มันอะไรยังไง !!! "ดร.สุรินทร์" ประกาศลงชิงผู้ว่ากทม. ...อย่างนี้ประชาธิปัตย์ว่ายังไง (มีคลิป)

เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจทางการเมืองเป็นอย่างยิ่งที่อยู่ดีๆ ก็ปรากฏข่าวว่า "ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ" ประกาศจะลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่เป็นเรื่องแปลกก็เพราะว่า ณ.เวลานี้ ยังไม่ถึงเวลาที่จะมาพูดเรื่อง การจะลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ก่อนหน้านี้คสช.มีคำสั่งที่ฉบับที่ 85/2557และ86/2557 ที่ออกประกาศมาเมื่อวันอังคารที่ 15 ก.ค. 57  สาระสำคัญของประกาศคสช.ก็คือจะชะลอการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ไว้ชั่วคราวไม่ว่าจะเป็นในองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล-เทศบาลตลอดจนสภากรุงเทพมหานครทั้ง สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร(ส.ก.)และสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร(ส.ข.)กรณีที่จะต้องเลือกตั้งตามวาระเพราะสมาชิกทำหน้าที่จนครบวาระ แล้วใช้ระบบ “สรรหา”คนไปทำหน้าที่แทนระยะหนึ่งจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ซึ่งปัจจุบัน คือ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง แม้จะเป็นผู้ว่าราขการที่มาจากการแต่งตั้งโดยคสช.  แต่ก็อย่าลืมว่าเคยเป็นรองผู้ว่ากทม. ในสมัยหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากพรรคประชาธิปัตย์  ดังนั้นแม้คสช.จะแต่งตั้งแต่ความสัมพันธ์ระหว่างพล.ต.อ.อศวินกับพรรคประชาธิปัตย์ ในแง่ความรู้สึกต่อสาธารณชนก้ยังถือเป็นหนึ่งเดียวกันอยู่  ดังนั้นผลงานของพล.ต.อ.อัศวิน เทียบออกมาไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ พรรคประชาธิปัตย์ก็มีส่วนได้ ส่วนเสียอ

ทั้งนี้กลับมาดูท่าทีของดร.สุรินทร์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่จะมีการเลือกตั้งแต่ก็กล้าประกาศลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่ากทม. โดยถึงขนาดประกาศ นโยบายที่จะใช้หาเสียง ว่ายืนยันพร้อมลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯกทม.หากได้รับการทาบทามจากพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความมั่นใจจะสร้าง กทม.แข่งขันกับเมืองต่างๆทั่วโลก ให้ได้รับความเชื่อมั่นและการยอมรับจากนานาชาติ ทั้งนี้คาดว่า คสช.อาจให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในช่วงปลายปีหน้าก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไป.

ก็ต้อพิจารณาประเด็นนี้กันว่า เหตุผลอะไรที่มำให้ดร.สุรินทร์ประกาศเช่นนั้น หรือดร.สุรินทร์นั้นคิดอะไรคิดอะไร ??
เกี่ยวพันธ์กับสถานการณ์ในพรรคประชาธิปัตย์ที่จะมีการเลือกตั้งเมื่อครบวาระ คณะกรรมการบริหาร ชุดปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้หัวหน้าพรรคหมดวาระลงไปด้วย ในเดือนธันวาคม 2561เกี่ยวพันกันหรือไม่

แม้ขณะนี้ เสียงสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัยต์ในพรรคจะมีความเห็นหนาแหน่นแล้วคุมเสียงมากกว่าคนอื่นๆ แต่ข่าวที่ปรากฏในทางลับ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ปราฏกว่ามี  ส.ส. กลุ่มหนึ่งในพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกมา ทาบทาม พูดคุย กับบุคคลที่เคยมี บทบาทในพรรคประชาธิปัตย์ และมีความโดดเด่นต่อสังคมภาพนอก มีสามท่าด้วยกัน คือ
1 ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเคยเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 
2 ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังก์ถัด (UNCTAD) ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 ก่อนหน้านั้นเคยรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) เคยเป็นสมาชิก สภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ 
และ 3ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ เคยดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และยังเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน

เรื่องนี้จะเกียวพันกับการเปิดประเด็นของดร.สุรินทร์ ที่ประกาศลงสมัครตำแหน่งผู้ว่าราชการกทม.หรือไม่ กก็ต้องติดตามดูว่า  สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ส่วนหนึ่งจะเห็นว่าเป็นการเปิดเกมส์อันเกี่ยวเนื่องกับการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหมม่ ที่จะมาถึง 2561 หรือไม่

และหากถูกตีความไปเป็นเช่นนั้น แน่อนอนว่าบรรดาองครักษ์พิทักอภิสิทธิ์ เวชาวีวะต้องออกมาสะกัดกั้นในรูปแบบต่างๆอย่างแน่อนอน

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่1 ม.ค. 59 ได้เคยมีข่าวว่า ดร.สุรินทร์ ประกาศไว้ตั้งแต่ ถึงอนาคตทางการเมือง หลังจากคสช.ปลดล็อคพรรคการเมือง ว่าตนมีความพร้อมที่จะลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ โดยยังระบุอีกด้วยว่า ตนพร้อมแล้วอีกด้วย
เป็นผู้ยืนยันแต่การออกมาประกาศตัวลงผู้ว่ากทม.ในครั้งนี้ 
จึงทำให้คนพรรคประชาธิปัตย์มึนงงสงสัย จนทำไปสู่การตั้งคำถามยืนยันถึงความพร้อม แต่ปรากณว่าดร.สุรินทร์ก็ได้ออกมาปฏิเสธและเนืองจากเป็นการพดคุยกันเองเป็นเล็กๆในกลุ่มผู้สืบข่าว อยู่ด้วย ซึ่งผู้สื่อบข่าว อาจจะออกตัวเชียร์แรงเกินไป

สำหรับประวัติ ดร.สุรินทร์ เข้าสู่แวดวงการเมืองในปี พ.ศ. 2529 โดยได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเข้ามาในสภาผู้แทนราษฎรติดต่อกัน 7 สมัย คือเมื่อปี พ.ศ. 2529, 2531, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2548

 เคยเป็นเลขานุการของนายชวน หลีกภัย ขณะที่นายชวนดำรงตำแหน่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2529-2531) ต่อมาเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538 และเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 ต่อมาสุรินทร์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน โดยเข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 หลังจากที่ได้มีการส่งชื่อไปยังรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2550 และได้รับการรับรองจากชาติสมาชิกอย่างเป็นทางการในที่ประชุมผู้นำอาเซียน ณ สิงคโปร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550
ดร.สุรินทร์ เกิดวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ที่ จ.นครศรีธรรมราช มีบิดาเป็นครูสอนศาสนาอิสลาม ศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านตาล ศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช และ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2515  ปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พ.ศ. 2517 และปริญญาเอกด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พ.ศ. 2522 

เริ่มอาชีพนักวิชาการในตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่าง พ.ศ. 2518-2529
ถือว่าโดยบารมีและชื่อชั้นแล้วก็สามารถขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคได้เหมือนกัน ต้องจับตาดูการออกมาประกาศลงสมัครผู้ว่ากทม.เปนการหยั่งกระแสดารเมือง มหรือมีประเด็นอะไรทางการเมืองซ่ินเล้นอยุ่หรือไม่ และจะเดี่ยวกันกับเรื่องการเลิกตั้งกันหน้าหน้าพรรคคแระชาธิปัน

เดือนที่จะถึงนี้ นอกเหนือจากนายอภิสิทธิ์  ที่ประกาศตัวว่าจะลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกครั้งหนึ่งแล้ว ยังจะมีใครเข้ามาประกอบด้วยหรือไม่เป้นเรื่องที่น่าสนใจแล้วติดตาม 
ดังนั้นการออกมมาในของนี้จะเป็นหารหย่อยกระแสแม้ขยานนี้ เสียงจะสนุน