แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)

คลองไทย (ตอนที่ 3) จะได้ทำให้ทุกคนได้เห็นถึง รายได้ ที่จะเกิดขึ้นจากการขุดคลอง และนำไปสู่การวิเคราะห์ว่า มันคุ้มกันหรือไม่อย่างไร

หลังจากที่กลุ่มไม่เห็นด้วยกับการขุดคลองไทยได้นำเสนอข้อมูลอีกด้านให้ประชาชนได้รับทราบ รายละเอียดตอนที่ 1 http://www.tnews.co.th/contents/307393

และตอนที่ 2
http://www.tnews.co.th/contents/307672

สำหรับ คลองไทย (ตอนที่ 3) จะได้ทำให้ทุกคนได้เห็นถึง รายได้ ที่จะเกิดขึ้นจากการขุดคลอง และนำไปสู่การวิเคราะห์ว่า มันคุ้มกันหรือไม่อย่างไร


 

5. สิ่งแวดล้อม (เพิ่มเติม)

ในตอนที่ 5 ข้าพเจ้าได้ตกหล่นไปสองเรื่อง เรื่องแรกคือ อ่าวไทยของเรานั้นความลึกเป็นแบบก้นกระทะ ดังนั้น
โอกาสจะเกิดตะกอนสะสมชายฝั่งบางที่จากการถมทะเลเพื่อสร้างเมืองย่อมเกิดขึ้นแน่ ส่วนเรื่องที่ 2
เกี่ยวกับ
เรื่องผลกระทบ Marine Ecology (
the UN Convention on the Law of the Sea (Article 196)
provides the global framework by requiring States to work together to prevent, reduce
and control pollution of the marine environment including the intentional or accidental
introduction of species, alien or new, to a particular part of the marine environment,
which may cause significant and harmful changes thereto) จากกรณีที่ สัตว์ทะเลเล็กพวก
plankton เขตร้อนพบในเขตหนาว และมีการผสมข้ามสายพันธ์ของ plankton หรือสัตว์ทะเลชนิดอื่นย่อม
ส่งผลอย่างมาก แม้แต่ทางเรือเองยังมีอนุสัญญาเกี่ยวกับ Ballast Water Treatment
ขึ้นคือต้องกำจัดสัตว์
เล็กๆและ plankton
น้ำในถังบาลาสเรือก่อนปล่อยออกนอกเรือ ซึ่งเริ่มบังคับใช้แล้ว ดังนั้นการขุดคลอง
จำเป็นต้องมีประตูน้ำเพื่อป้องกัน Plankton
จากมหาสมุทรอินเดียเข้ามาสู่มหาสมุทรแปซิฟิก หรืออ่าวไทยของ
เรานั่นเองคนที่ออกแบบขุดคลองแบบที่ 3 ถึงไม่คำนึงเรื่องเหล่านี้ ดูเหมือนจะเอาแต่ได้อย่างเดียว

แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)


 

6. จำนวนเรือค้าในโลกและจำนวนเรือที่ผ่านช่องมะละกา

กลุ่มผู้สนับสนุนได้พยายามอธิบายว่ามีการคาดการว่าเรือในโลกนี้จะมีเพิ่มมากขึ้น และช่องมะละกาซึ่งเป็น
เส้นทางเดินเรือในภูมิภาคนี้จะหนาแน่น ทำให้โอกาสเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ข้าพเจ้าขอเอาข้อมูลที่
พวกเขาใช้อ้างอิงมาให้ดูตามข้างล่างนี้

แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)


 

จากเอกสารนี้พวกเขาคาดว่าจำนวนเรือที่ผ่านช่องมะละกาจะเพิ่มมากขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยคาด
จากตัวเลขปี 2009
กับ ใช้การนับปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มมากขึ้นในโลกเทียบกับการเติบโตของ
GDP
นี้ แต่แท้จริงการใช้จำนวนตู้คอนเทนเนอร์มาคาดการณ์เป็นการผิดพลาดมาก ต้องเอาจำนวนเรือ
ซึ่งข้าพเจ้าจะแสดงให้ดูต่อไปว่ามีเท่าไหร่กันแน่ เรือปัจจุบันนั้นสร้างขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อบรรทุกตู้ให้มาก
ขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่าย (economy of scale)
แต่ข้าพเจ้าได้ค้นพบเอกสารอีกฉบับหนึ่งจากหนึ่งงาน
เดียวกัน ตามตารางข้างล่าง น่าจะทำขึ้นในปี 2014-2015 ท่านจะเห็นว่า จากปี 2009 -2014
เพิ่มแค่
แปดพันกว่าลำและเพิ่มในอัตราที่ลดลงเสียด้วย ดังนั้นยากมากที่จะเพิ่มในอัตราที่พวกเขาคาดคิด ยิ่งปัจจัยภายนอกในตอนที่ 2 แล้วยิ่งยากใหญ่


แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)

การเก็บตัวเลขจำนวนเรือที่เขาทำกันเขาเก็บมาจาก ระบบ AIS (Automatic Identification System)บนฝั่ง เหมือนกับระบบหอควบคุมการบิน ในเรือเองก็จะมีระบบ AIS กับ GPS เช่นกัน ทำให้บนฝั่งสามารถติดตามเรือได้ แต่ระบบของเรือหากคนใช้ไม่ป้อน update ข้อมูลเส้นทางแล้วมันก็จะปรากฏข้อมูลเก่าอยู่ดังในภาพข้างล่างข้าพเจ้าเอามาจาก Marine Traffic ดังนั้นถึงบนฝั่งจะมีเครื่องทันสมัยอย่างไรถ้าในเรือไม่ป้อนข้อมูลแล้ว สิ่งที่เห็นคือเกิดการนับซ้ำ ดังนั้นข้าพเจ้าไม่เชื่อตัวเลขผ่านคลองไทย จะเจ็ดหมื่นกว่าลำหรือเที่ยวบอกว่า เก้าหมื่นกว่าถึงแสนลำ จะเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงความจริง

 

แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)
แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)
Data from Marine Traffic

 

ตารางข้างล่างนี้เป็นตัวเลข world merchant Vessels ที่เอามาให้ดูจากหลายแหล่ง จะเห็นว่าตัวเลขยังไม่
ตรงกันเลย ตามตารางข้างล่างของ Danish Shipping Statistics May 2016 ตัวเลขจะอยู่ที่ 89,274

ลำ คิดเป็น 1,226,676,629 Gross Ton และ 1,805,693,726 Dead Weight Ton แต่ใกล้เคียงกัน

[PDF]Danish Shipping Statistics May 2016

https://www.shipowners.dk/download/Publications_Model.../sit_maj2016_eng.pdf

  1. Cached

IHS via Financial Times, May 8 2016. 2. Statistics Denmark. Most shipping
markets are experiencing weak earnings. That, however, is not the case in the
tankers ...

แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)

 

ส่วนตัวเลขของ UN จะอยู่ที่ 90,917 ลำ คิดเป็น 1,806,650,000 Dead Weight Ton ตามตารางข้างล่าง

[PDF]Review of Maritime Transport 2016 - Unctad

unctad.org/en/PublicationsLibrary/rmt2016_en.pdf

Nov 7, 2016 - REVIEW OF MARITIME TRANSPORT 2016 ii. NOTE. The Review of
maritime Transport is a recurrent publication prepared by the UNCTAD ...




แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)

ดังนั้นด้วยข้อมูลที่นำมาให้ดู จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีเรือแล่นผ่านช่องมะละกา จำนวน 90,000-100,000 ลำต่อปีตามที่กล่าวอ้าง แต่น่าจะเป็นจำนวนเที่ยวของเรือที่แล่นผ่านช่องมะละกาต่อปีมากกว่า เราลองมาหาตัวเลขคร่าวๆจำนวนเรือที่แล่นผ่านช่องมะละกา โดยมาดูตัวเลขของทางมาเลเซีย ในปี 2014 จำนวน79,344 เที่ยว สมมุติฐานว่าถ้าเพิ่มปีละ 2,000 เที่ยวในปี 2016 น่าจะอยู่ 83,000-84,000 เที่ยว แต่ตัวเลขนี้อย่าไปคิดไกลเพราะในความเป็นจริงเขาใช้เรือใหญ่ขึ้น จำนวนเที่ยวในอนาคตไม่น่าจะเพิ่มมากกว่านี้จำนวนเรือขนาด 100,000- 320,000 Dead Weight Ton ที่เข้าอ่าวอุดมและระยองตามคำบอกเล่าของพรรคพวกที่อยู่โรงกลั่นน้ำมันคือ ประมาณ 8-15 ลำต่อเดือน ข้าพเจ้าจะไม่ลงลึกคำนวณลงจากปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปวันละ 24- 30 ล้านลิตร เพราะน้ำมันดิบ 1 barrel (1 barrel = 119.240471 ลิตร) มันได้น้ำมันสำเร็จรูปหลายชนิดจำนวนวันเดินทางของเรือจาก middle east มายังอ่าวอุดมหรือระยองประมาณ15 วัน และไปแถว East Asia คือ จีน เกาหลี ญี่ปุ่นประมาณ 18 วันโดยผ่านช่องมะละกา ไปกลับคือ 36 วันบวกเวลาในการขนถ่ายและเสียเวลา จะประมาณ 45 วัน หากนำตัวเลขไป หาร 365 วันจะได้ 8 เที่ยวต่อลำต่อปี เมื่อเอาตัวเลขนี้ไปหาร 83,000-84,000 จะเท่ากับ 10,375-10,500 ลำ หรือประมาณ 12% ของกองเรือในโลกนี้เท่านั้นเอง ถ้าเอาตัวเลขจำนวนเที่ยว 83,000-84,000 ไปหารด้วย 365 วัน จะพบว่า เรือผ่านช่องมะละกาเพียงวันละ 200-230 ลำต่อวันหรือ 8-10 ลำต่อชั่วโมง



แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)

Navigation Chart ช่องมะละกา ส่วนแคบสุดแถวสิงคโปร์ 2.8 Nm หรือ 5.29 กม

แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)

Navigation Chart ช่องมะละกา ส่วนกว้างสุด 36.3 NM หรือ 67.89 กม

 

จากรูปของ navigation chart จะเห็นว่า ความกว้างของช่องมะละกา 5.29 กม – 67.89 กม ยาว 556
Nm หรือประมาณ 1,000 กม จำนวนเรือต่อวัน 200-230 ลำ ย่อมไม่เกิดความหนาแน่นแน่นอนตามที่กลุ่ม
สนับสนุนกล่าวอ้าง ส่วนเรื่องภัยโจรสลัดนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่ากลุ่มนี้จะอยู่หัวเกาะสุมาตรา และบริเวณแถว
ตรงข้ามสิงคโปร์ ประเทศอินโดนีเซีย ความรุนแรงไม่ได้อยู่ในระดับเหมือนแถว โซมาเลีย อีกประการหนึ่ง
เส้นทางเดินเรือระหว่างมาออกคลองไทยเพื่อไปแหลมญวณ กับ เส้นทางเดินเรือผ่านช่องมะละกานั้นไม่
แตกต่างกันมาก ความคิดที่ว่าจะประหยัดเวลานั้นต่างจากคลองสุเอช (ประหยัด 13-15 วัน ) และคลอง
ปานามา(ประหยัดเวลา 17-20 วัน) สิงคโปร์เขารู้มานานแล้ว มีแต่เป็นข่าวลือว่าสิงคโปร์คอยมา lobby
นักการเมืองไทยเพื่อไม่ให้เกิดโครงการขุดคลองไทย และไม่เป็นความจริงแต่อย่างไร ดู you tube
การขีด
เส้นเดินเรือ

 

 

Singapore no need to worry about the Kra Canal - YouTube 1:29

https://www.youtube.com/watch?v=Ubur4ZAJNvI Similar

May 23, 2015 - Uploaded by sky5000 The actual distance will be only about

700 km shorter. The project does not worth.

 

7. การเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างใช้คลองไทยกับผ่านช่องมะละกา

ข้าพเจ้าจะคำนวณเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการผ่านคลองไทยกับผ่านช่องมะละกา โดยใช้ แนว 9 A และใช้เรือ Suemax : 152,852 DWT, LOA/LBPX B X D : 281.20/270.00 X 48.20 X 23.00 M Draft : 16.00 M เครื่องจักรใหญ่ขนาด 16,780 KW กินน้ำมัน 180 cst ที่ 56.7 Tons per day เครื่องไฟฟ้าขนาด 912 KW จำนวน 3 เครื่อง โดยสมมุติฐานค่าผ่านคลองไทย คือ usd 3 per Dead Weight Ton ตามที่กลุ่มสนับสนุนเคยกล่าวไว้ และใช้สมมุติฐานค่าผ่านคลองไทย ที่ usd 0.90 per Dead Weight Ton กับ usd 0.20 per Dead Weight Ton

 

แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)
แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)
แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)
แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)
ALIBRA Shipping

แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)


 

อัตราค่าเช่าเรือในช่วงนี้อัตราตกมาก ดังนั้นจะใช้อัตราปี 2016 ที่ time charter rate usd 27,500 per
day pro rata basic การเช่าเรือแบบ time charter คือเจ้าของเรือเป็นผู้รับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายด้าน ship

management and operation ขณะที่ผู้เช่าจะเป็นผู้จ่ายค่า เช่าเรือและค่าน้ำมัน ค่า port operation
ทั้งหลาย ดังนั้นการใช้อัตรา time charter rate มาเป็นตัวชี้วัดเวลาที่เสียไปในช่องมะละกา เทียบกับเวลาที่
ร่นระยะทางลง ส่วนค่าใช้จ่ายน้ำมัน ตามอัตราตารางข้อมูล Singapore bunker index ข้างล่าง MGO
(Marine Gas Oil) = usd 470.50 per mt และ น้ำมันเตา C oil 180 cst = usd 328 per mt


แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)
แค่ค่าศึกษาประเทศก็จ่ายบานตะไทแล้ว?? “ตะลึง” เปิดข้อมูลอีกด้าน ดัน “ขุดคลองไทย” เฉพาะค่าศึกษาโครงการหมื่นกว่าล้าน ใคร “งาบ” (รายละเอียด)

การเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายผ่านคลองไทยกับ แล่นผ่านช่องแคบมะละกาเพื่อมาท่าเรือระยองกับไปแหลมญวนของเรือ suezmax tanker ขนาด 152,852 dwt โดยใช้แนวขุดคลอง 9A จังหวัดตรังกับนครศรีธรรมราชระยะทางรวมร่องน้ำ 105.55 ไมล์ทะเล ใช้เวลาในคลอง. 10-12 ชั่วโมงด้วย ความเร็ว 7-8 knot. เฉลี่ย (คลอง 150 กม = 83.33 ไมล์ทะเล) และเวลาในร่องน้ำ 2 ชั่วโมง อัตราค่าผ่านคลอง usd 3 per DWT ค่าเช่าเรือ usd 27,500 per day pro rata กินน้ำมัน 56.7 ton perday และเครื่องไฟฟ้าเครื่องละ 3 ton per day
 

  1. ค่าใช้จ่ายผ่านคลองไทยในอัตราที่ มีกลุ่มเสนอ ประมาณ usd 3 per DWT
    - อัตราค่าผ่านคลอง. 152,852 x 3 = usd. 458,556
    - ค่าเช่าเรือ 16 ชั่วโมง (รวมเวลายกเรือ) = usd. 18,333
    - ค่าน้ำมัน 14 ชั่วโมง.mgo 30 ตัน X usd 470.50 = usd. 14,115
    - ค่าน้ำมันเครื่องไฟฟ้า 2 เครื่อง 16 ชั่วโมง 4 ตัน X usd 470.50 = usd 1,882
    รวม. usd. 492,886
    หมายเหตุ : การผ่านร่องและคลองควรใช้ MGO กับเครื่องจักรใหญ่ และใช้เครื่องไฟฟ้า 2
    เครื่อง เพราะต้อง
    stand by 1 เครื่อง ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายนำร่องและเรือทัก

    2. ค่าใช้จ่ายผ่านช่องแคบมะละกา ไปยังระยองความเร็ว 12 knots
    โดยเทียบจาก ช่องมะละกามาถึงจุดคลองทาง
    นครศรีธรรมราช
  • อัตราค่าเช่าเรือ 3.5 วัน วันละ usd 27,500. = usd. 96,250
    ค่าน้ำมัน Fo 180 cst เดินทาง 3.5 วันวันละ 56.7 ตันตันละ usd .328 = usd. 65,092
    ค่าน้ำมัน mgo 3.5วัน วันละ 3 ตัน ราคาตันละ usd 470.50 = usd. 4,941
    รวม. usd 168,033

หมายเหตุ : แล่นทะเลเปิด เครื่องจักรใหญ่ใช้น้ำมัน เตา C และเครื่องไฟฟ้าเครื่องเดียว ไม่ต้อง stand by อีก
เครื่อง

  1. ค่าใช้จ่ายผ่านช่องแคบมะละกา 2 วัน วันไปยังแหลมญวน ความเร็ว 12 knots ระยะทาง 539 ไมล์ทะเล
    - อัตราค่าเช่าเรือ 2 วัน วันละ usd 27,500. = usd. 55,000
    - ค่าน้ำมัน Fo 180 cst เดินทาง 2 วันวันละ 56.7 ตัน ตันละusd 328 = usd. 37,195
    - ค่าน้ำมัน mgo 2 วันละ 3 ตัน ราคาตันละ usd 470.50 = usd. 2,823
    รวม. usd. 95,018

 

สรุปถ้าใช้อัตราค่าผ่านคลองตามที่กลุ่มสนับสนุน คุยจะได้รายได้มหาศาล แต่อัตรานั้นทำให้ค่าใช้จ่ายผู้รับจ้าง
บรรทุกสินค้าแพงกว่าแล่นผ่านมะละกา ใครจะยอมจ่ายอัตรานั้นบ้าง? ต่อไปมาดูว่าถ้าเก็บอัตราที่ usd 0.90 per
DWT ผลจะเป็นอย่างไร

 

 

การเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายผ่านคลองไทยกับ แล่นผ่านช่องแคบมะละกาเพื่อมาท่าเรือระยองกับไปแหลมญวนของเรือ suezmax tanker ขนาด 152,852 dwt โดยใช้แนวขุดคลอง 9A จังหวัดตรัง.กับนครศรีธรรมราชระยะทางรวมร่องน้ำ 105.55 ไมล์ทะเล ใช้เวลาในคลอง. 10-12 ชั่วโมงด้วย
ความเร็ว 7-8 knot. เฉลี่ย (คลอง 150 กม = 83.33 ไมล์ทะเล) และเวลาในร่องน้ำ 2
ชั่วโมง อัตราค่าผ่านคลอง usd 0.90 per DWT ค่าเช่าเรือ usd 27,500 per day pro rata กินน้ำมัน 56.7 ton
per day และเครื่องไฟฟ้าเครื่องละ 3 ton per day

  1. ค่าใช้จ่ายผ่านคลองไทยในอัตราที่ ประมาณ usd 0.90 per DWT
    - อัตราค่าผ่านคลอง. 152,852 x 0.90 = usd. 137,567
    - ค่าเช่าเรือ 16 ชั่วโมง (รวมเวลายกเรือ) = usd. 18,333
    - ค่าน้ำมัน 14 ชั่วโมง.mgo 30 ตัน X usd 470.50 = usd. 14,115
    - ค่าน้ำมันเครื่องไฟฟ้า 2 เครื่อง 16 ชั่วโมง 4 ตัน X usd 470.50 = usd 1,882
    รวม. usd. 171,897
    หมายเหตุ : การผ่านร่องและคลองควรใช้ MGO กับเครื่องจักรใหญ่ และใช้เครื่องไฟฟ้า 2
    เครื่อง เพราะต้อง
    stand by 1 เครื่อง ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายนำร่องและเรือทัก

    2. ค่าใช้จ่ายผ่านช่องแคบมะละกา ไปยังระยองความเร็ว 12 knots
    โดยเทียบจาก ช่องมะละกามาถึงจุดคลองทาง
    นครศรีธรรมราช
  • อัตราค่าเช่าเรือ 3.5 วัน วันละ usd 27,500. = usd. 96,250
    ค่าน้ำมัน Fo 180 cst เดินทาง 3.5 วันวันละ 56.7 ตันตันละ usd .328 = usd. 65,092
    ค่าน้ำมัน mgo 3.5วัน วันละ 3 ตัน ราคาตันละ usd 470.50 = usd. 4,941
    รวม. usd 168,033

หมายเหตุ : แล่นทะเลเปิด เครื่องจักรใหญ่ใช้น้ำมัน เตา C และเครื่องไฟฟ้าเครื่องเดียว ไม่ต้อง stand by อีก
เครื่อง

  1. ค่าใช้จ่ายผ่านช่องแคบมะละกา 2 วัน วันไปยังแหลมญวน ความเร็ว 12 knots ระยะทาง 539 ไมล์ทะเล
    - อัตราค่าเช่าเรือ 2 วัน วันละ usd 27,500. = usd. 55,000
    - ค่าน้ำมัน Fo 180 cst เดินทาง 2 วันวันละ 56.7 ตัน ตันละusd 328 = usd. 37,195
    - ค่าน้ำมัน mgo 2 วันละ 3 ตัน ราคาตันละ usd 470.50 = usd. 2,823
    รวม. usd. 95,018

 

สรุปอัตรา usd 0.90 per DWT ก็ยังไม่เป็นที่จูงใจผู้รับจ้างบรรทุกสินค้าที่จะมาใช้คลองไทยเพราะยังสูงอยู่
เช่นเดิม มาดูสมมุติฐาน ที่ usd 0.20 per DWT

 

 

 

 

การเปรียบเทียบค่าใช้ต่ายผ่านคลองไทยกับ แล่นผ่านช่องแคบมะละกาเพื่อมาท่าเรือระยองกับไป
แหลมญวนของเรือ suezmax tanker ขนาด 152,852 dwt โดยใช้แนวขุดคลอง 9A
จังหวัดตรัง.
กับนครศรีธรรมราชระยะทางรวมร่องน้ำ 105.55 ไมล์ทะเล ใช้เวลาในคลอง. 10-12
ชั่วโมงด้วย
ความเร็ว 7-8 knot. เฉลี่ย (คลอง 150 กม = 83.33 ไมล์ทะเล) และเวลาในร่องน้ำ 2
ชั่วโมง อัตรา
ค่าผ่านคลอง usd 0.20 per DWT ค่าเช่าเรือ usd 27,500 per day pro rata กินน้ำมัน 56.7 ton
per day และเครื่องไฟฟ้าเครื่องละ 3 ton per day



  1. ค่าใช้จ่ายผ่านคลองไทยในอัตราที่ ประมาณ usd 0.20 per DWT
    - อัตราค่าผ่านคลอง. 152,852 x 0.20 = usd. 30,571
    - ค่าเช่าเรือ 16 ชั่วโมง (รวมเวลายกเรือ) = usd. 18,333
    - ค่าน้ำมัน 14 ชั่วโมง.mgo 30 ตัน X usd 470.50 = usd. 14,115
    - ค่าน้ำมันเครื่องไฟฟ้า 2 เครื่อง 16 ชั่วโมง 4 ตัน X usd 470.50 = usd 1,882
    รวม. usd. 64,904
    หมายเหตุ : การผ่านร่องและคลองควรใช้ MGO กับเครื่องจักรใหญ่ และใช้เครื่องไฟฟ้า 2
    เครื่อง เพราะต้อง
    stand by 1 เครื่อง ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายนำร่องและเรือทัก

    2) ค่าใช้จ่ายผ่านช่องแคบมะละกา ไปยังระยองความเร็ว 12 knots
    โดยเทียบจาก ช่องมะละกามาถึงจุดคลองทาง
    นครศรีธรรมราช
  • อัตราค่าเช่าเรือ 3.5 วัน วันละ usd 27,500. = usd. 96,250
    ค่าน้ำมัน Fo 180 cst เดินทาง 3.5 วันวันละ 56.7 ตันตันละ usd .328 = usd. 65,092
    ค่าน้ำมัน mgo 3.5วัน วันละ 3 ตัน ราคาตันละ usd 470.50 = usd. 4,941
    รวม. usd 168,033

หมายเหตุ : แล่นทะเลเปิด เครื่องจักรใหญ่ใช้น้ำมัน เตา C และเครื่องไฟฟ้าเครื่องเดียว ไม่ต้อง stand by อีก
เครื่อง

  1. ค่าใช้จ่ายผ่านช่องแคบมะละกา 2 วัน วันไปยังแหลมญวน ความเร็ว 12 knots ระยะทาง 539 ไมล์ทะเล
    - อัตราค่าเช่าเรือ 2 วัน วันละ usd 27,500. = usd. 55,000
    - ค่าน้ำมัน Fo 180 cst เดินทาง 2 วันวันละ 56.7 ตัน ตันละusd 328 = usd. 37,195
    - ค่าน้ำมัน mgo 2 วันละ 3 ตัน ราคาตันละ usd 470.50 = usd. 2,823
    รวม. usd. 95,018

 

สรุปอัตรา usd 0.20 per DWT น่าจะมีความเป็นไปได้ในการที่จะมีผู้ใช้บริการผ่านคลองไทยเพราะจะประหยัด
ค่าใช้จ่ายไปถึง 30% ซึ่งหมายความว่าถ้าเรือเบาไม่ได้บรรทุกสินค้า อาจจะต้องเก็บแค่ usd 0.05-0.10 per

DWT เท่านั้น เพราะเขาไม่มีรายได้เกิดขึ้น อัตรานี้ยังต้องทำ customer behavior research กับเจ้าของเรือ
ทั่วโลกที่มีเส้นทางเดินเรือผ่านทางนี้ อัตรานี้ย่อมเห็นชัดมีความเสี่ยงผลตอบแทนการลงทุนต่ำและต้องใช้เวลา
คืนทุนกว่า 70-100 ปี นี่ขนาดยังไม่ได้คำนึงถึง ความเสี่ยงจากปัจจัยอื่นๆ และ present value

 

 

สรุปปัจจัยและผลเสียของการขุดคลองไทย

 

1) ผลตอบแทนการลงทุนไม่คุ้ม ผู้ได้ประโยชน์คือพวกที่ต้องการขุด สร้าง
กระแสขึ้นมา

2) เรือทั่วโลกมีแค่ แปดหมื่นกว่าลำ ดังนั้นข้อมูลจำนวนแปดหมื่นลำที่แล่นผ่าน
ช่องมะละกา จึงไม่เป็นความจริง

3) จีนสร้างท่อส่งน้ำมันที่พม่าเข้าหนานหนิง เสร็จแล้ว

4) การประหยัดเวลา สำหรับเรือที่ผ่านช่องแคบมะละกาไปยังแหลมญวณ แค่ 1
วัน มาไทย 3 วัน

5) เรือที่ผ่านคลอง ต้องเข้าคิว การเดินเรือในคลองแล่นเพียง 6-8 น๊อต ใช้เวลา
10 กว่าชั่วโมง

6) แถบชายฝั่งด้านตะวันออกจะโดนกัดเซาะหายไปเร็ว หลังจากใช้คลองและมี
ผลกระทบต่อนิเวศชายฝั่ง

7) การขุดใช้นิวเคลียร์ มีความเสี่ยงด้านกัมตภาพรังสี ถ้าเร่งขุดใช้แรงงาน มี
ความเสี่ยงในด้านภัยความมั่นคง

8) การทำวิจัยศึกษาทำโดยผู้ต้องการทำ ไม่ใช่ผู้ใช้คลอง ผิดหลักการตลาด

9) ระดับในคลองเช่น 30เมตร จะต้องขุดร่องน้ำสองฝั่งไปยาวประมาณ อีก 10-
20 กิโลเมตร ความลึกในร่องน้ำ 40 เมตร เผื่อน้ำขึ้นน้ำลงและต้องมีค่า

ใช้จ่ายในการขุดร่องทุกปี ระดับลึกสุดก้นอ่าวไทยแค่ 50-80 เมตร และระดับ
ไหล่ทวีปด้านอ่าวไทยเราเป็นเหมือนกะทะ ไล่ระดับตื้นไปหาลึก

10) เทคโนโลยี่เรือในอนาคต ประหยัดพลังงานไปได้ 50-100%

11) พลังงานอนาคต ลดการใช้น้ำมันลง

12) สินค้าที่จะมาผ่านเกิด double handling charge ยังไงยังไม่สามารถสู้
ค่าใช้จ่าย สิงคโปร์ได้

13) จุดประสงค์คลองคืนร่นระยะเวลาการเดินทาง. ไม่ใช่เพื่อเพิ่มนิคม
อุตสาหกรรม หากจะทำนิคมอุตสาหกรรม ก็ใช้ land bridge
ได้ ไม่มีความ
จำเป็นต้องสร้างคลอง เพราะต้นทุนค่าก่อสร้างสูงกว่ามาก

14) การค้าโลกจะจับกลุ่มการค้า เป็น แบบ Reginal Trade มากขึ้น เช่น
Asean และ จีน

15) การสร้างคลองส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเพราะนิเวศวิทยาถูกทำลาย
มูลค่าการท่องเที่ยวใน ประเทศ ประมาณ 1.8 ล้านล้านบาทมากกว่าค่า
ผ่านคลอง และการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลัก เป็น competitiveness
of Nation

 

 

 

ล็อบบี้ยิสต์ คืออะไร?

คำนี้ หากจะเป็นไทยที่ใกล้เคียงที่สุดก็คือ “นักวิ่งเต้น” เพราะคำว่าล็อบบี้ยิสต์ เป็นคำที่ใช้เรียกผู้ที่ทำการวิ่งเต้น (lobbying)

ในทางธุรกิจแล้ว ล็อบบี้ยิสต์ คล้ายกับกับอาชีพ “นายหน้า-ทนายหน้าหอ” ซึ่งทำหน้าที่นอกจาก “เจรจาต่อรอง” แล้ว หน้าที่หลักสำคัญคือ “ประสานประโยชน์” ให้กับทั้งสองฝ่าย ด้วย “คอนเนคชั่น (CONNECTION)” ที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด

หรือแปลได้อีกความหมายหนึงให้เข้าใจง่ายๆเช่นเป็น “คนกลาง” หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า “MIDDLE MAN” เป็นตัวเชื่อม ตัวอย่างเช่น นาย ก. กับ นาย ข. อาจไม่กล้าเจรจาต่อรองกันเอง หรืออาจจะไม่รู้จักกัน หรือเขินอายที่ต้องเจรจาต่อกัน จึงจำเป็นต้องมี “คนกลาง” คอยทำหน้าที่ “เชื่อม” และ “ต่อรอง”

โดยในปัจจุบัน การวิ่งเต้น โดยรวมถึงความพยายามมีอิทธิพลต่อการกระทำของรัฐในทุก ๆ เรื่อง ด้านการเมืองระหว่างประเทศ มีการจ้างนักวิ่งเต้นเพื่อหาเสียงสนับสนุนให้แก่ประเทศของตนหรือตัดสิทธิพิเศษบางประการที่เคยให้กับประเทศของตน เป็นต้น



อ่านเพิ่มเติมที่ >> http://www.zcooby.com/lobbyist-what-is/

 

 

โครงการรถไฟทางรางคู่แหลมฉบังไปหนองคาย มูลค่า 300,000 ล้านบาทเราโดนค่าศึกษาโครงการไป 10,000 ล้านบาท สุดท้ายเจออะไร ประชาชนชาวไทยได้รับรู้กันไปแล้ว โครงการนี้ก็ยังไม่เกิด แต่เราเสียหายไปแล้ว 10,000 ล้านบาทให้กับบริษัทอะไรที่มาทำการศึกษา โครงการคลองไทยมีมูลค่ามหาศาล เท่าที่ทราบมีการตั้งค่าศึกษาโครงการที่ 2% มูลค่าก่อสร้าง ซึ่งจะตกถึง สามสี่หมื่นล้านบาท และ เป้าหมายของเรื่องนี้ ที่จริง เขาก็กล่าวออกมาแล้วชัดเจน ถึงกับมีข่างจะล่ารายชื่อกดดันรัฐบาล เพื่อผลอะไร? จากข้อมูลที่ข้าพเจ้าได้เสนอมาตลอด 3 ตอน อยากให้คนไทยทุกคน หยุดเรื่องคลองไทยนี้เพราะมันไม่มีประโยชน์ในการจะพัฒนาชาติของเราต่อไป มีแต่จะนำพาความฉิบหายมากกว่า หากข้อมูลและข้อความใดก้าวล่วงผู้อื่นหรือเป็นข้อมูลของผู้อื่นที่ข้าพเจ้าลืมใส่ reference ต้องขออภัยมาที่นี้ด้วย