 เมื่อรวบรวมหุ้นได้มากแล้ว ก็มีการขาย และในระยะนี้ก็ขายในตลาดหลักทรัพย์ ที่มีปัญหาค่าภาษี ไม่ได้มีปัญหาภาษีในการซื้อขาย

 

ระยะที่ 2 เพราะเมื่อเป็นการซื้อขายในตลาดก็ได้รับยกเว้นภาษี ที่เป็นปัญหาคือค่าภาษี ในกรณีซื้อขายหุ้นในระยะที่ 1 ซึ่งศาลฎีกาและศาลภาษีตัดสินตรงกันชัดเจน ว่าเป็นการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ ใครเป็นตัวการใครเป็นตัวแทน ของหุ้นที่ซื้อขายดังกล่าว ดังนั้นตัวการจึงต้องเสียภาษี เพราะไม่ได้ซื้อขาย ในตลาดหลักทรัพย์ แต่เป็นการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ ขอร้องเถอะครับอย่าโกหกให้ประชาชนสับสนอีกเลย

 

ก่อนหน้านี้ ในรายการที่นิวส์ สด ลึก จริง เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ได้นำเสนอข้อมูลเป็นลำดับไทม์ไลน์กรณีภาษีหุ้นชินคร์อปของนายทักษิณ ชินวัตร โดยเรื่องราวทั้งหมดนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย และนางสาวพินทองทา ชินวัตร บุตรสาว ของนายทักษิณ


มีการนำหุ้นนำหุ้นชินคอร์ป ที่ซื้อมาจากบริษัทแอมเพิลริชฯ (Ample Rich Investment Limited) ซึ่งมี ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้ก่อตั้งจำนวน 329.2 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 1 บาท
ขายต่อให้กองทุนเทมาเส็กในราคาหุ้นละ 49.25 บาทผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยส่วนต่างกำไรจากการซื้อ-ขายหุ้นครั้งนั้นหุ้นละ 48.25 บาท ไม่มีการเก็บภาษี

 

แต่กรมสรรพากรเห็นว่า กรณีนายพานทองแท้ และน.ส.พินทองทา ซื้อหุ้นชินคอร์ปมาจากบริษัทแอมเพิลริชฯ ในราคาหุ้นละ 1 บาท เป็นการซื้อนอกตลาดหลักทรัพย์ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินในปีภาษี 2549 และต้องยื่นแบบเสียภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคม 2550 แต่นายพานทองแท้ และน.ส.พินทองทา ไม่นำเงินได้ส่วนนี้มายื่นแบบเสียภาษี

 

 

 

เรื่องน่าตื่นเต้น !?!? “ไพศาล” แจงยังมีเรื่องใหญ่ “ภาษีชินคอร์ป” ...จะเป็นใครดูเลย ทรัพย์สินมหาศาล แต่ยื่นภาษีน้อยนิด

ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 14 มี.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมเมื่อวันที่ 13 มี.ค.เพื่อหารือความคืบหน้าการเรียกเก็บภาษี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีขายหุ้นชินคอร์ป เมื่อปี 2549 ว่า ส่วนตัวไม่ได้นิ่งนอนใจตั้งแต่วันแรกที่ได้ยินกรณีนี้ขึ้นมา ในหลักการสำคัญเรื่องนี้ได้ให้แนวคิดไปว่ารัฐบาลจะต้องไม่ทำขัดกับหลักยุติธรรม และจะไม่ใช้มาตรา 44 แก้ปัญหาเรื่องนี้ เดี๋ยวจะหาว่าไปรุกไล่ฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. ได้ให้ประชุมร่วมกันของคณะใหญ่ทั้งหมด เกี่ยวกับเรื่องกฎหมาย เช่น สตง. ปปง. และกฤษฎีกา ซึ่งได้ข้อยุติให้ใช้กฎหมายปกติดำเนินการ

        

กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพกรจะดำเนินการเรียกภาษี จะได้หรือไม่ต้องไปเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีโอกาสโต้แย้งในชั้นศาล ซึ่งต้องดูความเป็นมาของศาลที่ผ่านมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นศาลฎีกา เพราะหลายอย่างมีความซับซ้อน มีการวางแผนแยบยลเงินไหลทอด สังคมก็เชื่ออย่างนั้น ผมพยายามแกะมาอาทิตย์กว่าๆแล้ว จนได้ข้อยุติดังกล่าว การที่จะให้ผมมาสั่งโน้นสั่งนี้ บางอย่างผมไม่สั่งก็สั่งไม่ได้ เป็นเรื่องของฝ่ายกฎหมายไปพิจารณามา สรุปกรมสรรพากรต้องดำเนินการเรียกเก็บภาษี ถ้าไม่ได้ก็ไปอุทธรณ์ว่ากันไปตามกฎหมาย ซึ่งต้องทันเวลาก่อนวันที่ 31 มี.ค.นี้ด้วย