อย่ามัวแต่ดราม่า..ตามกระแส!! 30 บาท ไม่ได้รักษาทุกโรค เรื่องจริงที่คนไทยจำเป็นต้องรู้

สิทธิบัตรทองหรือสิทธิบัตร 30บาท สิทธิเหล่านี้จะมีทั้งส่วนที่คุ้มครองและไม่คุ้มครองค่าใช้จ่ายบริการสาธารณะ

อย่ามัวแต่ดราม่า..ตามกระแส!! 30 บาท ไม่ได้รักษาทุกโรค เรื่องจริงที่คนไทยจำเป็นต้องรู้

จากประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างมากมายเรื่องของการยกเลิกบัตร 30 บาท ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.60 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกมากล่าวถึงการทำประชาพิจารณ์แก้ไขเพิ่มเติมร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และยืนยันว่าไม่ได้การล้มเลิกบัตร 30 บาทแต่อย่างใด ซึ่งสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือที่มักจะถูกเรียกว่า สิทธิบัตรทองหรือสิทธิบัตร 30 บาท เป็นสิทธิของประชาชนคนไทยทุกคนที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และต้องไม่ได้รับสิทธิประกันสุขภาพที่ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของรัฐ ได้แก่ สิทธิตามกฎหมาย ประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ / พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือสิทธิอื่นๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการการเมือง

 

อย่ามัวแต่ดราม่า..ตามกระแส!! 30 บาท ไม่ได้รักษาทุกโรค เรื่องจริงที่คนไทยจำเป็นต้องรู้

สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาต (สปสช.) โดยผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพฯนั้นจะได้รับการคุ้มครองค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ซึ่งในสิทธิเหล่านี้จะมีทั้งส่วนที่คุ้มครองและไม่คุ้มครองค่าใช้จ่าย ส่วนที่คุ้มครองค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข จะมีดังนี้ 1.การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค  2. การตรวจ การวินิจฉัย การรักษา ตั้งแต่โรคทั่วไป เช่น ไข้หวัดจนถึงการรักษาโรคเรื้อรัง โรคเฉพาะทางที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง ไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจ เอดส์ วัณโรค ฯลฯ รวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์  3.การคลอดบุตร ใช้สิทธิได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง 4.บริการทันตกรรม ได้แก่ อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน การให้ฟลูออไรด์ เสริมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคฟันผุ การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม การเคลือบหลุมร่องฟัน ผ่าฟันคุด ใส่เพดานเทียมเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ และการทำฟันปลอมฐานพลาสติก  5.ค่ายาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติและยาที่มีค่าใช้จ่ายสูงตามประกาศของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  6.ค่าอาหารและค่าห้องสามัญระหว่างพักรักษาตัว ณ หน่วยบริการ 7.การจัดการส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างหน่วยบริการ 8.บริการแพทย์แผนไทตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ได้แก่ ยาสมุนไพรหรือยาแผนไทย การนวดเพื่อการรักษาและทับหม้อเกลือฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอด การอบหรือประคบสมุนไพรเพื่อการรักษา และ9.บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ ให้แก่คนพิการ ผู้สูงอายุและผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู เช่น กายภาพบำบัด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด กิจกรรมบำบัด ฟื้นฟูการได้ยิน ฟื้นฟูการมองเห็นและรับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการได้ตามเกณฑ์ที่สปสช.กำหนด

อย่ามัวแต่ดราม่า..ตามกระแส!! 30 บาท ไม่ได้รักษาทุกโรค เรื่องจริงที่คนไทยจำเป็นต้องรู้

สำหรับส่วนที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง ได้แก่ 1.การรักษาภาวะมีบุตรยาก / การผสมเทียม 2.การแปลงเพศ / การกระทำใดๆเพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์  3.การตรวจวินิจฉัยและรักษาใดๆ ที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์  4.การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง 5.การบาดเจ็บจากการประสบภัยจากรถซึ่งอยู่ในความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  เฉพาะส่วนที่บริษัทหรือกองทุนตามกฎหมายนั้นต้องเป็นผู้จ่าย  6.การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยสารเสพติด ยกเว้นบางกรณีตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  7.โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกินกว่า 180 วัน ยกเว้นกรณีมีความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และ8.การปลูกถ่ายอวัยวะยกเว้นบางกรณี ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น การปลูกถ่ายไตเพื่อรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การปลูกถ่ายตับในเด็กที่อายุไม่เกิน 18 ปีที่เป็นโรคท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด ประชาชนสามารถตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาลได้โดยการโทร.1330 กด 2 ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หรือสามารถตรวจสอบผ่านเว็บไซต์สปสช. www.nhso.go.th/peoplesearch/ และหากผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ ซึ่งไม่ใช่เป็นพยาธิสภาพของโรค(สภาพที่ร่างกายไม่สามารถรักษาสภาพสมดุลได้คือมีความผิดปกติทั้งร่างกายและจิตใจ)หรือเหตุแทรกซ้อนของโรค  มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นโดยผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือทายาทฯลฯ สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหาย สำหรับสถานที่ยื่นคำร้องสามารถยื่นได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (ในจังหวัดที่เกิดเหตุ) หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-13  หรือสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน สปสช.โทร 1330 (อ้างอิงจากเว็บไซต์สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) และล่าสุด ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวว่า งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2561 ได้เสนองบประมาณจำนวน 164,675.24 ล้านบาท หรือ 3,374.70 บาทต่อประชากร คำนวณประชากรผู้มีสิทธิ์ 48.797 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2560 จำนวน 12,904.56 ล้านบาท หรือ 224.47 บาทต่อประชากร 
(อ้างอิงจากเว็บไซต์สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)