30 กว่าปีที่รอคอย !?!? ที่มาที่ไป ทำไมต้องจ่ายเงินให้กับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (มีคลิป)

30 กว่าปีที่รอคอยหลังจากที่สงครามระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกรือ พคท.กับฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐได้ยุติลงและบรรดาสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนคืนจากป่าสู่เมืองในนามผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย 

โดยทางการในขนาดนั้นได้ให้คำมั่นสัญญาและหลักประกันว่าทุกคนที่ออกมาจะได้รับการช่วยเหลือดูแลให้ตั้งต้นชีวิตใหม่ได้  โดยทำไม่ได้มอบให้เป็นเดือนก็จะเป็นที่ดินทำกินและ การช่วยเหลือครั้งสุดท้ายก็เพิ่งเกิดขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาเมื่อ

 วันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา โดยได้อนุมัติงบประมาณ เพื่อเป็นการช่วยเหลือค่าประกอบอาชีพสำหรับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย  จำนวนทั้งสิ้น 6,183 คนๆละ 225,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 1,391ล้านบาท


และเมื่อวันที่21 มิถุนายน ที่ผ่านมาพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็ได้ไปเป็นประธาน ในพิธีมอบเงินช่วยเหลือผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย  กอ.รมน.ภาค 1 จำนวน 294 คน

 พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวย้ำว่า การช่วยเหลือครั้งนี้ถือเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว หวังว่า ผรท.จะนำเงินไปตรวจสอบให้ตรงตามเจตนารมณ์ที่เราต้องการคือการดูแลครอบครัว ซึ่งมีตัวอย่างไว้ให้ดูแล้วว่าจะนำเงินไปใช้อะไร แต่ขอให้ใช้ในทางที่ถูกส่วนกรณีทหารผ่านศึกอยากได้รับการช่วยเหลือเพิ่มเติม เหมือนของ ผรท. ทุกอย่างเป็นไปตามกฎระเบียบอยู่แล้ว ของทหารผ่านศึกก็ได้รับการดูแล ส่วนจะเพิ่มเติมการช่วยเหลือให้ทหารผ่านศึกหรือไม่นั้น ต้องดูรายละเอียด
สำหรับแผนการจ่ายเงินให้กับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยทั้งประเทศจำนวนทั้งหมด1,683 คนนั่นจะจ่ายพร้อมกันทั่วประเทศโดยแบ่งเป็น พื้นที่ กอ.รมน.ภาค1 ตั้งจ่าย 2 แห่ง คือ สโมสรทหารบก กทม.  จำนวน 294 คน และ กองพลทหารราบที่9ค่ายสุรสีห์ จ.กาญจนบุรี จำนวน 239 คน

    ในพื้นที่ กอ.รมน.ภาค 2  ตั้งจ่าย 4 แห่ง คือ กองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา  จำนวน  159 คน ,ค่ายประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี  จำนวน 395 คน, มณฑลทหารบกที่ 210 จ.นครพนม จำนวน 387 คน , ศาลากลาง จ.มุกดาหาร จำนวน 424 คน
 
         พื้นที่ กอ.รมน.ภาค 3 ตั้งจ่าย 2 แห่ง คือ มณฑลทหารบกที่ 38 จ.น่าน  จำนวน  283 คน, มณฑลทหารบกที่ 310 จ.ตาก  จำนวน 287 คน  ส่วนพื้นที่ กอ.รมน.ภาค 4 ตั้งจ่าย 3 แห่ง คือ กองทัพภาคที่ 4 ค่ายวชิราวุธ จ.นครศรีธรรมราช  จำนวน 1,611 คน, มณฑลทหารบกที่ 45 จ.สุราษฏร์ธานี  จำนวน 1,321 คน, กองพันทหารช่างที่ 402 จ.พัทลุง จำนวน 783 คน
มีคำถามเสมอมาว่าทำไมจะต้องจ่ายเงินให้กับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยแต่สำหรับพูดที่อยู่ในช่วงยุคระหว่างพ.ศ. 2516 ถึง 2528 จะเข้าใจเรื่องนี้ได้ดีเพราะในขณะนั้นสงครามระหว่างคนไทยกันเองโดยฝ่ายหนึ่งคือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอีกฝ่ายหนึ่งคือทหารตำรวจและอาสาสมัครต่างๆ ได้มีการสู้รบกันฆ่ากันทุกวันทั้งสองฝ่ายบาดเจ็บล้มตายนับ 10,000 คนสถานที่ราชการถูกเผาทั่วทั้งประเทศรัฐจะต้องใช้งบประมาณปีละนับ 10,000 ล้านบาทเพื่อปราบปราม
ดังนั้นเมื่อมีช่องทางเจรจาเกิดขึ้นเพราะพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วเห็นว่าคนไทยไม่ควรจะรบกันเองควรหาทางยุติสงครามจึงได้ออกนโยบายที่เรียกว่านโยบาย 66 / 23 เป็นนโยบายที่เปิดโอกาสให้สมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่จับอาวุธอยู่ในป่าออกมาร่วมพัฒนาชาติไทยโดยไม่มีความผิดแบรนด์กำสัญญาว่าจะดูแลชีวิตใหม่ให้ก้าวเดินต่อไปได้ จึงเป็นที่มาของนโยบายช่วยเหลือผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยและทำให้ประเทศไทยสงบร่มเย็นลงทั้งทั้งที่ตอนนั้นประเทศเพื่อนบ้านได้ถูกคอมมิวนิสต์ยึดครองไปแล้วทั้งสิ้น
การช่วยเหลือผู้พัฒนาชาติไทยได้แจกเงินมาแล้ว 4ครั้ง  ในรัฐบาลพล.อ.เปรม, รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ , รัฐบาลอภิสิทธิ์ และรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์


สำหรับจุดกำเนิดการช่วยเหลือ ผรท. มาจาก “หมู่บ้านน้อมเกล้า” อ.เลิงนกทา จ.อำนาจเจริญ
 
          สมาชิกในหมู่บ้านนี้ เป็นผู้ก่อร้ายคอมมิวนิสต์กลุ่มแรกๆ ที่รัฐบาลทำตามนโยบาย 66/2523 ของรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และ “คำสัญญา” ที่ว่า เมื่อออกมอบตัวต่อทางการแล้ว จะได้รับการช่วยเหลือเป็น “ที่ดิน” และ “บ้าน”
 และอีกพื้นที่หนึ่งที่สำคัญก็คือ ในปี 2525 คณะกรรมการจังหวัดเขตงาน 444 (อำนาจเจริญ-มุกดาหาร-ยโสธร) ได้นัด “เจรจาลับ” กับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่กรุงเทพฯ โดยผู้นำเขต 444 เสนอจะยุติการสู้รบ และออกมอบตัวทั้งเขตงาน โดยมีเงื่อนไข 2 ข้อคือ 1.ขอที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัย 2.ขอให้ช่วยเหลือการประกอบอาชีพในเบื้องต้น
 
          พล.อ.ชวลิต ได้นำข้อเสนอดังกล่าว ส่งผ่านไปยัง “พล.อ.เปรม” นายกรัฐมนตรี ซึ่งก็เห็นด้วยตามที่ พล.อ.ชวลิต เสนอมา จึงได้กำหนดวันมอบตัวครั้งใหญ่คือ 1 ธันวาคม 2525
 
วันนั้น คณะกรรมการเขต 444 ได้เดินออกจากป่า นำทหาร และมวลชนนับพันคนเข้าสู่บริเวณจัดงาน “วันสันติภาพ” ที่สนามหน้าโรงเรียนบ้านบาก อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร
 
 หลังจากวันมอบตัวเสร็จสิ้น ทางกองทัพภาคที่ 2 ได้ดำเนินการจัดตั้ง “หมู่บ้าน” ขึ้นตามคำสัญญาที่ตกลงไว้ในการเจรจาลับ เบื้องต้น รัฐบาลปลูกบ้านให้ 1 หลัง และจัดสรรที่ดินให้ัครอบครัวละ 15 ไร่ นี่คือที่มาของ “หมู่บ้านน้อมเกล้า”
 
 ในเวลาไล่เลี่ยกัน มีการเข้ามอบตัวในลักษณะเดียวกัน จึงมีการจัดตั้งหมู่บ้านอีก 2 แห่งคือ หมู่บ้านชาติพัฒนา อ.ธาตุพนม จ.นครพนม และหมู่บ้านภูผาหอม อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร
 
สรุปว่า รัฐบาล พล.อ.เปรม ได้ช่วยเหลือ ผรท. จำนวน 403 คน โดยมอบบ้าน 1 หลัง และที่ดิน 15 ไร่
เมื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และในฐานะที่บิดาของ พล.อ.สรยุทธ์ คือ พ.ท.พโยม จุลานนท์ หรือ “สหายคำตัน” เป็นเสนาธิการกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย จึงได้นำเอาเรื่องช่วยเหลือ ผรท. ของรัฐบาลทักษิณมาพิจารณา และอนุมัติเงินช่วยเหลือไปทันที
 
  การช่วยเหลือ ผรท.สมัยรัฐบาลสรยุทธ์ ถือว่า เป็นครั้งที่ 2 จำนวน 2,609 คน และจ่ายเป็นเงินสด รายละ 125,000 บาท

 

30 กว่าปีที่รอคอย !?!? ที่มาที่ไป ทำไมต้องจ่ายเงินให้กับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (มีคลิป)

 พล.อ.สุรยุทธ์ ได้ประกาศว่า นี่เป็นการช่วยเหลือครั้งสุดท้าย หากมีกลุ่มใดมาร้องขอให้ช่วยเหลือ ก็มอบให้กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการช่วยเหลือเป็นกลุ่มก้อน ไม่ “จ่ายเงินรายหัว” อีกแล้ว

รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มี ผรท.ภาคอีสาน หลายกลุ่ม เดินทางเข้ามา “ทวงสัญญา 66/2523” บอกว่า เป็นกลุ่ม “สหายตกหล่น”
 
   อดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ จึงเซ็นคำสั่งที่ 190/2552 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2552 ว่าด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการช่วยเหลือความเดือดร้อนของ ผรท. ที่มี สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น เป็นประธาน

“สุเทพ” เสนอให้ประเมินราคาที่ดินใหม่ จึงทำให้วงเงินช่วยเหลือเพิ่มจาก 125,000 บาท เป็น 225,000 บาท และประกาศให้ช่วยเหลืออดีตสหายทั้งประเทศ ไม่จำกัดเฉพาะภาคอีสาน เหมือนสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์
 

 ปรากฏว่าครั้งที่ 3 รัฐบาลอภิสิทธิ์ จ่ายเงินช่วยเหลือรายละ 225,000 บาท จำนวน 9,181 ราย
 
และมาถึงรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ตามที่ได้กล่าวไปในข้างต้น