24 มิถุนายน 2560 ครบ 85 ปี ที่คณะราษฎร ปล้นพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ไทย

เดือนมิถุนายน นี้มีเหตุการณ์ที่ต้องจารึกจดจำเนื่องจากครบรอบ 85 ปีของการที่คณะราษฎร ปล้นพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ไทย ไปเป็นของตนเองและพวกพ้อง

22 มิถุนายน 2015 เพจแฉความลับ โดยเสธ น้ำเงิน ได้เขียนเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงการปกของไทยเอาไว้ ได้อย่างน่าสนใจ ..

 

เดือนมิถุนายน นี้มีเหตุการณ์ที่ต้องจารึกจดจำเนื่องจากครบรอบ 85 ปีของการที่คณะราษฎร ปล้นพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ไทย ไปเป็นของตนเองและพวกพ้อง การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนั้น เป็นความต้องการของคณะราษฎรแค่ 100 กว่าคนเท่านั้น ทหารส่วนใหญ่ไม่ได้เต็มใจ และไม่รู้เรื่องความจริง

พวกเขาล้วนถูกหลอกให้มารวมกัน และประชาชนทั่วไป ไม่มีใครยินยอมพร้อมใจเลยสักคน ในขณะนั้นไม่มีการมีส่วนร่วมของผู้คนภายในสังคมไทย ที่มีจำนวนประชากรราว 12 ล้านเลย ประชาชนไม่มีความรู้ด้วยซ้ำว่าประชาธิปไตยคืออะไร คิดว่าเป็นชื่อของลูกนักการเมืองคนดังด้วยซ้ำ นับเป็นการกลัดกระดุมเม็ดแรกผิดมาจนถึงทุกวันนี้

พ.ศ. 2475 ปลายเดือนเมษายน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกจากกรุงเทพ เสด็จแปรพระราชฐานฤดูร้อน ไปประทับยังวังไกลกังวล ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในการประชุมคณะราษฎร ครั้งสุดท้ายในประเทศไทย

ก่อนที่จะลงมือจริงไม่กี่วัน พ.อ.พระยาทรง ซึ่งเป็นนายทหารบกชั้นผู้ใหญ่ ผู้วางแผนการปฏิวัติทั้งหมด ได้เสนอแผนการออกมา ทางพันตรี หลวงพิบูล (แปลก) ซึ่งถือเป็นนายทหารชั้นผู้น้อยกว่า ได้สอบถามว่า “หากแผนการดังกล่าวไม่สำเร็จ จะมีแผนสำรองประการใดหรือไม่?” ทาง พ.อ.พระยาทรง ไม่ตอบ แต่ได้ย้อนถามกลับไปว่า

“แล้วทางพันตรี หลวงพิบูล (แปลก) มีแผนอะไร?” ซึ่งทั้งคู่ได้มีปากเสียงกัน หลังจากการประชุมจบแล้ว พันตรี หลวงพิบูล (แปลก) ได้ปรารภกับ นายทวี ฝ่ายพลเรือนที่เข้าประชุมด้วยกันว่า “ ตนเองกับ พ.อ.พระยาทรง ไม่อาจอยู่ร่วมโลกกันได้ !!”

วันที่ 23 มิถุนายน 2475 ข่าวของแผนการปฏิวัติดังกล่าว ได้รั่วไหลไปถึงตำรวจ ในช่วงเย็นของวันนั้น อธิบดีตำรวจ ได้โทรศัพท์ถึงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยกราบทูลขออำนาจในการจับกุม และจำคุกทุกคนที่เกี่ยวข้องกับแผนการดังกล่าว พระองค์ดำริว่าผู้ก่อการหลายคน เป็นผู้มีอิทธิพลและมีอำนาจมาก จึงทรงตัดสินพระทัยเลื่อนพระบรมราชโองการออกไปเป็นวันรุ่งขึ้น

การเลื่อนคำสั่งนี้ มีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ก่อการทั้งหลาย ช่วงเย็นวันเดียวกัน หลวงสินธุ ในกองทัพเรือได้เกณฑ์เรือปืนจากอู่เรือ ขึ้นมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านความเคลื่อนไหวของฝ่ายพลเรือน เริ่มกันตั้งแต่เที่ยงคืน เช่น การควบคุมหัวรถจักรรถไฟ การเฝ้าสังเกตการณ์ตามบ้านเจ้านาย และบุคคลสำคัญ เพื่อล็อกไม่ให้ติดต่อสังการใดๆ ได้

และ ร.ท.ประยูร เป็นผู้มีอำนาจสั่งการนายทหารเสนาธิการหนุ่ม พร้อมกลุ่มของ หลวงโกวิทย์ (ควง) ได้สั่งยึดที่ทำการไปรษณีย์และโทรเลขรอบพระนคร และตัดสายโทรศัพท์การสื่อสารทั้งหมด ระหว่างพระบรมวงศานุวงศ์ และสมาชิกฝ่ายบริหารอาวุโสจึงถูกตัดขาด บ้านพักทั้งหมด อยู่ภายใต้การตรวจตรา และเฝ้าระวังโดยสมาชิกคณะราษฎรทั้งพลเรือนและทหาร

และ เมื่อถึงตอนเช้า หลวงสินธุ ในกองทัพเรือ ก็ได้เล็งปืนเรือตรงเข้าใส่พระราชวังบางขุนพรหม ของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และได้เกณฑ์ทหารเรือติดอาวุธ 500 นาย พร้อมที่จะยึดพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งตั้งอยู่ ณ ใจกลางพระนคร และเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต

 

 

 

 

 

 

วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เวลาประมาณ 04.00 น. หลวงประดิษฐ์ (ปรีดี) ลอยเรืออยู่ในคลองวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อรอเวลาแจกใบปลิว “ประกาศคณะราษฎร” แก่ประชาชน ซึ่งหากทำการไม่สำเร็จก็จะนำใบปลิวนั้นทิ้งลงในน้ำทันที เวลาเดียวกัน พระยาพหล ออกจากบ้านไปพร้อมกับ พระประศาสน์ ที่ขับรถมารับ

มุ่งหน้าไปยัง บริเวณทางรถไฟสายเหนือ ตัดกับถนนประดิพัทธ์ เพื่อสมทบกับกลุ่มของ พระยาทรง ใกล้กับพระที่นั่งอนันตสมาคม จากนั้นเดินทางไปกับผู้สมคบคิดจำนวนหนึ่ง เดินทางไปที่กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ที่แยกเกียกกาย เพื่อลวงเอากำลังทหารและยุทโธปกรณ์มาใช้ในการปฏิวัติ ที่นี่เป็นที่เก็บยานยนต์หุ้มเกราะส่วนใหญ่ในกรุงเทพ

เมื่อมาถึง พระยาทรง ได้ออกอุบาย โดยว่ากล่าวตำหนินายทหารผู้รับผิดชอบค่าย ที่กำลังหลับอยู่ โกหกว่า “มีการลุกฮือของชาวจีนเกิดขึ้นในพระนคร และกำลังเปิดประตูค่ายทหาร มีการระดมยิงทหารด้วย” อุบายดังกล่าวเป็นผล เกิดความสับสนและความโกลาหลขึ้น ที่คลังแสงอาวุธภายในกรมทหารม้าฯ นี้

พระยาพหลพล เป็นผู้ใช้คีมตัดเหล็กที่ทางพระประศาสน์ ได้จัดหาไว้ก่อนหน้านั้น ตัดโซ่ที่คล้องประตูคลังแสง เพื่องัดเอานำอาวุธปืนและหีบกระสุนออกมา พระประศาสน์ เข้ายึดรถยานรบ รถยนต์หุ้มเกราะ และรถบรรทุก พร้อมกำลังทหารม้าเป็นผลสำเร็จ จับกุมผู้บัญชาการกรมทหารได้ และนำตัวไปคุมขัง

หลวงพิบูล ได้รับคำสั่งให้เฝ้านักโทษ ยานยนต์หุ้มเกราะ รวมไปถึงรถถังจำนวนหนึ่ง ถูกเกณฑ์ และได้รับคำสั่งให้มุ่งหน้าไปยัง พระที่นั่งอนันตสมาคม ทั้งหมดเคลื่อนกองกำลังไปยัง กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ มี พันเอกพระยาฤทธิ เป็นผู้บังคับการกรม ซึ่งเตรียมการจัดกำลังทหารและอาวุธรออยู่ก่อนแล้ว

เมื่อกองกำลังจากกรมทหารม้า เดินเท้ามาถึง กรมทหารปืนใหญ่ พระยาทรงฯ ออกคำสั่งให้ทหาร จากกรมทหารม้า ขึ้นรถบรรทุกของกรมทหารปืนใหญ่ ซึ่งจอดรออยู่แล้วโดยพลัน กองกำลังผสมของผู้ก่อการฯ ประกอบด้วย ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ ที่มีทั้งกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์หนักเบา มุ่งหน้าสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า

ขณะผ่านกองพันทหารช่าง พระยาพหล เพียงแค่ตะโกนเรียก และกวักมือ ทหารช่างที่กำลังฝึกอยู่หน้ากองพัน ก็กระโดดขึ้นรถตามมาด้วย “โดยทุกคนไม่ทราบวัตถุประสงค์ที่แท้จริงว่าจะไปไหน” ขบวนทหารของกองกำลังของคณะผู้ก่อการฯ นำขบวนด้วย “ไอ้แอ้ด” รถถังขนาดเล็ก จากกรมทหารม้า ตามด้วยรถบรรทุกทหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์

ปิดท้ายด้วยกองพันทหารช่าง ใช้เส้นทางผ่านสะพานแดง ถนนพระราม 5 เลี้ยวหน้าวัดเบญจมบพิตร เข้าถนนศรีอยุธยา มุ่งหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า ทหารในพื้นที่ใกล้เคียงกรุงเทพ ได้เข้าร่วมกับผู้ก่อการด้วย เนื่องจากได้รับคำสั่งหลอกลวงหลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้นแล้วว่า “กำลังจะมีการฝึกซ้อมทางทหารเกิดขึ้น”

และ ”ไม่มีใครทราบเลยว่าพวกตนจะเข้าไปมีส่วนในการปฏิวัติ” ทหารหน่วยอื่นที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ตัดสินใจที่จะไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ใด ๆ โดยการเก็บตัวอยู่ในกรมกอง ทหารราบ และทหารม้า เดินทางมาถึงลานพระราชวังดุสิต หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม

เวลาราว 06.00 น. มีกลุ่มประชาชนเนืองแน่น เฝ้าดูทหารที่มาชุมนุม ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ความสับสนเกิดขึ้นท่ามกลางผู้ที่มาชุมนุมนั้น หลายคนไม่เชื่อว่ามีการลุกฮือของชาวจีนเกิดขึ้นจริง บ้างก็ว่าทหารมาชุมนุมที่จัตุรัสนี้เพื่อการฝึกซ้อมเท่านั้น ต่างไม่มีใครรู้ความจริงเลยสักคน ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า

กองพันพาหนะทหารเรือ นำโดย นาวาตรี หลวงสินธุ นอกจากนี้ยังมีกำลังจากนักเรียนโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยนายพันโท พระเหี้ยม ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก กำกับมา ส่วนกองพันทหารราบที่ 11 ของ พันตรีหลวงวีระ ซึ่งกำลังฝึกทหารอยู่ที่ท้องสนามหลวงนั้น ก็ “ถูกหลอก” ให้ตามพระประศาสน์ฯ มา

ภายหลังกองกำลังของคณะผู้ก่อการฯ มาชุมนุมพร้อมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า มีกำลังทหารและอาวุธพร้อมรบ เป็นที่เรียบร้อย “ ทหารทั้งปวง ที่มาชุมนุมอยู่ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าในวันนั้น ต่างมาโดยไม่รู้ว่ากำลังมีการปฏิวัติ เพื่อยึดอำนาจการปกครองจากพระราชาของตนเอง และกำลังทรยศต่อคำสัตย์ปฏิญาณตน”

เวลาราว 07.00 น. พันเอกพระยาพหล จึงได้แสดงตนเป็นหัวหน้าผู้ก่อการคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ปีนขึ้นไปบนยอดรถหุ้มเกราะคันหนึ่ง มีนายทหารของคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ทั้งทหารบก ทหารเรือ กระจายกันคุมเชิงอยู่รอบๆ และอ่านประกาศแถลงการณ์ ยึดอำนาจเสียงสนั่นดังลั่น ซึ่งเป็นแถลงการณ์ภาษาเยอรมัน แต่อ่านเป็นภาษาไทย

“สถาปนารัฐอันมีรัฐธรรมนูญขึ้นในสยาม ขอให้นายทหารที่มิได้เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติอยู่ในความสงบอย่าทำการขัดขวาง และไม่ให้ออกจากลานพระรูปฯ ไปจนกว่าจะได้สั่งให้กลับไป” ผู้ก่อการเปล่งเสียง ตามมาด้วยเหล่าทหาร เพราะความไม่เข้าใจในสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นทั้งหมดจึงคล้อยตาม

ในที่สุดเมื่อได้อ่านคำประกาศสุดสิ้นแล้ว ก็ได้เปล่งเสียงไชโยกึกก้อง แล้วก็นำขบวนเข้างัดพระทวารด้านหน้าของพระที่นั่งอนันตสมาคม หมุดคณะราษฎร ยังฝังอยู่บนลานพระบรมรูปทรงม้า ฝั่งสนามเสือป่า มาจนถึงปัจจุบัน ช่วงเช้านั้นเอง รถถังสองคันวิ่งเข้ามาปิดประตูทางเข้า - ออก สองประตูของโรงเรียนสวนกุหลาบ

ปืนรถถัง หันเข้าสู่โรงเรียน นักเรียนหนีไม่ได้ เพราะมีแค่สองประตู ทหารเข้าไปกวาดต้อนนักเรียนเข้าหอประชุม ควบคุมตัวไว้ เพราะในหมู่นักเรียนมีลูกหลานเชื้อพระวงศ์ ข้าราชการ และลูกหลานสามัญชนโดยทั่วไป..คณะราษฎร เปลี่ยนแปลงการปกครอง แมนมาก..จับเด็กเรียกค่าไถ่ !!

หลังฝ่ายทหารเข้างัดพระทวารด้านหน้าของพระที่นั่งอนันตสมาคม และจับนักเรียนสวนกุหลาบเป็นตัวประกัน เรียกค่าไถ่ก่อการปฏิวัติ พระยาทรงฯ ผู้อำนวยการฝ่ายทหาร ก็มีคำสั่งทันที “พระประศาสน์ฯ ไปจับกรมพระนครสวรรค์ฯ พระยาสีหราชเดโชชัย และพระยาเสนาสงคราม”

พระประศาสน์ จึงไปยังบ้านพักของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต สมาชิกระดับสูงคนอื่น ๆ ในรัฐบาล และพระบรมวงศานุวงศ์ สมเด็จฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เวลานั้นทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีอำนาจเป็นลำดับ 2 ของประเทศ ขณะที่มีการปฏิวัติ ทรงเป็นผู้รักษาพระนคร

นอกจากนั้นยังทรงเป็นประธานอภิรัฐมนตรี เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ และอื่นๆ ส่วน พลโท พระยาสีหราชเดโชชัย เวลานั้นเป็นเสนาธิการทหารบก “เสือร้ายที่สุดของทหาร” และ พลตรี พระยาเสนาสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์

บุคคลทั้งสามมีส่วนชี้เป็นชี้ตายในการปฏิวัติคณะราษฎรครั้งนี้อย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารในพระนคร กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงถูกจับกุมขณะกำลังบรรทม ที่วังบางขุนพรหม พระประศาสน์ฯ โดยใช้เวลาเจรจาต่อรองพอสมควร ก่อนจะควบคุมตัวมาได้ โดยไม่ยอมให้เวลาเปลี่ยนเครื่องทรงชุดบรรทม

จากนั้นก็มุ่งหน้าไปบ้านพระยาสีหราชเดโชชัย ใกล้วัดโพธิ์ โดยไม่มีการขัดขืนต่อสู้แต่อย่างใด พระยาเสนาสงคราม ซึ่งบ้านอยู่ไกล และนอกเส้นทางปฏิบัติงาน ก็ถูกทีมสำรอง ควบคุมตัวได้ แต่ท่านขัดขืนต่อสู้ จึงถูกยิงบาดเจ็บต้องนำตัวส่งโรงพยาบาล เป็นคนเดียวในการก่อการปฏิวัติครั้งนี้ที่ได้รับบาดเจ็บ

ภารกิจจับตัวประกันสำเร็จ พระประศาสน์ฯ ก็รีบนำองค์ประกัน มุ่งหน้าสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า ตามแผน และนำไปกักไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคม กรมพระนครสวรรค์ฯ และพระชายา ขึ้นไปบนพระที่นั่งอนันตสมาคม และถูกจัดที่ประทับอันสมควรถวาย แต่ไม่สมพระเกียรติ ถูกควบคุมไว้อย่างเด็ดขาด

มีเจ้าหน้าที่ทางการเกือบ 40 คน ถูกจับกุม และถูกกักขังในนอนราบรวมไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคม เว้นแต่เสนาบดีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และการสื่อสาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ผู้ซึ่งได้ทรงหลบหนีไปทางหัวรถจักร เพื่อไปกราบบังคมทูลเตือนพระมหากษัตริย์ที่หัวหิน

ภายหลังที่พระยา พหลฯ ได้อ่านคำประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระยาทรงฯ ผู้อำนวยการฝ่ายทหาร ได้ต้อนทหารทั้งหมด เข้าประตูรั้วเหล็กของพระที่นั่งอนันตสมาคม เพราะเกรงจะควบคุมกำลังทหารไม่ได้ และเมื่อทหารรู้ความจริงว่าคณะราษฎรเป็นกบฏต่อพระราชา จะเกิดสู้กันนองเลือด

เวลา 08.00 น. ปฏิบัติการยึดอำนาจได้เสร็จสิ้น ผู้ก่อการประสบความสำเร็จ เจ้าหน้าที่รัฐทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือนส่วนใหญ่ ต่อสู้ขัดขืนเพียงเล็กน้อย เพราะพวกเขาคุ้นชินกับการรับคำสั่ง และเนื่องด้วยการสื่อสารถูกตัดขาด พวกเขาจึงไม่สามารถทำอะไรได้ หัวหน้าคณะราษฎรสายพลเรือน หลวงประดิษฐ (ปรีดี) ได้รีบแจกจ่ายใบปลิว และแผ่นพับโฆษณาชวนเชื่อ

ว่า“ถ้าใครขัดขืนจะทำร้ายเบื้องสูง” ตลอดจนการกระจายเสียงทางวิทยุ ข้อความในประกาศคณะราษฎร ซึ่งเขียนขึ้นโดยหลวงประดิษฐ วิพากษ์วิจารณ์ ใส่ร้าย พระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงมากอย่างลบหลู่พระเกียรติ จากนั้นประกาศคณะราษฎร ซึ่งลงนามโดย พระยาพหล , พระยาทรง และพระยาฤทธิ์ ถูกส่งโทรเลขไปให้แด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่วังไกลกังวล หัวหิน

มีใจความข่มขู่ว่า “..หากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงปรารถนาที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ คณะราษฎรจะเต็มใจถอดพระองค์ออก และแทนที่ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น ในโทรเลขดังกล่าวข่มขู่ด้วยว่า หากสมาชิกคณะราษฎรคนใดได้รับบาดเจ็บ พระบรมวงศานุวงศ์ที่ถูกคุมขังก็จะทรงทรมานไปด้วย...” อันเป็นถ้อยความข่มขู่พระมหากษัตริย์ที่ยะโสโอหังมาก

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็ทรงทราบล่วงหน้าก่อนโทรเลขแล้วว่ามีเหตุการณ์บางอย่างกำลังเกิดขึ้นในกรุงเทพ เมื่อข้อความด่วนมาถึง ต่อมา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงเดินทางมาถึง เพื่อกราบรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพระนคร

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้านายอีกสองพระองค์ ทรงปรึกษากันถึงทางเลือกหลายทาง ซึ่งรวมไปถึงการเสด็จลี้ภัยไปยังต่างประเทศ การจัดรัฐประหารซ้อน หรือ การยอมจำนนเต็มตัว อย่างไรก็ตาม เมื่อโทรเลขแท้จริงจากคณะราษฎรมาถึงแล้ว พระองค์ก็ทรงตัดสินพระทัยแล้วได้ทรงตอบอย่างมีเมตตาว่า

“พระองค์เต็มพระทัย ที่จะอยู่ในราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังที่พระองค์ทรงสนับสนุนที่จะให้ประชาชนมีรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด” พระองค์ทรงเขียนถึงการตัดสินพระทัยของพระองค์ ที่ปฏิเสธจะต่อสู้ในภายหลังว่า "ข้าพเจ้าไม่สามารถนั่งอยู่บนบัลลังก์ที่เปื้อนเลือดได้ “

คณะราษฎรได้ส่งเรือปืนมารับ เพื่อควบคุมตัวรัชกาลที่ 7 ไปยังกรุงเทพ แต่พระองค์ทรงปฏิเสธและเสด็จกลับไปยังพระนครโดยรถไฟหลวง อันแสดงให้เห็นว่าพระองค์มิได้ตกเป็นเชลยของคณะราษฎร ขณะเดียวกัน ผู้ก่อการได้บีบบังคับด้วยอาวุธ ให้เจ้านายทุกพระองค์ ลงพระนามในเอกสารเพื่อให้เกิดสันติภาพ และหลีกเลี่ยงการหลั่งเลือดใดๆ ในกรุงเทพ

ประชาชนทั่วไป แทบจะไม่ทราบต่อรัฐประหารครั้งนี้เลย พวกเขาคิดว่าเป็นการซ้อมรบของทหาร และมีคนจีนก่อเหตุตามข่าวลือ ชีวิตประจำวันของประชาชนในกรุงเทพฯ จึงกลับคืนสู่สภาพปกติ ส่วนที่เหลือต่างจังหวัด ก็ไม่มีทราบเรื่องเช่นเดียวกัน ในช่วงเย็นวันนั้น ผู้ก่อการคณะราษฎร มั่นใจพอจึงจะเรียกประชุมรัฐมนตรีอาวุโส

ในการประชุมนั้น ปรีดี พยายามที่จะเกลี้ยกล่อม ให้ข้าราชการพลเรือนอาวุโส ให้สนับสนุนคณะราษฎร โดยขู่ว่า “ให้พวกเขายังคงต่อต้าน มิฉะนั้นแล้วเขาจะนำต่างชาติมาแทรกแซงในประเทศ” ปรีดี บังคับให้กระทรวงการต่างประเทศ ส่งข่าวไปยังคณะทูตต่างประเทศทั้งหมด โดยข้อความว่าคณะราษฎรให้คำมั่นว่าจะคุ้มครองชีวิต และธุรกิจของชาวต่างชาติและบรรลุพันธกรณีตามสนธิสัญญาของสยาม

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสถามความเห็นจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ในฐานะคู่ชีวิตว่า "หญิงว่ายังไง" สมเด็จฯ นั้นแม้จะทรงเป็นสตรีเพศ แต่ได้กราบบังคมทูลด้วยความเด็ดเดี่ยวไปว่า "เข้าไปตายไม่เป็นไร แต่ต้องมีศักดิ์ศรีมีสัจจะ" รัชกาลที่ 7 จึงตัดสินพระทัย เสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าพระนคร

วันที่ 26 มิถุนายน 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับถึงกรุงเทพ พระองค์ทรงโปรดให้ผู้ก่อการคณะราษฎรเข้าพบ พระยาทรง ตรวจตราพระองค์อย่างกวดขัน และ " มีเสียงครหาว่าพระองค์ไม่กล้า จะเสด็จไปไหนก็ต้องพกปืนกระบอกเล็กๆ ไปด้วยบางคนก็หัวเราะเยาะว่า ปืนกระบอกเล็กเพียงนั้นจะไปสู้อะไรเขาได้"

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 จึงตรัสว่า " ปืนกระบอกนี้มีกระสุนเพียงสองลูก ลูกหนึ่งสำหรับหัวหญิง (สมเด็จพระบรมราชินี) แล้วเป็นของฉันเองอีกลูกหนึ่ง เพราะถ้าจะบังคับให้ฉันเซ็นอะไรที่เป็นการหลอกลวงราษฎรของฉันแล้ว เป็นยิงตัวตาย "