ปรบมือดัง ๆ !! ชาวเมืองเลย ร่วมด้วยช่วยกัน แบก รถแทรกเตอร์ ขึ้นภูกระดึง เพื่อซ่อมสร้างถนน (ภาพ)

โลกออนไลน์ ได้แชร์ภาพชาวเมืองเลย ได้ช่วยกันแบกรถแทรกเตอร์ ที่ได้มีการถอดชิ้นส่วนต่าง ๆ ออก เพื่อนำขึ้นสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

โลกออนไลน์ ได้แชร์ภาพชาวเมืองเลย ได้ช่วยกันแบกรถแทรกเตอร์ ที่ได้มีการถอดชิ้นส่วนต่าง ๆ ออก เพื่อนำขึ้นสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เพื่อที่จะใช้ในการซ่อมแซม และก่อสร้างถนนบนภูกระดึงให้อยู่ในสภาพที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยว หลังจากที่เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมอีกครั้ง ในวันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป

เนื่องจากในช่วงเวลานี้ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จะทำการปิดพื้นที่ งดรับนักท่องเที่ยว เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับคืนสู่ความสวยงามอีกครั้ง และเป็นช่วงฤดูฝน ที่ไม่เหมาะสำหรับเดินป่า ปีนเขาขึ้นไปพักแรมอีกด้วย

โดยปกติแล้วอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จะทำการปิดฤดูกาลท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึง วันที่ 30 กันยายน ของทุกปี และ เปิดให้เที่ยวได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31
พฤษภาคม ของทุกปีนั้นเอง


 

ปรบมือดัง ๆ !! ชาวเมืองเลย ร่วมด้วยช่วยกัน แบก รถแทรกเตอร์ ขึ้นภูกระดึง เพื่อซ่อมสร้างถนน (ภาพ)

ปรบมือดัง ๆ !! ชาวเมืองเลย ร่วมด้วยช่วยกัน แบก รถแทรกเตอร์ ขึ้นภูกระดึง เพื่อซ่อมสร้างถนน (ภาพ)

ปรบมือดัง ๆ !! ชาวเมืองเลย ร่วมด้วยช่วยกัน แบก รถแทรกเตอร์ ขึ้นภูกระดึง เพื่อซ่อมสร้างถนน (ภาพ)

ปรบมือดัง ๆ !! ชาวเมืองเลย ร่วมด้วยช่วยกัน แบก รถแทรกเตอร์ ขึ้นภูกระดึง เพื่อซ่อมสร้างถนน (ภาพ)

ปรบมือดัง ๆ !! ชาวเมืองเลย ร่วมด้วยช่วยกัน แบก รถแทรกเตอร์ ขึ้นภูกระดึง เพื่อซ่อมสร้างถนน (ภาพ)

ปรบมือดัง ๆ !! ชาวเมืองเลย ร่วมด้วยช่วยกัน แบก รถแทรกเตอร์ ขึ้นภูกระดึง เพื่อซ่อมสร้างถนน (ภาพ)

ปรบมือดัง ๆ !! ชาวเมืองเลย ร่วมด้วยช่วยกัน แบก รถแทรกเตอร์ ขึ้นภูกระดึง เพื่อซ่อมสร้างถนน (ภาพ)

ปรบมือดัง ๆ !! ชาวเมืองเลย ร่วมด้วยช่วยกัน แบก รถแทรกเตอร์ ขึ้นภูกระดึง เพื่อซ่อมสร้างถนน (ภาพ)

ปรบมือดัง ๆ !! ชาวเมืองเลย ร่วมด้วยช่วยกัน แบก รถแทรกเตอร์ ขึ้นภูกระดึง เพื่อซ่อมสร้างถนน (ภาพ)

อุทยานแห่งชาติภูกระดึงได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2505 ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 348.13 ตารางกิโลเมตร (217,576.25 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึงประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่)
ภูกระดึงมีระดับความสูงอยู่ระหว่าง 400 – 1,200 เมตร จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตร สภาพทั่วไปของภูกระดึงประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด พันธุ์สัตว์ป่านานาพันธุ์ หน้าผา ทุ่งหญ้า ลำธาร และน้ำตก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพองซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญสายหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ด้วยความสูง บรรยากาศ และสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดปีบนยอดภูกระดึง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิอาจลดต่ำจนถึง 0 องศาเซลเซียส จึงเป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวปรารถนาที่หวังจะเป็นผู้พิชิตยอดภูกระดึงสักครั้งหนึ่งในชีวิต พุธ

นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเข้าไปท่องเที่ยวและพักแรมบนยอดภูกระดึง ขอให้ติดต่อ สอบถาม หรือสำรองการเข้าไปใช้บริการล่วงหน้า ทั้งที่พักประเภทเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติและพื้นที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเองตามแผนผังจุดพักแรม ก่อนเดินทาง
ได้โดยตรง ณ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง โทรศัพท์หมายเลข 0-4281-0833 และหมายเลข 0-4281-0834 (ในเวลาราชการ)

 

ขนาดพื้นที่

217576.25 ไร่

 

หน่วยงานในพื้นที่

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.1 (วังกวาง)

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.2 (อีเลิศ)

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.3 (นาน้อย)

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.4 (พองหนีบ)

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.5 (หนองผักบุ้ง)

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ลย.6 (ภูขี้ไก่)



สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูกระดึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขาอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 400-1,200 เมตร มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูปใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ บริเวณคอกเมย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,316 เมตร สภาพพื้นที่ราบบนยอดภูกระดึงมีส่วนสูงอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ค่อยๆ ลาดเทลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ลำธารสายต่างๆ ที่เกิดจากแหล่งน้ำบนภูเขาไหลไปรวมกันทางด้านนี้ เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ในจังหวัดขอนแก่น

 

ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี

ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้

ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี

 

 

 

สังคมพืชของภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่ง มีทั้งป่าผลัดใบ และป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงต่างๆ จำแนกออกได้เป็น

ป่าเต็งรัง พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก

ป่าเบญจพรรณ พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูงประมาณ 950 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม ตะแบกเปลือกบาง หว้า มะม่วงป่า สัตตบรรณ มะหาด คอแลน เชียด ฯลฯ พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา เช่น สร้อยอินทนิล กระทงลาย เถามวกขาว เล็บมือนาง กระไดลิง ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น ข่าคม ก้ามกุ้ง ฯลฯ หวายและเฟินหลายชนิด

ป่าดิบเขา พบตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า พญาไม้ ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อหมู ส้านเขา รัก เหมือดคนดง เฉียงพร้านางแอ พะวา เดื่อหูกวาง ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่ม เช่น กุหลาบแดง มือพระนารายณ์ ฮอมคำ จ๊าฮ่อม ฯลฯ ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูงขึ้นห่างๆ ได้แก่ ค้อดอย ไม้เถา เช่น กระจับเขา เครือเขาน้ำ แก้มขาว หนามไข่ปู ใบก้นปิด ย่านหูเสือ เป็นต้น

ป่าสนเขา พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย มะเขื่อเถื่อน รัก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย สนทราย ส้มแปะ กุหลาบขาว เม้าแดง พวงตุ้มหู นางคำ ฯลฯ ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคน ประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ออกเป็นกอหนาแน่น พืชล้มลุก เช่น ดาวเรืองภู ว่านคางคก ต่างหูขาว เนียมดอกธูป แววมยุรา หญ้าข้าวก่ำขาว โสภา เทียนภู เปราะภู ดอกหรีด ขนนกยูง หญ้าเหลี่ยม น้ำเต้าพระฤาษี กูดเกี๊ยะ เป็นต้น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะ มอสจำพวกข้าวตอกฤาษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำ

ภูกระดึง ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิดที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่าง กระรอกหลากสี กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน อีเห็น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย นกขมิ้นดง ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเก่า งูเขียวหางไหม้ อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ ปาดแคระ และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาว อาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว

 

 

การเดินทาง

รถยนต์
เดินทางโดยรถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง
1) เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า ด่านซ้าย ภูเรือ และอำเภอเมืองเลย เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (เลย-ขอนแก่น) และเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

2) ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา จนถึงจังหวัดขอนแก่นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูผาม่าน และตำบลผานกเค้า เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

3) เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 ผ่านจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ จากนั้นเดินทางเช่นเดียวกับเส้นทางที่ 2


เครื่องบิน
เดินทางโดยเครื่องบิน โดยใช้เที่ยวบิน กรุงเทพฯ-ขอนแก่น กรุงเทพฯ-เลย กรุงเทพฯ-อุดรธานี ของสายการบินต่างๆ ได้ทุกวัน สอบถามข้อมูลเที่ยวบินและสายการบิน โทร. 0-2628-2000, 0-2515-9999, 0-2267-2999 และ 1318


รถไฟ
เดินทางโดยรถไฟ ขึ้นรถไฟที่ที่สถานีรถไฟหัวลำโพงถึงสถานีรถไฟขอนแก่น ต่อรถโดยสารสายขอนแก่น-เลย ถึงอำเภอภูกระดึงแล้วต่อรถสองแถวเข้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึง สอบถามข้อมูลรถไฟ โทร. 0-2225-1300 ต่อ 5201 ,0-2223-0341-3 หรือติดต่อสอบถามโดยตรงที่อุทยานแห่งชาติกระดึง โทร. 0-4281-0833, 0-4281-0834


รถโดยสารประจำทาง
เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) สายกรุงเทพ-เมืองเลย ลงรถที่ผานกเค้า หรือสถานีขนส่งอำเภอภูกระดึง แล้วต่อรถสองแถวเข้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึง