เป็นเรื่องปกติ !!!! ข้อเท็จจริงไม่ได้สองมาตรฐาน เทียบเห็นได้ชัด "ป๊อบคอร์น-ส.ต.ต.บัณฑิต " (มีคลิป)

ภายหลังจากที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ท็อป หรือ“วิวัฒน์ ยอดประสิทธิ์” มือปืน “ป๊อปคอร์น” เหตุไม่มีประจักษ์พยานยืนยันเป็นคนก่อเหตุยิงใส่กลุ่ม นปช.ที่ชุมนุมบริเวณแยกหลักสี่ ก็ได้เกิดกระแสการโจมตีศาลอย่างหนัก ซึ่งถือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างรุนแรง 

ในข้อเท็จจริง ที่จะต้องทำความเข้าใจก่อนนั้น ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้กำหนดเอาไว้ชัดเจน ว่าหากโทษสูงตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ต่อให้จำเลยรับสารภาพ ศาลก็ไม่นำมาเป็นข้อพิจารณา ดังรายละเอียดที่ได้ระบุไว้ ในตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 176 วรรคแรก
 
ระบุว่าในชั้นพิจารณา ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยรับสารภาพนั้นกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง


เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ แม้จำเลยจะรับสารภาพซึ่งต่อมาภายหลังศาลได้มีทำพิพากษายกฟ้องก็ดำเนินการตามข้อกฎหมายดังกล่าว  และจากการพิจารณาข้อเท็จจริงแล้ว เมื่อไม่มีประจักษ์พยาน การยกฟ้องก็ไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติ ก็ถือว่าไม่ได้เป็นเรื่องแปลก หรือ 2มาตราฐานแต่อย่างใด
และคนเสื้อแดงก็จะเป็นเช่นนี้เสมอ เมื่อศาลตัดสิน หากตัวเองได้ประโยชน์ ก็บอกว่าศาลยุติธรรม และหากเวลาศาลตัดสินไม่ถูกใจของตัวเอง ก็มักจะบอกว่า 2มาตรฐาน เห็นได้ชัดจากคดี ที่คนเสื้อแดงใช้อาร์พีจี ยิงวัดพระแก้ว

เหตุการณ์นี้วันที่20 ตุลาคม 58 คำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ส.ต.ต.บัณฑิต หรือ นายบัณฑิต สิทธิทุม อดีตตำรวจ สภ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย, ร่วมกระทำให้เกิดระเบิดเป็นอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินผู้อื่น,ร่วมกันมีปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต, พาอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิดไปในเมือง ทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร จากกรณีเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2553 จำเลยกับพวกอีก 1 คน
 
ร่วมกันใช้เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี 2 ลูก และยิงลูกระเบิดไปยังอาคารกระทรวงกลาโหม เขตพระนคร เพื่อข่มขู่ให้รัฐบาลไทยให้ยุบสภา ทั้งยังสร้างความปั่นป่วนให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน
ซึ่งจากการพิจารณา ศาลได้มีคำพิพากษาตัดสินตามศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้องจำเลย เนื่องจากพยานอัยการไม่ชัดเจน จึงยกประโยชน์แก่ความสงสัย ขณะที่จำเลยไม่ได้เดินทางมาศาลเพื่อรับฟัง

สำหรับคดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งจำคุก ส.ต.ต.บัณฑิต แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับยกฟ้อง ต่อมาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 ศาลฎีกาให้ออกหมายจับส.ต.ต.บัณฑิต เนื่องจากไม่มาฟังคำพิพากษาศาลฎีกาตามนัด และท้ายที่สุดศาลมีคำสั่งตัดสินยกฟ้อง 

ซึ่งในคดีนี้คนเสื้อได้ ก็ไม่ออกมาคัดค้าน หรือโจมตีในมาตรฐานการตัดสินคดี  กลับบอกว่าเป็นการตัดสินที่ “ยุติธรรม”ซึ่งเป็นแบบนี้เสมอมาในการพยายามจะโจมตี ด้วยวาทะกรรม  “2มาตราฐาน”
แต่อย่างไรก็ตามคดีของนายวิวัฒน์ ยังไม่ได้จบแค่นี้ เพราะอัยยะการจะดำเนินการต่อไป
 

ด้านนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวหลังจากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเเล้ว ขั้นตอนคืออัยการคดีอาญา 4 เจ้าของสำนวนจะต้องรีบไปขอคัดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกฟ้องจำเลยมา เพื่อเสนออัยการสำนักงานคดีศาลสูงเพื่อพิจารณา การพิจารณาศาลสูงจะต้องพิจารณาให้เเล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับจากศาลมีคำพิพากษา 

ส่วนอัยการศาลสูงจะพิจารณายื่นฎีกาคดีต่อหรือไม่ ตนไม่อาจก้าวล่วง หากได้ผลการพิจารณาอย่างไรนั้นทางกองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดจะเเจ้งต่อสื่อมวลชนเพื่อทราบอีกครั้ง 

ส่วนระยะเวลาการพิจารณาว่ายื่นฎีกาหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ระยะเวลาในการขอคัดถ่ายคำพิพากษาโดยหลักเเล้วคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์น่าจะมีการพิมพ์เสร็จเเล้วการขอคัดถ่ายคงจะใช้ระยะเวลาไม่นาน เเละเชื่อว่าถ้าได้คำพิพากษามาเเล้วอัยการศาลสูงจะใช้ระยะเวลาพิจารณาได้ตามกรอบกฎหมาย