รายการทีนิวส์สด ลึก จริงวันนี้(22 พ.ค.60) นำเสนอกรณีนายชาญชัย" เคลียร์ ปม สปท.ยกเลิกสัญญา อนาจักร King Power

         กรณี “คิงเพาเวอร์” เป็นอีกหนึ่งประเด็นปัญหาที่สังคมกำลังจับตาเนื่องเพราะผลการศึกษาสัญญาอนุญาตประกอบกิจการร้านค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) และสัญญาบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ของกลุ่มคิงเพาเวอร์ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) สรุปชัดว่าควรยกเลิกสัญญากับกลุ่มบริษัท คิงเพาเวอร์ฯ

        อย่างไรก็ดี รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศนโยบายเรื่องการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันไว้ชัดเจน และเห็นว่ากรณีของสัมปทานที่เกิดขึ้นอาจมีปัญหาในเรื่องความโปร่งใส จึงตอบรับที่จะจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยหลังจากที่ได้รับผลการศึกษาเบื้องต้นของ สปท. นายกรัฐมนตรีก็ได้ให้สัมภาษณ์ชัดเจนว่าเมื่อ สปท.เสนอมาก็ต้องรับไว้พิจารณา เเต่จะทำอย่างไรต่อไปนั้นต้องดูข้อกฎหมายเเละหลักการให้ชัดเจน เพราะต้องดูเรื่องการใช้กฎหมายทั้งเรื่องของสัญญาเเละเรื่องอื่น ๆ


        ทั้งนี้ นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ รองประธานคณะอนุกรรมาธิการวิสามัญด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ระบุถึงผลทางกฎหมายต่อกรณีของคิงเพาเวอร์ว่า เนื่องจาก คิงเพาเวอร์ ซึ่งได้สัมปทานจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) ให้เข้าบริหารร้านค้าปลอดภาษี และบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ในท่าอากาศยานถึง 5 แห่ง คือท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนรวมเกินกว่า 1,000 พันล้านบาท จึงต้องผ่านกระบวนการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ร่วมทุน พ.ศ. 2535 แต่บริษัท คิงเพาเวอร์ จงใจทำผิด พ.ร.บ.ร่วมทุน โดยแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จว่ามูลค่าโครงการต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท จึงถือว่าสัญญาเป็นโมฆะตั้งแต่ต้น ดังนั้นรัฐบาลสามารถยกเลิกสัญญากับบริษัท คิงเพาเวอร์ ได้ทันที โดยที่คิงเพาเวอร์ไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายใด ๆ ได้

   ในทางกลับกันรัฐสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้จาก คิงพาวเวอร์ได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีการดำเนินการที่ไม่โปร่งใสทั้งในส่วนของ คิงเพาเวอร์ และ ทอท. อันเป็นเหตุให้รัฐสูญเสียรายได้ถึง 40,000 ล้านบาท ประกอบด้วย
       
        กรณีแรกคือ เรื่องการติดตั้ง POS โดยตลอดระยะเวลา 9 ปีนับแต่ให้เริ่มดำเนินการร้านค้าปลอดภาษี คิงเพาเวอร์ ไม่ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์และระบบบันทึกยอดขาย (Point Of Sale : POS) ซึ่งจะเชื่อมต่อข้อมูลการซื้อขายระหว่าง ทอท. กับบริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด และบริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด ถือเป็นสาระสำคัญของสัญญา โดย ทอท. คิดส่วนแบ่งจากยอดรายได้จากข้อมูลของบริษัทฯ เพียงฝ่ายเดียว จึงอาจจะทำให้ ทอท.ได้รับส่วนแบ่งไม่ครบถ้วนตามสัญญา ซึ่งส่วนนี้ทำให้ ทอท.สูญเสียรายได้ไปถึง 27,000 ล้านบาท
       
         กรณีที่ 2 คือ ที่ ทอท.มีมติลดรายได้ที่คิงเพาเวอร์ ต้องจ่ายให้รัฐตั้งแต่ปี 2555-2558 อีกปีละ 1% ส่วนในปี 2559 ลดให้ถึง 2% โดยอ้างเหตุผลที่คิงเพาเวอร์ร้องเรียนให้ ทอท. มีมาตรการเยียวยาเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบินของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทำให้บริษัทต้องสูญเสียรายได้จากยอดขายและจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการสนามบินลดลง ซึ่งการเยียวยาดังกล่าวทำให้รัฐสูญเสียรายได้ไปเกือบ 10,000 ล้านบาท และถือว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนอย่างไม่สมเหตุสมผล โดยขณะนี้ สตง.อยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐานและตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องที่ดำเนินการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนอีกด้วย
       
        กรณีที่ 3 สูญเสียรายได้จากการลักลอบนำสินค้าปลอดภาษีไปขายนอกพื้นที่ดิวตี้ฟรีของท่าอากาศยาน ซึ่งในส่วนนี้ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้

ตรวจสอบ พบมีเลศนัย!?!? "ชาญชัย" เคลียร์ชัด ปม สปท.ยกเลิกสัญญา อนาจักร King Power (มีคลิป)

ตรวจสอบ พบมีเลศนัย!?!? "ชาญชัย" เคลียร์ชัด ปม สปท.ยกเลิกสัญญา อนาจักร King Power (มีคลิป)

ตรวจสอบ พบมีเลศนัย!?!? "ชาญชัย" เคลียร์ชัด ปม สปท.ยกเลิกสัญญา อนาจักร King Power (มีคลิป)

ตรวจสอบ พบมีเลศนัย!?!? "ชาญชัย" เคลียร์ชัด ปม สปท.ยกเลิกสัญญา อนาจักร King Power (มีคลิป)

ตรวจสอบ พบมีเลศนัย!?!? "ชาญชัย" เคลียร์ชัด ปม สปท.ยกเลิกสัญญา อนาจักร King Power (มีคลิป)