อย่าลืมรีบไปลงทะเบียนด่วน!! ลงทะเบียนคนจน ผ่าน 3 ธนาคาร รับทันทีสูงสุด 3,000 บาท ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ  (รายละเอียด)

ผู้ที่จะไปลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย ต้องตรวจสอบว่าเรามีคุณสมบัติตามนี้หรือไม่

กระทรวงการคลังให้ธนาคารของรัฐ 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยรอบใหม่ นี้ โดยรัฐบาลให้เงินสนับสนุนคนละ 1,500-3,000 บาท ตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยมีแนวทางดังนี้

1.ขอหรือดาวน์โหลดแบบฟอร์มลงทะเบียน

ผู้ลงทะเบียนสามารถขอแบบฟอร์มลงทะเบียนได้ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทุกสาขา, ธนาคารออมสิน ทุกสาขา, ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา คลังจังหวัด สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ทุกเขต ได้ตั้งแต่บัดนี้ หรือสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ เว็บไซต์ของกระทรวงการคลัง www.mof.go.th , สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง www.fpo.go.th , อีเปย์เมนท์ www.epayment.go.th

 

2.ศึกษาทำความเข้าใจแบบฟอร์ม
ผู้ลงทะเบียนต้องศึกษาแบบฟอร์มให้เข้าใจ เตรียมเอกสารหลักฐานที่จำเป็น อาทิ บัตรประจำตัวประชาชนของตนเอง เลขบัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา และบุตร สมุดทะเบียนบ้าน ทะเบียนผู้พิการ ทะเบียนเกษตรกร เลขที่บัญชีเงินฝาก และทำการสำรวจรายได้ หนี้สิน ของตน กรอกแบบฟอร์มให้ครบถ้วน ถูกต้องตามความเป็นจริง

 


3.ลงทะเบียน
ผู้ประสงค์จะลงทะเบียนต้องมาลงทะเบียนด้วยตนเอง ยื่นแบบฟอร์มที่กรอกครบถ้วนแล้ว พร้อมหลักฐานที่จำเป็น เพื่อยืนยันตัวตนและข้อมูลที่กรอกให้ทางราชการ หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จะกรอกข้อมูลของผู้มาลงทะเบียนเข้าระบบ หลังจากลงทะเบียนเสร็จแล้ว ผู้ลงทะเบียนต้องรับเอกสารหลักฐาน ส่วนท้ายของแบบฟอร์ม กลับไป เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าการลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์


 

 

สำหรับการลงทะเบียนคนจนรอบใหม่ ทางกระทรวงการคลังระบุว่า จะเปิดรับสมัครในวันที่ 3 เมษายน - 30 เมษายน 2560

ผู้ที่จะไปลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย ต้องตรวจสอบว่าเรามีคุณสมบัติตามนี้หรือไม่


1. มีสัญชาติไทย

2. อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (เกิดก่อนวันที่ 16 พฤษภาคม 2542)

3. เป็นผู้ว่างงาน หรือมีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาท ในปี 2559

4. ไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน ได้แก่ เงินฝากธนาคาร, สลากออมสิน, สลาก ธ.ก.ส., พันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ หรือถ้ามีทรัพย์สินทางการเงินดังกล่าว จะต้องมีจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 100,000 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

5. ไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย หรือถ้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ดังกล่าว จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

(5.1) ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน)
กรณีอยู่อาศัยอย่างเดียว
- บ้านหรือทาวน์เฮ้าส์ต้องมีพื้นที่ ไม่เกิน 25 ตารางวา
- ห้องชุดต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร

กรณีเป็นที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดิน
- เพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่
- เพื่อการอื่นที่ไม่ใช่การเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่

(5.2) ที่ดิน
กรณีใช้ประโยชน์จากที่ดิน
- เพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่
- เพื่อการอื่นที่ไม่ใช่การเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่

หมายเหตุ : รายได้ หมายถึงรายได้ของบุคคลที่ลงทะเบียนเท่านั้น ในกรณีประกอบอาชีพร่วมกันทั้งครัวเรือน (เช่น ทำการเกษตรร่วมกัน) และไม่สามารถแยกรายได้ออกมาเป็นรายบุคคลได้ ให้ถือว่า รายได้ของครัวเรือนเป็นรายได้ของหัวหน้าครอบครัวแต่เพียงคนเดียว



ผู้ลงทะเบียนจะต้องยินยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ เช่น

- รายได้ (เงินเดือน/เงินฝากธนาคาร/สลากออมทรัพย์/พันธบัตร/หุ้น ฯลฯ)
- การถือครองทรัพย์สิน (ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง/รถยนต์/จักรยานยนต์ ฯลฯ)
- หนี้สินคงค้างทั้งหมด (เงินกู้ในระบบ/เงินกู้นอกระบบ/หนี้บัตรเครดิต/หนี้เพื่อการศึกษา/หนี้เพื่อการเกษตรหรือประกอบธุรกิจ/หนี้เพื่อการอุปโภค-บริโภค/หนี้เพื่อซื้อบ้านและที่ดิน ฯลฯ)


ทั้งนี้ต้องยินยอมให้นำข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมภาพถ่ายใบหน้าไปใช้ เพื่อให้รัฐบาลมีข้อมูลสำหรับการนำไปใช้ในการจัดทำสวัสดิการของรัฐต่อไป

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้กล่าวถึงประเด็นนี้เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2560 ว่า ผู้ที่ไม่เคยลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย และผู้ที่เคยลงทะเบียนเมื่อปีที่ผ่านมา จำนวน 8 ล้านคน จะต้องมาลงทะเบียนใหม่ทั้งหมด เพื่ออัพเดทข้อมูลฐานรายได้ด้วย


เช่นเดียวกับ นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ที่ระบุว่า ผู้ที่เคยลงทะเบียนรายได้น้อยในรอบแรกต้องมาลงทะเบียนใหม่ในรอบนี้ด้วย เพื่อให้ผู้ลงทะเบียนรายได้น้อยได้รับบัตรผู้มีรายได้น้อยประจำตัวทุกคน

อย่างไรก็ตาม หลังจากผู้ลงทะเบียนในปี 2560 ได้รับบัตรประจำตัวรอบใหม่นี้แล้ว ในปีต่อไปไม่ต้องมาลงทะเบียนอีก เพียงแต่มาอัพเดทข้อมูลเท่านั้น ซึ่งบางคนอาจจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจนไม่ถือว่าเป็นผู้มีรายได้น้อยอีกก็ได้


 



เบื้องต้น (ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560) ทางกระทรวงการคลังระบุว่า สวัสดิการที่ผู้มาลงทะเบียนคนจนรอบใหม่จะได้รับก็อย่างเช่น

- บัตรประจำตัวผู้มีรายได้น้อย โดยอาจให้ใช้สีแตกต่างกันตามระดับรายได้ของประชาชน เพื่อเตรียมพร้อมไว้รับสวัสดิการที่ทางรัฐบาลจะมอบให้ในอนาคต เช่น การลดค่าน้ำ-ไฟฟ้า การขึ้นรถเมล์ฟรี รถไฟฟรี เป็นต้น ซึ่งหากใช้บัตรดังกล่าวรูดกับเครื่องก็จะรู้ได้ทันทีว่าได้รับสวัสดิการดังกล่าวหรือไม่

- กำลังพิจารณาเรื่องการทำประกันชีวิตให้ผู้มีรายได้น้อย โดยจ่ายค่าเบี้ยประกันรายละ 99 บาทต่อปี คุ้มครอง 5-6 หมื่นบาท และจ่ายชดเชยกรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน


- เตรียมดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพเพิ่มให้ผู้สูงอายุที่เป็นผู้มีรายได้น้อย กรณีผู้สูงอายุฐานะดี สมัครใจสละสิทธิ์เบี้ยชราภาพ


 

 

 

 

 

 

พล.ท. สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลจะเปิดให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ รอบที่ 2 เป็นวันแรก โดยจะดำเนินการต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 60 เพื่อให้ภาครัฐมีข้อมูลของผู้มีรายได้น้อยที่เป็นปัจจุบัน และจัดสวัสดิการช่วยเหลือได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

 



โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับโครงการนี้เป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นช่องทางให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยโดยตรง โดยฝากเชิญชวนให้ผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่ประกาศไว้ไปลงทะเบียนผูัมีรายได้น้อยได้ที่ ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. ทุกสาขา สำนักงานคลังจังหวัดทุกจังหวัด และสำนักงานเขตใน ก.ท.ม. เพื่อรับบัตรประจำตัวผู้มีรายได้น้อย เพื่อช่วยเหลือค่าน้ำค่าไฟ ค่าโดยสารรถสาธารณะ การประกันภัยผู้มีรายได้น้อย หรือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นต้น

จากรายงานระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมา มีประชาชนไปลงทะเบียนทั้งสิ้น 8,375,383 ราย แต่เป็นผู้มีสิทธิ์ซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล 1,500 บาท และ 3,000 บาท จำนวน 7,715,359 ราย โดยในจำนวนนี้ได้รับเงินโอนไปแล้ว 7,525,363 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 97.5 ของจำนวนผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด ส่วนที่เหลือไม่ได้รับเงินโอนเนื่องจากไม่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคาร ไม่ไปติดต่อกับธนาคาร หรือบัญชีติดอายัด

ทั้งนี้ ผู้ที่มีสิทธิ์ทุกคนจะต้องไปลงทะเบียนใหม่ทั้งหมดทุกราย ทั้งรายเดิมที่เคยลงทะเบียนแล้ว และรายใหม่ที่ยังไม่เคยลงทะเบียน โดยคุณสมบัติจะต้องมีสัญชาติไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นผู้ว่างงานหรือมีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทในปี 59 ไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน หรือไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย หรือหากมีบ้านพักอาศัยต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตร.ว. ห้องชุดไม่เกิน 35 ตร.ม. หรือมีที่ดินเพื่อการเกษตรไม่เกิน 10 ไร่ หรือที่ดินอื่นที่ไม่ใช่การเกษตร ไม่เกิน 1 ไร่

ภายหลังจากลงทะเบียนแล้วสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2560 ที่
www.epayment.go.th หรือที่ทำการกำนันผู้ใหญ่บ้าน หากไม่มีชื่อให้ไปติดต่อกับหน่วยงานที่ลงทะเบียนไว้ และรอรับบัตรสวัสดิการที่กระทรวงการคลังจะดำเนินการให้ต่อไป