รายการทีนิวส์สด ลึก จริงวันนี้ (27 มิ.ย.60) นำเสนอประเด็นเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของโรงงานอุตสาหกรรม

     เมื่อวานนี้ (26 มิ.ย.60) นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือ กรอ. แถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีมีผู้ตกบ่อบำบัดน้ำเสียภายในโรงงาน บริษัทซีพีเอฟ(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) จนทำให้มีผู้เสียชีวิต จำนวน 5 ราย เหตุเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งนายมงคล กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว พบว่านักศึกษาทั้ง 2 คนไปดูงานเป็นวันที่ 3 ซึ่งเป็นบ่อบำบัดน้ำเสียที่แยกไขมันออกแล้ว ก่อนเข้าสู่ระบบบำบัดแบบตะกอนเร่งด่วน มีขนาด 3คูณ4 เมตร ลึก 2.5 เมตร เป็นบ่ออับอากาศ โดยจากการตรวจสอบที่เกิดเหตุพบว่า มีป้ายไม่อนุญาตให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องเข้า ซึ่งในวันเกิดเหตุนั้นมีเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมของโรงงานที่เพิ่งทำงานเพียง 6 เดือน จึงอาจจะไม่มีความรู้ความชำนาญมากพอ  

    ทั้งนี้หลังเกิดเหตุได้เข้าไปตรวจสอบ พบว่า ค่าออกซิเจนมี 21 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย แต่ยอมรับว่าการเข้าไปตรวจหลังเกิดเหตุ 5 ชั่วโมงอาจทำให้ค่าก๊าซ และอากาศเปลี่ยนแปลงได้ โดยความเป็นจริงนั้น บ่อบำบัดน้ำเสียต้องปิดฝามิดชิด แต่ต้องตรวจสอบว่าโรงงานมีเหตุผลใดที่เปิดฝาไว้ เนื่องจากการสอบถามเบื้องต้นทราบว่า ในวันเกิดเหตุ เวลา 07.00-08.00 น. ฝาบ่อปิด ซึ่งไม่ทราบว่าหลังจากนั้นมีใครเข้าไปในพื้นที่หรือไม่ ประกอบกับจุดดังกล่าวไม่มีกล้องวงจรปิด ขอให้ทางตำรวจเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งเบื้องต้นมีคำสั่งให้ปิดบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงานดังกล่าวเป็นเวลา30วัน และจะตรวจสอบบุคคลากรที่เกี่ยวข้องว่ามีความผิดหรือไม่

    ด้านนายประเสริฐ ตปนียางกูร นายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า บ่อสูบน้ำเสียที่มีความเข้มงวดสูงเป็นที่อับอากาศตามกฎหมายของกระทรวงแรงงาน ห้ามบุคคลทั่วไปเข้าไป เว้นแต่คนที่มีหน้าที่และได้รับอนุญาต ซึ่งต้องรู้วิธีเอาตัวรอดและช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

“สถานที่อับอากาศเป็นสถานที่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ต้องรู้ว่าความเสี่ยง การสลบ การบาดเจ็บ เสียชีวิต จากก๊าซไข่เน่า” 

    นายประเสริฐ ตั้งข้อสังเกตถึงระบบการจัดพื้นที่และการรักษาความปลอดภัยของโรงงานบริษัทดังกล่าวว่า บ่อบำบัดไม่มีราวกั้นกันตก, ฝาบ่อไม่มีกุญแจล็อก, ขนาดบ่อเล็กเกินกว่าผู้ที่สวมชุดกู้ชีพช่วยเหลือจะลงไปได้ หากเกิดอุบัติเหตุและอาจขาดอุปกรณ์ช่วยชีวิตตามมาตรฐาน เช่น อุปกรณ์หน้ากากกันพิษแบบเฉพาะ, เครื่องวัดก๊าซ, สื่อสารกับบุคลลภายนอก 

    รวมทั้งประเด็นสำคัญ ก็คือ ละเมิดกฎเหล็กของมาตรฐานความปลอดภัย คือ การปล่อยให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่หวงห้าม แม้เป็นพนักงานบริษัท แต่อาจขาดความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย

    ทั้งนี้นายประเสริฐได้กล่าวอีกว่าขอชมเชยผู้กล้าและผู้เสียสละ แต่น่าเสียดายที่ต้องเกิดความสูญเสีย เพราะจุดดังกล่าวเป็นที่อับอากาศ มีก๊าซไข่เน่า ถือว่าอันตรายต่อชีวิต การที่จะเข้าไปช่วยเหลือเช่นนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในสถานที่ ทางเจ้าของโรงงาน และวิศวกรผู้สร้างต้องเตรียมมาตรการป้องกันการเกิดเหตุตั้งแต่วางแผนสร้างอาคารและบ่อบำบัดน้ำเสีย โดยต้องเปิดช่องเข้า-ออก กว้างใหญ่เพียงพอ ให้สามารถช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุได้ ขณะที่ ฝาบ่อควรมีกุญแจล็อคให้มิดชิด ขณะที่ผู้ที่จะเข้าช่วยเหลือต้องมีความรู้และความพร้อม รวมทั้งมีอุปกรณ์สื่อสารและป้องกันให้ครบถ้วน และเข้าช่วยเหลือทันท่วงที

CPF สั่งหยุดระบบบำบัดน้ำเสีย!?!? ดร. ประเสริฐ ลั่น เรื่องนี้คงไม่ต้องตั้งคำถาม  ถ้าไม่มีปัญหา  คงไม่ต้องสั่งหยุด! (มีคลิป)

CPF สั่งหยุดระบบบำบัดน้ำเสีย!?!? ดร. ประเสริฐ ลั่น เรื่องนี้คงไม่ต้องตั้งคำถาม  ถ้าไม่มีปัญหา  คงไม่ต้องสั่งหยุด! (มีคลิป)

CPF สั่งหยุดระบบบำบัดน้ำเสีย!?!? ดร. ประเสริฐ ลั่น เรื่องนี้คงไม่ต้องตั้งคำถาม  ถ้าไม่มีปัญหา  คงไม่ต้องสั่งหยุด! (มีคลิป)

CPF สั่งหยุดระบบบำบัดน้ำเสีย!?!? ดร. ประเสริฐ ลั่น เรื่องนี้คงไม่ต้องตั้งคำถาม  ถ้าไม่มีปัญหา  คงไม่ต้องสั่งหยุด! (มีคลิป)

CPF สั่งหยุดระบบบำบัดน้ำเสีย!?!? ดร. ประเสริฐ ลั่น เรื่องนี้คงไม่ต้องตั้งคำถาม  ถ้าไม่มีปัญหา  คงไม่ต้องสั่งหยุด! (มีคลิป)