เลี่ยงภาษี ขอคืนเป็นเท็จโดนหมด!! เพิ่มบทลงโทษผู้ที่เลี่ยงภาษี ขอคืนเท็จ “อธิบดีสรรพากร” อายัดทรัพย์ ได้ทันที

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ มีรายละเอียด ระบุว่า...

วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๐ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ มีรายละเอียด ระบุว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๕) พ.ศ. ๒๕๖๐”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๗ ตรี ในส่วน ๓ บทกําหนดโทษ ของหมวด ๒ วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ของลักษณะ ๒ ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร แห่งประมวลรัษฎากร

“มาตรา ๓๗ ตรี ความผิดตามมาตรา ๓๗ มาตรา ๓๗ ทวิ หรือมาตรา ๙๐/๔ ที่ผู้กระทําความผิดเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนําส่งภาษีอากร และเป็นความผิดที่เกี่ยวกับจํานวน ภาษีอากรที่หลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงตั้งแต่สิบล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป หรือจํานวนภาษีอากรที่ขอคืนโดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทํานองเดียวกัน ตั้งแต่สองล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป และผู้มีหน้าที่ เสียภาษีอากรหรือนําส่งภาษีอากรดังกล่าวได้กระทําในลักษณะที่เป็นกระบวนการหรือเป็นเครือข่าย โดยสร้างธุรกรรมอันเป็นเท็จหรือปกปิดเงินได้พึงประเมินหรือรายได้ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากร และมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดเพื่อมิให้ติดตามทรัพย์สินนั้นได้ ให้ถือว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เมื่ออธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่าย ความผิดมูลฐานส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแล้ว ให้ดําเนินการ ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต่อไป คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งประกอบด้วยอธิบดี รองอธิบดีและที่ปรึกษากรมสรรพากรทุกคน” ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
 

เลี่ยงภาษี ขอคืนเป็นเท็จโดนหมด!! เพิ่มบทลงโทษผู้ที่เลี่ยงภาษี ขอคืนเท็จ “อธิบดีสรรพากร” อายัดทรัพย์ ได้ทันที
เลี่ยงภาษี ขอคืนเป็นเท็จโดนหมด!! เพิ่มบทลงโทษผู้ที่เลี่ยงภาษี ขอคืนเท็จ “อธิบดีสรรพากร” อายัดทรัพย์ ได้ทันที
เลี่ยงภาษี ขอคืนเป็นเท็จโดนหมด!! เพิ่มบทลงโทษผู้ที่เลี่ยงภาษี ขอคืนเท็จ “อธิบดีสรรพากร” อายัดทรัพย์ ได้ทันที

กฎหมายฉบับนี้ กระทรวงการคลังได้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพื่อรองรับการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของ Financial Action Task Force (FATF) ซึ่งไทยจะรับการประเมินดังกล่าวในปี 2560 นี้

โดยข้อแนะนำของ FATF ได้เสนอให้กำหนดอาชญากรรมเกี่ยวกับภาษี (Tax Crimes Related to Direct Taxes and Indirect Taxes) เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีมาตรฐานการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องปรามการฟอกเงินและการทำลายระบบภาษีที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศยิ่งขึ้น ตลอดจนเพิ่มความโปร่งใสโดยรวมให้แก่การทำธุรกรรมในประเทศไทย

“ตามปกติแล้วการหลีกเลี่ยงภาษี การขอคืนภาษีอันเป็นเท็จ และการใช้ใบกำกับภาษีปลอม ถือเป็นความผิดอาญาตามประมวลรัษฎากรอยู่แล้ว แต่เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของ Financial Action Task Force (FATF) ที่กำหนดให้อาชญากรรม ภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับ ภาษีทางตรง และ ภาษีทางอ้อม (Tax Crimes Related to Direct Taxes and Indirect Taxes) เป็นความผิดตามมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน”

ทั้งนี้ ประมวลรัษฎากรดังกล่าวจะกำหนดวงเงินการกระทำความผิด ที่เข้าข่ายตามร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ คือ เป็นการกระทำทำนองเดียวกับการฟอกเงิน คือ กรณี 1. การหลีกเลี่ยงภาษี โดยการกระทำให้รายได้น้อยกว่าปกติ เพื่อให้เสียภาษีน้อยลง ซึ่งกรณีนี้ หากมียอดสะสมของการหลีกเลี่ยงภาษีตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป เข้าข่ายความผิดตามกฎหมายนี้

2. กรณีการขอคืนภาษีอันเป็นเท็จตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ถือว่าเข้าข่ายตามกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งกรณีการขอคืนภาษีอันเท็จ กำหนดวงเงินความผิดค่อนข้างต่ำ เพราะถือเป็นการล้วงเงินในกระเป๋าจากรัฐโดยตรง ซึ่งที่ผ่านมากรมสรรพากร เคยมีกรณีการขอคืนภาษีอันเป็นเท็จ สร้างความเสียหายให้แก่รัฐไปกว่า 4 พันล้านบาท

3. กรณีการออกใบกำกับภาษีปลอม โดยมีวงเงินรวมในใบกำกับภาษีปลอม ที่นำไปใช้เพื่อทำให้เสียภาษีน้อยลง ตั้งแต่ 15 ล้านบาท เข้าข่ายกฎหมายฉบับนี้

กฎหมายฉบับนี้จะให้อำนาจอธิบดีอายึดทรัพย์ เป็นการชั่วคราว เพื่อตรวจสอบความผิด แต่การที่เจ้าหน้าที่จะระบุความผิดของผู้กระทำความผิดนั้น จะต้องมีหลักฐาน โดยระยะเวลาในการตรวจสอบจะอยู่ที่ 90 วัน”