กรธ.-ศาลยุติธรรม เห็นต่าง!?!? กฎหมายลูกปมพิจารณาคดีลับหลัง   ถามกลับประชาชนมีความเห็นอย่างไร? (มีคลิป)

รายการทีนิวส์สด ลึก จริง วันนี้ (9พ.ค.) นำเสนอประเด็นที่ กรธ.-ศาลยุติธรรม เห็นต่างเรื่องกฎหมายลูกปมพิจารณาคดีลับหลัง

           ที่รัฐสภา วันที่ 8 พฤษภาคม มีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.ทำหน้าที่เป็นประธาน ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบ (พ.ร.บ.) รัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมีการเชิญตัวแทนศาลยุติธรรมจำนวน 6 คน นำโดยนายอธิคม อินทุภูติ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม มาร่วมหารือแสดงความคิดเห็นถึงร่าง พ.ร.ป.ฉบับดังกล่าว ที่ยังมีความเห็นไม่ตรงกันในประเด็นสำคัญ ที่ กรธ.และอนุกรรมการยกร่างพ.ร.ป.ดังกล่าวยกร่างมาและเตรียมส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาในเดือนนี้ โดยใช้เวลาในการหารือนานพอสมควร

 

 

กรธ.-ศาลยุติธรรม เห็นต่าง!?!? กฎหมายลูกปมพิจารณาคดีลับหลัง   ถามกลับประชาชนมีความเห็นอย่างไร? (มีคลิป)

 

 

    แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ตัวแทนศาลยุติธรรมได้ยืนยันหลักการเดิมคือ ต้องการให้นำตัวจำเลยมาฟ้องศาล เพราะหากพิจารณาคดีโดยไม่มีจำเลยจะกระทบต่อความสง่างามของศาลยุติธรรม และกระทบต่อหลักยุติธรรมสากล
ขณะที่ กรธ.จะนำข้อเสนอของตัวแทนศาลไปพิจารณาต่อไป พร้อมยืนยันแนวทางเดิมคือ ต้องการหาวิธีป้องกันไม่ให้นักการเมืองหนีคดีและไม่ให้คดีความต่างๆ เกิดปัญหาคาราคาซังเช่นในอดีตที่ผ่านมา โดยหนึ่งในแนวทางก็คือ เมื่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และอัยการสูงสุดเห็นว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอ และหากศาลรับฟ้องก็สามารถดำเนินคดีลับหลัง 

    ซึ่ง กรธ.จะเปิดโอกาสให้จำเลยสามารถตั้งทนายขึ้นสู้ หรือหากจำเลยเห็นว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรมเมื่อถูกพิพากษาแล้ว ก็สามารถรื้อฟื้นคดีและอุทธรณ์คดีได้ ซึ่ง กมธ.ยืนยันว่าจะให้ความเป็นธรรมแก่นักการเมือง และไม่ให้ต่างชาติมองว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนอย่างแน่นอน

      ทั้งนี้ด้านนายชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรธ.กล่าวว่า กรธ.ยันยืนหลักการเดิม คือต้องการหาวิธีให้คนโกงเกรงกลัว มิใช่เมื่อทำผิดแล้วหนีไป 20 ปีแล้วกลับมาพยานหลักฐานต่างๆ ก็หายไปหมด สุดท้ายจำเลยก็หลุดคดี โดยแนวทางเบื้องต้นเพื่อแก้ปัญหา เช่นเมื่อศาลรับฟ้องคดีแล้วก็ให้พักคดีเอาไว้ก่อน หรือไม่ให้คดีหมดอายุความในกรณีที่จำเลยหนีคดี เป็นต้น

    ขณะที่นายอุดม รัฐอมฤต กรธ.ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาหลักการร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ... กล่าวว่ายังมีประเด็นที่ยังเห็นไม่ตรงกันระหว่างฝ่ายยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวกับศาลอยู่บางประเด็น เช่นเรื่องการยื่นฟ้อง ที่ศาลเห็นว่าในคดีอาญา หากโจทก์คืออัยการไม่สามารถนำตัวผู้ถูกกล่าวหามาฟ้องคดีต่อศาลได้ ศาลก็จะไม่รับฟ้อง แต่ กรธ.เห็นว่าการที่นักการเมืองถูกกล่าวหา จนถูกสั่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้นเรื่องไม่ได้มาจากศาล แต่มีกระบวนการมาตั้งแต่ชั้น ป.ป.ช.มีการแสวงหาข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน ดังนั้นเรื่องที่ไปยื่นฟ้องต่อศาลจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีการไต่สวนมาตั้งแต่ชั้นองค์กรอิสระคือ ป.ป.ช.จนส่งไปที่อัยการ

กรธ.-ศาลยุติธรรม เห็นต่าง!?!? กฎหมายลูกปมพิจารณาคดีลับหลัง   ถามกลับประชาชนมีความเห็นอย่างไร? (มีคลิป)

 

 

กรธ.-ศาลยุติธรรม เห็นต่าง!?!? กฎหมายลูกปมพิจารณาคดีลับหลัง   ถามกลับประชาชนมีความเห็นอย่างไร? (มีคลิป)

 

กรธ.-ศาลยุติธรรม เห็นต่าง!?!? กฎหมายลูกปมพิจารณาคดีลับหลัง   ถามกลับประชาชนมีความเห็นอย่างไร? (มีคลิป)

กรธ.-ศาลยุติธรรม เห็นต่าง!?!? กฎหมายลูกปมพิจารณาคดีลับหลัง   ถามกลับประชาชนมีความเห็นอย่างไร? (มีคลิป)