๒๗ มิ.ย. รัชกาลที่ ๗ เติมคำว่า "ชั่วคราว" พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม  แม้คณะราษฎรจะจำกัดอำนาจของพระองค์ก็ตาม

๒๗ มิ.ย. รัชกาลที่ ๗ เติมคำว่า "ชั่วคราว" พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม แม้คณะราษฎรจะจำกัดอำนาจของพระองค์ก็ตาม

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เข้าสู่ระบอบใหม่ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยผู้ก่อการคณะราษฎรเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือสยามประเทศได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก

ในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นได้กลับมาพระนครเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน โดยฝ่ายคณะราษฎร ได้เข้าเฝ้าเพื่อรอโปรดเกล้าฯพระราชทานอภัยโทษ ในการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเป็นดั่งกบฏแผ่นดิน นอกจากนี้คณะราษฎรยังถวายรัฐธรรมนูญให้พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธย โดยใช้ชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม"
 

๒๗ มิ.ย. รัชกาลที่ ๗ เติมคำว่า "ชั่วคราว" พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม  แม้คณะราษฎรจะจำกัดอำนาจของพระองค์ก็ตาม

อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในทันที แต่พระองค์ทรงขอตรวจตราเนื้อหาในรัฐธรรมนูญ ต่อมาได้เขียนกำกับโดยใช้คำว่า "ชั่วคราว" อันหมายถึงรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะใช้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น จากนั้นทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชทานให้ในเช้าวันรุ่งขึ้น คือวันที่ ๒๗ มิถุนายน

รัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งสยามประเทศแบ่งเป็น ๕ หมวด ๓๙ มาตรา มีสาระสำคัญ เช่น หมวด กษัตริย์ ที่บัญญัติว่า กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่นๆ ซึ่งจะมีบทกฎหมายระบุไว้โดยฉะเพาะก็ดี จะต้องกระทำในนามของกษัตริย์


มีการจำกัดอำนาจพระมหากษัตริย์ เช่นในมาตรา ๗  บัญญัติว่า "การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย  โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึ่งจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ"

 

๒๗ มิ.ย. รัชกาลที่ ๗ เติมคำว่า "ชั่วคราว" พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม  แม้คณะราษฎรจะจำกัดอำนาจของพระองค์ก็ตาม
 

หมวดสภาผู้แทนราษฎร เป็นการกำหนดการบริหารประเทศใหม่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยกำหนดสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎร เช่น 

ประเภทที่ ๑  ผู้แทนซึ่งราษฎรจะได้เลือกขึ้นจังหวัดละ ๑ นาย ถ้าจังหวัดใดมีสมาชิกเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน ให้จังหวัดนั้นเลือกผู้แทนเพิ่มขึ้นอีก ๑ นายทุกๆ ๑๐๐,๐๐๐ นั้น เศษของ ๑๐๐,๐๐๐ ถ้าเกินกว่าครึ่งให้นับเพิ่มขึ้นอีก ๑


หมวดคณะกรรมการราษฎร กรรมการราษฎรในที่นี้ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็นคณะรัฐมนตรี โดยในหมวดนี้กำหนดให้มีกรรมการราษฏร ๑๔ คน และประธาน ๑ คน ซึ่งเปรียบเหมือนนายกรัฐมนตรี ดังนั้น เมื่อพระยามโนปกรณนิติธาดา ได้เป็นประธานกรรมการราษฎร พระยามโนปกรฯ จึงเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของสยาม

รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับใช้ได้ไม่กี่เดือน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็พระราชทานรัฐธรรมฉบับถาวร ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕

 

๒๗ มิ.ย. รัชกาลที่ ๗ เติมคำว่า "ชั่วคราว" พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยาม  แม้คณะราษฎรจะจำกัดอำนาจของพระองค์ก็ตาม