ยกเลิกไพรมารีโหวต !!! "อภิสิทธิ์"ร่อนจม.ปิดผนึกถึงกรธ. แนะ5ข้อทางออกตั้งกมธ. (รายละเอียด)

ยกเลิกไพรมารีโหวต !!! "อภิสิทธิ์"ร่อนจม.ปิดผนึกถึงกรธ. แนะ5ข้อทางออกตั้งกมธ. (รายละเอียด)

วันที่ 25 มิ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึง คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) เพี่อประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.)ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ... ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนที่ส่งให้กรธ.พิจารณาว่าสมควรที่จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมขึ้นมา พิจารณาทบทวนร่างกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวให้ข้อมูล และความคิดเห็นที่จะเป็นประโยชน์ 

นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกด้วยว่า ขอย้ำว่า หากจะบังคับพรรคการเมืองให้ดำเนินการตามกฎหมายพรรคการเมืองต่างๆ ก็สามารถทำได้ แต่ที่ท้วงติงทั้งหมดเพราะสภาพปัจจุบันและกฎหมายยังไม่เอื้ออำนวยให้การดำเนินการตามกฎหมายบรรลุตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และของผู้ร่างกฎหมายได้อย่างแท้จริง เนื่องจากบทบัญญัติตามกฎหมายพรรคการเมืองในขณะนี้ กำลังมีการปิดกั้นพรรคการเมือง ซึ่งแม้จะมีผู้พร้อมจะสนับสนุนลงคะแนนให้ในเขตเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถดำเนินการจัดตั้งสาขาพรรค หรือแต่งตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดมิให้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งได้จึงสวนทางกับเจตนารมณ์
 

ยกเลิกไพรมารีโหวต !!! "อภิสิทธิ์"ร่อนจม.ปิดผนึกถึงกรธ. แนะ5ข้อทางออกตั้งกมธ. (รายละเอียด)

 

 

ทั้งนี้ในการจัดทำกฎหมายฉบับดังกล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ระบบไพรมารีโหวต ถือเป็นเจตนาดีของผู้ร่างกฎหมาย แต่หากศึกษาจากประสบการณ์ในต่างประเทศ ของประเทศที่ใช้การเมืองการปกครองในระบบรัฐสภาจะพบว่าการใช้กลไกดังกล่าวมีอยู่ค่อนข้างจำกัด ด้วยเหตุผลที่สำคัญ 2 ประการ คือ 

1.ความไม่แน่นอนของการมีการเลือกตั้งทั่วไป หรือการเลือกตั้งซ่อม ซึ่งจะต้องจัดขึ้นภายในระยะเวลาค่อนข้างสั้น ทำให้ความพร้อมในการจัดการลงคะแนนเสียงเบื้องต้น ซึ่งต้องมีกระบวนการจัดการและการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายตั้งแต่ผู้สมัคร จนถึงผู้เลือกตั้ง มีข้อจำกัดอย่างมาก 

2.กลไกการทำงานของระบบรัฐสภา ต้องอาศัยพรรคการเมืองเป็นสถาบันในการรวบรวมผู้มีความคิดเห็น หรืออุดมการณ์ที่คล้ายคลึงในสภาผู้แทนราษฎรอย่างเป็นระบบ ฉะนั้นการกำหนดบทบัญญัติในกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงต้องคำนึงถึงโครงสร้างของการปกครองไทยในภาพรวมด้วย และแนวทางที่เหมาะสมในการจัดให้มีการลงคะแนนเสียงเบื้องต้น เพื่อคัดเลือกผู้สมัครให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังได้เสนอแนะว่า  หากมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมแล้วทางออกที่เหมาะสมและสมควรได้รับการพิจารณามีหลายทาง เช่น  

1.อาจจะต้องทบทวนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการชำระเงินค่าบำรุงพรรคหรือมีบทเฉพาะกาล ทอดเวลาการบังคับใช้ในเรื่องการชำระเงินค่าบำรุงหรือการลงคะแนนเสียงเบื้องต้นหรือทั้งสองเรื่อง  

2.การเน้นบทบัญญัติให้การสนับสนุนการมีสมาชิกพรรคการเมืองและการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองโดยรัฐต้องพร้อมที่จะจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองในเรื่องของการบริหารงานของพรรคการเมืองมากกว่าที่เป็นอยู่อย่างมาก 

3.หากยืนยันให้มีไพรมารีโหวตก็ควรให้ กกต.และรัฐให้การสนับสนุนตลอดจนอำนวยความสะดวกในเรื่องของหน่วยเลือกตั้ง การดูแลจัดการการเลือกตั้งทั้งหมด 

4.ในกรณีที่มีผู้มาใช้สิทธิ์ไม่มากหรือในกรณีที่มีเหตุผลเกี่ยวกับความเหมาะสมในเรื่องของอุดมการณ์ ความซื่อสัตย์สุจริตความรู้ความสามารถ ควรมีบทบัญญัติที่ชัดเจนให้อำนาจคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครหรือคณะกรรมการบริหารพรรคกลั่นกรองตัดสินใจเลือกผู้สมัครตามความเหมาะสมได้ 

5.ยกเลิกการใช้ระบบไพรมารีโหวตในการจัดลำดับ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อแต่ควรกำหนดให้บัญชีรายชื่อดังกล่าวต้องมีความหลากหลายในเรื่องภาพสัดส่วนหญิงชาย