กราบสาธุ !!! "สมเด็จพระสังฆราช"ประทานพระโอวาทแก่ชาวไทยเนื่องใน"วันวิสาขบูชา"

กราบสาธุ !!! "สมเด็จพระสังฆราช"ประทานพระโอวาทแก่ชาวไทยเนื่องใน"วันวิสาขบูชา"

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระโอวาทแก่ปวงชนชาวไทยเนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปีพุทธศักราช 2560 โดยให้ชาวไทยตะหนักถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชาว่า นอกจากจะให้สำนึกในพระพุทธคุณแล้ว วันวิสาขบูชายังชวนให้ตระหนักว่าความเกิดและความดับนั้น มีขึ้นได้ทุกขณะ และเป็นของควบคู่กัน 

ถ้าท่านทั้งหลายตั้งมั่นอยู่ในพระสัทธรรมของสมเด็จพระบรมศาสดาเมื่อใด ความผาสุกทุกประการย่อมเกิดผลขึ้น

รายละเอียดตอนหนึ่งของพระโอวาส 

คุณค่าของวันวิสาขบูชานอกจากเตือนให้สำนึกในพระพุทธคุณ ยังชวนให้เกิดความสลดสังเวชว่า ความเกิดและความดับนั้นมีขึ้นทุกขณะและเป็นของคู่กัน แม้ในความเกิดพระรูปพระโฉมของพระศาสดา ก็ยังมีความดับไปตามกฎสามัญ ความระลึกชอบได้เช่นนี้ ย่อมสามารถโน้มน้าวพุทธบริษัทผู้เกิดมาแล้วบนโลกนี้ให้เพียรเจริญรอยตามบนอริยมรรค จนสู่จุดหมายที่เหนือความเกิดและดับ ด้วยการละความหลงจับยึดในสิ่งมายาทั้งปวง คลายความมัวเมายึดถือตนลง เว้นวางการแบ่งเขาแบ่งเรา อันจะช่วยยุติความเบียดเบียน ก้าวร้าว บาดหมาง และชิงชังกัน เมื่อสมาชิกในสังคมใดทำได้เช่นนั้น ความเมตตากรุณาอย่างยุติธรรมย่อมบังเกิด สรรพชีวิตในสังคมนั้นย่อมอิงอาศัยกันได้ อย่างปราศจากเวรภัย สันติสุขที่แท้ย่อมปรากฏให้ประจักษ์เห็นจริง ไม่ใช่เพียงแค่อุดมการณ์

กราบสาธุ !!! "สมเด็จพระสังฆราช"ประทานพระโอวาทแก่ชาวไทยเนื่องใน"วันวิสาขบูชา"

 

โดยวันวิสาขบูชา 2560 ตรงกับวันพุธที่ 10 พฤษภาคม คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้น ๆ

วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่

1.เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
2.เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
3.เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน