ดูชัดๆ!?!?เส้นทางการปฏิรูปต่อจากนี้ ช็อตต่อช็อต...ไทม์ไลน์อนาคตของประเทศ (มีคลิป)

 วันนี้ (14 เม.ย.60) ทางรายการทีนิวส์ สด ลึก จริง ได้นำเสนอไทม์ไลน์การเลือกตั้งเบื้องต้น

        วันนี้ (14 เม.ย.60) ทางรายการทีนิวส์ สด ลึก จริง ได้นำเสนอไทม์ไลน์การเลือกตั้งเบื้องต้น ซึ่งการเลือกตั้งชัดเจนขึ้นหลังรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 6 เมษายน หลังจากคลุมเครือ ขาดความชัดเจนมาโดยตลอดนับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557

ดูชัดๆ!?!?เส้นทางการปฏิรูปต่อจากนี้ ช็อตต่อช็อต...ไทม์ไลน์อนาคตของประเทศ (มีคลิป) ดูชัดๆ!?!?เส้นทางการปฏิรูปต่อจากนี้ ช็อตต่อช็อต...ไทม์ไลน์อนาคตของประเทศ (มีคลิป)

 

ปฏิทินสู่การเลือกตั้งหลังจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ประกอบด้วย  
 1.กรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายลูก 10 ฉบับ ในเวลา 240 วัน หรือ 8 เดือน ทั้งนี้ กรธ.สามารถทยอยส่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) พิจารณาทีละฉบับได้
 
2.สนช.พิจารณา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายลูก ทั้ง 10 ฉบับ แล้วเสร็จภายใน 60 วัน หรือ 2 เดือน 
        (2.1) เมื่อ สนช.พิจารณาแล้ว ก็ส่งกฎหมายลูกให้ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องพิจารณา หากไม่เห็นด้วย ต้องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ขึ้นมาพิจารณาเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน ก่อนส่งนายกฯทูลเกล้าฯ
 
3.เข้าสู่ขั้นตอนการโปรดเกล้าฯและประกาศใช้ภายใน 120 วัน หรือ 4 เดือน  

4.เข้าสู่การจัดการเลือกตั้ง 150 วัน หรือ 5 เดือนเมื่อนำ 8 เดือน มากบวกกับ 2 เดือน 4 เดือน และ 5 เดือน ผลลับคือ มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 19 เดือนนับจากนี้   

ดูชัดๆ!?!?เส้นทางการปฏิรูปต่อจากนี้ ช็อตต่อช็อต...ไทม์ไลน์อนาคตของประเทศ (มีคลิป)

ดูชัดๆ!?!?เส้นทางการปฏิรูปต่อจากนี้ ช็อตต่อช็อต...ไทม์ไลน์อนาคตของประเทศ (มีคลิป)

        ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้คงจะเป็นมาตรา 77 ซึ่งถือว่าเป็นนิมิตรหมายใหม่ของประเทศไทยในการออกกฎหมายใดๆต่อไปนี้
         มาตรา ๗๗ รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จําเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจําเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดํารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน และดําเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง
ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนํามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอนเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่กําหนดโดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
         รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการในกฎหมายเฉพาะกรณีที่จําเป็น พึงกําหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการดําเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายให้ชัดเจน และพึงกําหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง

ดูชัดๆ!?!?เส้นทางการปฏิรูปต่อจากนี้ ช็อตต่อช็อต...ไทม์ไลน์อนาคตของประเทศ (มีคลิป)

ดูชัดๆ!?!?เส้นทางการปฏิรูปต่อจากนี้ ช็อตต่อช็อต...ไทม์ไลน์อนาคตของประเทศ (มีคลิป)

 

ชมคลิป