คนไทยรู้ดีว่าใครโกง!!! กัดไม่ปล่อย "วัฒนา" โพสต์ซัดรัฐบาล"โกง"...แต่เดี๋ยวนะคนโกงไม่ใช่คนที่หนีคดีอยู่หรือ!!??(รายละเอียด)

คนไทยรู้ดีว่าใครโกง!!! กัดไม่ปล่อย "วัฒนา" โพสต์ซัดรัฐบาล"โกง"...แต่เดี๋ยวนะคนโกงไม่ใช่คนที่หนีคดีอยู่หรือ!!??(รายละเอียด)

วันที่ 9 เมษายน 2560 บนเฟสบุ๊ค Watana Muangsook ได้โพสต์ข้อความระบุว่า 

"โกง"
หัวหน้า คสช. อ้างเหตุผลในการออกคำสั่งที่ 23/2560 เพื่อแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย (1) ตุลาการบางรายใกล้จะพ้นวาระ ซึ่งเป็นความเท็จเพราะคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 40/2559 กำหนดให้ตุลาการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้แม้ครบวาระจนกว่าจะมีการแต่งตั้งบุคคลมาแทนตามรัฐธรรมนูญใหม่ และ (2) การจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญยังต้องใช้เวลาดำเนินการซึ่งก็เป็นความเท็จอีกเช่นกัน เพราะตามมาตรา 267 (5) เป็นเรื่องการออกกฎหมายวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น ข้ออ้างที่ว่าเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปองค์กรตามรัฐธรรมนูญ จึงถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้ตรงตามเงื่อนไขของมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวเท่านั้น เจตนาที่แท้จริงของหัวหน้า คสช. คือต้องการแต่งตั้งบุคคลที่ตัวเองต้องการ จึงต้องรีบออกคำสั่งเพื่อหลีกเลี่ยงคุณสมบัติและวิธีการสรรหาตามมาตรา 200 ของรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติ เพราะหากปล่อยให้รัฐธรรมนูญมีผลบังคับก็อาจจะไม่ได้บุคคลตามวัตถุประสงค์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะแต่งตั้งตามประกาศ คสช. มีวาระดำรงตำแหน่งถึง 7 ปี หรือเท่ากับสองช่วงรัฐบาลที่จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของ คสช. จึงเท่ากับว่าประชาชนถูกหลอกให้ไปออกเสียงประชามติแต่ถูกหัวหน้า คสช. เบียดบังสิทธิของประชาชนไปใช้เพื่อสืบทอดอำนาจเผด็จการ

คสช. ชูประเด็นปราบโกงเป็นนโยบายสำคัญ กระทั่งรัฐธรรมนูญยังโฆษณาว่าเป็นฉบับปราบโกงแต่กลับใช้วิธีการอันฉ้อฉลจนผ่านประชามติ พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงรัฐธรรมนูญด้วยการชิงออกคำสั่งตัดหน้าเพียงวันเดียวด้วยข้ออ้างอันเป็นเท็จ นอกจากจะเป็นการไม่เคารพเจตนารมณ์ของประชาชน ยังถือเป็นการกระทำโดยทุจริต ขัดต่อจริยธรรมและเสียมารยาททางการเมือง จนกลายเป็นเครื่องยืนยันว่า คสช. ต้องการควบคุมประเทศนี้ต่อไปโดยเอาสิทธิของประชาชนมาแต่งตั้งคนของตัวเอง เพื่อเข้าไปทำหน้าที่ในองค์กรอิสระที่ถูกออกแบบให้มีอำนาจควบคุมอำนาจที่มาจากประชาชนและหัวหน้า คสช. ไม่เคยเคารพกฎหมายเพราะมีมาตรา 44 ที่ใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ
วัฒนา เมืองสุข
พรรคเพื่อไทย
9 เมษายน 2560

คนไทยรู้ดีว่าใครโกง!!! กัดไม่ปล่อย "วัฒนา" โพสต์ซัดรัฐบาล"โกง"...แต่เดี๋ยวนะคนโกงไม่ใช่คนที่หนีคดีอยู่หรือ!!??(รายละเอียด)

คนไทยรู้ดีว่าใครโกง!!! กัดไม่ปล่อย "วัฒนา" โพสต์ซัดรัฐบาล"โกง"...แต่เดี๋ยวนะคนโกงไม่ใช่คนที่หนีคดีอยู่หรือ!!??(รายละเอียด)

โดยเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๓/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาความต่อเนื่องของผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ระบุว่า

ตามที่ได้มีคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้งดเว้นการสรรหาและเลือกบุคคล เพื่อดํารงตําแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อรอความชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและคัดเลือกผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวในช่วงระหว่างรอผลการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับที่ผ่านมาได้มีการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาและเลือกกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นการเฉพาะขึ้น เพื่อแก้ไข
ข้อขัดข้องทางกฎหมายให้สามารถดําเนินการต่อไปได้อย่างเหมาะสม นั้น

โดยที่ในปัจจุบันร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับความเห็นชอบในการออกเสียง ประชามติเป็นที่เรียบร้อยแล้วและอยู่ระหว่างรอการประกาศใช้ แต่การจัดทํากฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญเพื่อกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญยังคงต้องใช้ ระยะเวลาดําเนินการอีกระยะหนึ่ง แต่เนื่องจากผู้ดํารงตําแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางรายใกล้จะพ้นวาระการดํารงตําแหน่ง ประกอบกับโดยผลของประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่มีมาก่อนหน้านี้

จะทําให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินต้องพ้นจากตําแหน่งในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งหากไม่มีการเตรียมการและสรรหาผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าวไว้ล่วงหน้าอาจส่งผลกระทบให้องค์กรดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง ทําให้กลไกการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อํานาจ
หรือการทําหน้าที่ของรัฐไม่อาจเป็นไปอย่างเหมาะสมและถูกต้องตามครรลองของกฎหมาย ตลอดจนการดําเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ กรณีจึงมีความจําเป็นต้องกําหนดมาตรการและกลไกรองรับการทําหน้าที่และการสรรหาบุคคลเพื่อดํารงตําแหน่งสําคัญในช่วงเปลี่ยนผ่านในระหว่างรอให้มีการตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปองค์กรตามรัฐธรรมนูญภายหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้
“ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” ให้หมายความรวมถึงประธานศาลรัฐธรรมนูญ
“กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน” ให้หมายความรวมถึงประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๐/๒๕๕๙ เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๘/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙

ข้อ ๓ ให้งดเว้นการสรรหาและการเลือกกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน และกรรมการสิทธิมนุษยชน จนกว่ากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการนั้นซึ่งออกตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่จะมีผลใช้บังคับ หรือจนกว่าจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

ข้อ ๔ เมื่อมีกรณีที่ผู้ดํารงตําแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับพ้นจากตําแหน่ง หรือจะพ้นจากตําแหน่งตามวาระภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดําเนินการคัดเลือกหรือสรรหาบุคคลเพื่อดํารงตําแหน่งดังกล่าวแทนให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตําแหน่งดังกล่าวว่างลง หรือนับแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับแล้วแต่กรณี

ข้อ ๕ การคัดเลือกหรือสรรหาบุคคลให้ดํารงตําแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาจากบุคคลที่มีความรับผิดชอบสูง มีความกล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่ มีพฤติกรรมทางจริยธรรม เป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม ตลอดจนมีทัศนคติที่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลสําเร็จ ซึ่งจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับการปฏิบัติตามหน้าที่และอํานาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนอกจากที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือสรรหาเป็นตุลาการ
ศาลรัฐธรรมนูญต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(๒) มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบห้าปี แต่ไม่ถึงหกสิบแปดปีในวันที่ได้รับการคัดเลือกหรือวันสมัครเข้ารับการสรรหา

(๓) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

(๔) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

(๕) มีสุขภาพที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพข้อ ๖ ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือสรรหาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นหรือเคยเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระใด
(๒) ติดยาเสพติดให้โทษ
(๓) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๔) เป็นเจาของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ
(๕) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๖) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นถึงที่สุดแล้วหรือไม่
(๗) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา

 

 

อ้างอิงข้อมูล เฟสบุ๊ค Watana Muangsook