อัศจรรย์ !! 12 ประตูพระบรมมหาราชวัง อ่านชื่อปกติว่าไพเราะ อ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า

อัศจรรย์ !! 12 ประตูพระบรมมหาราชวัง อ่านชื่อปกติว่าไพเราะ อ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า

         เกร็ดความรู้ที่ประชาชน พสกนิกรชาวไทย ซึ่งเดินทางไปร่วม พระราชพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและถวายเป็นพระราชกุศล ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง สามารถภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ อีกประการหนึ่งก็คือ  ชื่อของประตูชั้นนอก  ซึ่งอยู่ตามแนวกำแพงพระบรมมหาราชวัง 12 ประตูใหญ่นั้น นอกจากจะมีชื่อคล้องจองกันทั้ง 12 ประตู แล้ว เวลาอ่านย้อนจากประตูสุดท้ายมากประตูแรก และสลับอ่านชื่อจากหลังมาหน้า ก็ยิ่งมีความไพเราะเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งกว่า โดย เรียงลำดับดังนี้ 

1. ประตูวิมานเทเวศร์ 
2. ประตูวิเศษไชยศรี 
3. ประตูมณีนพรัตน์  
4. ประตูสวัสดิโสภา  
5. ประตูเทวาพิทักษ์ 
6. ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์  
7. ประตูวิจิตรบรรจง 
8. ประตูอนงคารักษ์  
9. ประตูพิทักษ์บวร 
10. ประตูสุนทรทิศา   
11. ประตูเทวาภิรมย์   
12. ประตูอุดมสุดารักษ์  

และเมื่ออ่านหลังย้อนขึ้น โดยอ่านสลับชื่อหน้าหลัง เรียงลำดับดังนี้ 

12. สุดารักษ์-อุดม
11.ภิรมย์-เทวา
10.ทิศา-สุนทร
9.บวร-พิทักษ์
8.คารักษ์-อนง
7.บรรจง-วิจิตร
6.ไชยสิทธิ์-ศักดิ์
5.พิทักษ์-เทวา
4.โสภา-สวัสดิ
3.นพรัตน์-มณี
2.ไชยศรี-วิเศษ
1.เทเวศร์-วิมาน

ทั้งนี้หากต้องการชมสถานที่จริงเพื่อซึมซับความงดงามของแต่ละประตู สามารถดูรายละเอียดได้ดังนี้

อัศจรรย์ !! 12 ประตูพระบรมมหาราชวัง อ่านชื่อปกติว่าไพเราะ อ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า

1. ประตูวิมานเทเวศร์ อยู่ตรงกันข้ามกับมหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นประตูสำคัญในรัชสมัยนั้น เพราะเป็นทางอัญเชิญพระราชสาสน์จากประเทศต่าง ๆ แห่เข้ามาทางประตูวิมานเทเวศร์ ผ่านหน้าศาลาลูกขุนในเลี้ยวเข้าประตูพิมานไชยศรีไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย

อัศจรรย์ !! 12 ประตูพระบรมมหาราชวัง อ่านชื่อปกติว่าไพเราะ อ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า

2. ประตูวิเศษไชยศรี เป็นประตูสำคัญเพราะเป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระมหามนเทียร ปัจจุบันประตูวิเศษไชยศรีเป็นประตูทางเข้าออกพระบรมมหาราชวังที่สำคัญที่สุด

อัศจรรย์ !! 12 ประตูพระบรมมหาราชวัง อ่านชื่อปกติว่าไพเราะ อ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า

3. ประตูมณีนพรัตน์ เปิดใช้เมื่อมีการเชิญพระบรมศพออกมาตั้งที่พระเมรุมาศท้องสนามหลวง ใช้เป็นประตูฉนวนให้ฝ่ายในออกไปงานพระเมรุ และรื้อฉนวนออกเมื่อเสร็จงานพร้อมทั้งปิดประตูนี้ด้วย ประตูนี้จึงปิดตลอดเวลา (มีชื่อสามัญว่า ประตูฉนวนวัดพระแก้ว)

อัศจรรย์ !! 12 ประตูพระบรมมหาราชวัง อ่านชื่อปกติว่าไพเราะ อ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า

4. ประตูสวัสดิโสภา  ตรงข้ามกับกระทรวงกลาโหม เป็นประตูเชื่อมไปวัดพระแก้ว (มีชื่อสามัญว่า ประตูทอง )

อัศจรรย์ !! 12 ประตูพระบรมมหาราชวัง อ่านชื่อปกติว่าไพเราะ อ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า

5. ประตูเทวาพิทักษ์  ตรงกับถนนสราญรมย์

อัศจรรย์ !! 12 ประตูพระบรมมหาราชวัง อ่านชื่อปกติว่าไพเราะ อ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า

6. ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ ตรงข้ามกับวังสราญรมย์

อัศจรรย์ !! 12 ประตูพระบรมมหาราชวัง อ่านชื่อปกติว่าไพเราะ อ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า

7. ประตูวิจิตรบรรจง  อยู่ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพนฯ (มีชื่อสามัญว่า ประตูฉนวนชั้นนอกออกไปวัดโพธิ์)

อัศจรรย์ !! 12 ประตูพระบรมมหาราชวัง อ่านชื่อปกติว่าไพเราะ อ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า

8. ประตูอนงคารักษ์  มีชื่อสามัญว่า ประตูผีชั้นนอก ถัดเข้ามาด้านในเป็น ประตูกัลยาวดี มีชื่อสามัญว่า ประตูผีชั้นใน

อัศจรรย์ !! 12 ประตูพระบรมมหาราชวัง อ่านชื่อปกติว่าไพเราะ อ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า

9. ประตูพิทักษ์บวร อยู่ทางด้านทิศใต้ ตรงกับถนนมหาราช มีชื่อสามัญว่า ประตูแดงท้ายสนม เพราะทาสีแดง ตั้งอยู่ริมตลาดชื่อท้ายสนม

อัศจรรย์ !! 12 ประตูพระบรมมหาราชวัง อ่านชื่อปกติว่าไพเราะ อ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า

10. ประตูสุนทรทิศา อยู่ทางด้านทิศเหนือ ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประตูด้านสกัดทางเหนือ

อัศจรรย์ !! 12 ประตูพระบรมมหาราชวัง อ่านชื่อปกติว่าไพเราะ อ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า

11. ประตูเทวาภิรมย์ อยู่ทางด้านทิศตะวันตก มีชื่อสามัญว่า ประตูท่าขุนนางหน้าโรงทาน

อัศจรรย์ !! 12 ประตูพระบรมมหาราชวัง อ่านชื่อปกติว่าไพเราะ อ่านย้อนหลังยิ่งหยดย้อยกว่า

12. ประตูอุดมสุดารักษ์ อยู่ทางด้านทิศตะวันตก เป็นประตูฉนวนออกทางตรงพระที่นั่งที่ท่าราชวรดิษ