ด่วน !?!?  "เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่" ชนบ้านประชาชน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ...พังเป็นแถบ(มีภาพ)

ด่วน !?!? "เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่" ชนบ้านประชาชน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ...พังเป็นแถบ(มีภาพ)

วันที่ 5 เมษายน 2560 ได้รับแจ้งเหตุ เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่เสียหลักพุ่งชนบ้านเรือนประชาชนและร้านค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งพระประแดง ส่งผลให้บ้านเรือนพังเสียหาย เบื้องต้นเจ้าหน้าที่คาดการณ์ว่าเกิดจาก ระบบไฟฟ้าในเรือขัดข้องทำให้บังคับเรือไม่ได้ จึงเกิดการไหลพุ่งชน เบื้องต้นไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

 

ด่วน !?!?  "เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่" ชนบ้านประชาชน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ...พังเป็นแถบ(มีภาพ)

ด่วน !?!?  "เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่" ชนบ้านประชาชน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ...พังเป็นแถบ(มีภาพ)

ด่วน !?!?  "เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่" ชนบ้านประชาชน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ...พังเป็นแถบ(มีภาพ)

ด่วน !?!?  "เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่" ชนบ้านประชาชน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ...พังเป็นแถบ(มีภาพ)

ด่วน !?!?  "เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่" ชนบ้านประชาชน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ...พังเป็นแถบ(มีภาพ)

ด่วน !?!?  "เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่" ชนบ้านประชาชน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ...พังเป็นแถบ(มีภาพ)

ทั้งนี้หากมีรายงานความคืบหน้าทางสำนักข่าวทีนิวส์จะรายงานให้ทราบกันต่อไป

จากการสืบค้นระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการกำหนดอัตรากินน้ำลึกของเรือลำเลียงและเรือบรรทุกสินค้า ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2529 ระบุว่า  เนื่องจากได้มีการพัฒนาการขนส่งทางน้ำตามแม่น้ำต่างๆ ภายในประเทศโดยมีวัตถุประสงค์จะใช้เรือลำเลียงและเรือบรรทุกสินค้า แต่โดยเหตุที่ระดับความลึกของน้ำในแม่น้ำลำคลองทั้งในฤดูน้ำแล้ง และฤดูน้ำหลากจะมีความแตกต่างไปตามฤดูกาล จึงเป็นเหตุให้เรือลำเลียงและเรือบรรทุกสินค้า ซึ่งบรรทุกสินค้ามากเกินไปเกยตื้นและติดร่องน้ำ ทำให้กีดขวางทางเดินเรือและการสัญจรไปมา เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและการสูญเสียทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องออกระเบียบนี้

ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการกำหนดอัตรากินน้ำลึกของเรือลำเลียงและเรือบรรทุกสินค้า
ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้กับเรือลำเลียงและเรือบรรทุกสินค้าที่เรือมีขนาดความลึกตั้งแต่ 1.50 เมตรขึ้นไป
ข้อ 3. ในระเบียบกรมเจ้าท่านี้

“แม่น้ำลำคลอง” หมายความรวมถึง สระ บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาป ทางเข้าทะเลสาป ร่องน้ำในสันดอนปากแม่น้ำ รวมทั้งบริเวณสันดอน
“ปากระวางสินค้าผนึกน้ำ” หมายความว่า ปากระวางสินค้าที่ใช้ฝาหรือสิ่งปิดอื่นๆ ที่มั่นคงแข็งแรงและกันน้ำเข้าได้
“เรือบรรทุกสินค้า” หมายความว่า เรือที่ไม่มีดาดฟ้าหรือมีไม่ตลอดลำ เดินด้วยกรรเชียง แจว หรือพาย หรือบางทีใช้ใบ และใช้สำหรับบรรทุกสินค้า
“เรือลำเลียง” หมายความว่า เรือที่มิใช่เรือกล และใช้สำหรับลำเลียงหรือขนถ่ายสินค้าจากเรือกำปั่น หรือบรรทุกสินค้าส่งเรือกำปั่น

ข้อ 4. เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ การยื่นขอรับใบอนุญาตใช้เรือครั้งแรก หรือการขอต่ออายุใบอนุญาตใช้เรือ ณ กองทะเบียนเรือ กรมเจ้าท่า ให้เจ้าพนักงานตรวจเรือ กองตรวจเรือเป็นผู้ทำการตรวจเรือ สำหรับเรือที่เจ้าของมีภูมิลำเนา หรือเรือลำนั้นขณะทำการอยู่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค ให้เจ้าพนักงานตรวจเรือ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคนั้นๆ เป็นผู้ทำการตรวจเรือ

ข้อ 5. อัตรากินน้ำลึกให้เขียนไว้ที่แนวหัวเรือ กลางลำ และท้ายเรือ ภายนอกทั้งสองข้างด้วยเลขอาราบิค บอกอัตรากินน้ำลึกเป็นเซนติเมตร ทุกๆ 20 เซนติเมตร โดยนับจากส่วนล่างสุดของกระดูกงู หรือแผ่นเหล็กท้องเรือขึ้นมา ขนาดของเส้นอัตรากินน้ำลึก และตัวเลขอาราบิค ให้เป็นไปตามแบบในผนวกท้ายระเบียบนี้

ข้อ 6. การทำเครื่องหมายอัตรากินน้ำลึก ให้เป็นกน้าที่ของผู้ขอรับใบอนุญาตใช้เรือ สำหรับเรือที่ได้มีใบอนุญาตใช้เรือก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ

ข้อ 7. กำหนดอัตรากินน้ำลึกในการบรรทุกสินค้าของเรือลำเลียง และเรือบรรทุกสินค้าในแต่ละแม่น้ำ และแต่ละช่วงฤดูกาล กรมเจ้าท่าจะออกประกาศเพื่อให้เหมาะสมกับระดับความลึกในแม่น้ำ เป็นครั้งๆ ไปทุกช่วงระยะเวลา 1 เดือน

ข้อ 8. เรือลำเลียงและเรือบรรทุกสินค้าที่วางกระดูกงูหรือต่อขึ้นในวัน หรือหลังวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 ที่มีความยาวตั้งแต่ 24 เมตรขึ้นไป ต้องเขียนเครื่องหมายแนวน้ำบรรทุกตามกฏข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ ว่าด้วยการออกใบสำคัญรับรองแนวน้ำบรรทุกเพิ่มขึ้นด้วย การเขียนเครื่องหมายนี้ให้เป็นหน้าที่ของผู้ขอรับใบอนุญาตใช้เรือครั้งแรก หรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตใช้เรือสำหรับเรือที่ได้มีใบอนุญาตใช้เรือก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ขนาดของเครื่องหมายแนวน้ำบรรทุกให้เป็นไปตามแบบในผนวกท้ายระเบียบนี้

ข้อ 9. การกำหนดเขตการเดินเรือลำเลียง และเรือบรรทุกสินค้า
ก.    เรือลำเลียงและเรือบรรทุกสินค้า ที่ไม่มีดาดฟ้าปิด หรือมีปากระวางสินค้าไม่สามารถผนึกน้ำได้ ให้มีเขตการเดินเรือในแม่น้ำลำคลอง สำหรับในแม่น้ำเจ้าพระยาห้ามิให้ใช้เกินเขตท่าเรือกรุงเทพฯเขตที่ 3 ด้านใต้ลงมานับตั้งแต่หลักกิโลเมตร 0 หน้าป้อมพระจุลจอมเกล้า ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอเมือง จังกวัดสมุทรปราการ เป็นเส้นลากตรงไปฝั่งแม่น้ำตรงกันข้าม สำหรับในแม่น้ำอื่นๆ ห้ามมิให้ใช้เกินเขตปลายสุดของร่องน้ำในสันดอนปากแม่น้ำนั้นๆ รวมทั้งบริเวณสันดอน
ข.    เรือลำลียง และเรือบรรทุกสินค้าที่มีดาดฟ้าปิด และมีปากระวางสินค้าผนึกได้ให้มีเขตการเดินเรือ ดังนี้
1.เรือที่มีขนาดไม่เกิน 30 ตันกรอสส์ มีเขตการเดินเรือเฉพาะจังหวัดตามที่ได้ระบุไว้ในใบอนุญาตใช้เรือ
2. เรือที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสส์ แต่ไม่เกิน 150 ตันกรอสส์ มีเขตการเดินเรือตามที่กำหนดให้ดังต่อไปนี้
เขต 1 ระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดตราด และระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เขต 2 ระหว่างจังหวัดเพชรบุรี กับจังหวัดชุมพร
เขต 3 ระหว่างจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับจังหวัดสุราษฏร์ธานี
เขต 4 ระหว่างจังหวัดชุมพร กับจังหวัดนครศรีธรรมราช
เขต 5 ระหว่างจังหวัดสุราษฏร์ธานี กับจังหวัดสงขลา
เขต 6 ระหว่างจังหวัดนครศรีธรรมราช กับจังหวัดปัตตานี
เขต 7 ระหว่างจังหวัดสงขลา กับจังหวัดนราธิวาส
เขต 8 ระหว่างจังหวัดตรัง จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา กับจังหวัดภูเก็ต
เขต 9 ระหว่างจังหวัดระนอง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา กับจังหวัดกระบี่
เขต 10 ระหว่างจังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง กับจังหวัดสตูล
3. เรือที่มีขนาดตั้งแต่ 150 ตันกรอสส์ขึ้นไป มีเขตการเดินเรือระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดตราด และกรุงเทพฯ กัยจังหวัดนราธิวาส และระหว่างจังหวัดระนอง กับจังหวัดสตูล

ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2529

(ลงชื่อ)    ร.อ.พงษ์ศักดิ์  วงศ์สมุทร
รรก.อธิบดีกรมเจ้าท่า

 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก สวพ.91