นายจ้างเช็คด่วน !!!! เปิดหลักเกณฑ์การขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว ...ทุกขั้นตอนรายละเอียดชัดเจน

นายจ้างเช็คด่วน !!!! เปิดหลักเกณฑ์การขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว ...ทุกขั้นตอนรายละเอียดชัดเจน

เมื่อวันที่ ๖ ก.ค. ๒๕๖๐ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทํางานและการอนุญาตให้ทํางาน ตามพระราชกําหนดการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐  ระบุรายละเอียดดังนี้


ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทํางานและการอนุญาตให้ทํางาน ตามพระราชกําหนดการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้นายจ้างและคนต่างด้าวดําเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามพระราชกําหนดการบริหาร จัดการการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้โดยสะดวกและมีประสิทธิภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ ๒ ของคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๓/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่ออแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหาร จัดการการทํางานของคนต่างด้าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ ข้อ ๒ คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งทํางานกับนายจ้างอยู่แล้วและประสงค์ จะทํางานในประเทศไทยต่อไป ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (๑) คนต่างด้าวที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และได้รับหนังสือเดินทาง (Passport) หนังสือเดินทาง ชั่วคราว (Temporary Passport) เอกสารเดินทาง (Travel Document) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) ซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant L-A) และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร แต่ไม่ยื่นคําขออนุญาตทํางานภายใน ๑๕ วัน นับแต่ วันที่ได้รับการตรวจลงตรา ให้คนต่างด้าวผู้นั้นอยู่ในราชอาณาจักรได้เท่าระยะเวลาที่ เจ้าพนักงานตรวจ คนเข้าเมืองได้อนุญาตไว้แล้วในหนังสือเดินทาง (Passport) หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) เอกสารเดินทาง (Travel Document) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) โดยให้คนต่างด้าวยื่นคําขออนุญาตทํางานตามแบบ ตท.๒ ท้ายกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับ ใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการแจ้งการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ สํานักงานจัดหางาน จังหวัด ในท้องที่จังหวัดอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทํางานปัจจุบันของคนต่างด้าว หรือสํานักงานจัดหางาน กรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๑๐ ในเขตพื้ นที่อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทํางานปัจจุบันของคนต่างด้าว ทั้งนี้ หากคนต่างด้าวทํางานกับนายจ้างไม่ตรงตามที่กําหนดไว้ในใบอนุญาตทํางานเดิมหรือไม่ตรงตามเอกสาร แสดงตนของคนต่างด้าว ให้นายจ้างรายใหม่จัดทําสัญญาจ้างกับคนต่างด้าวนั้นแล้วให้เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบ ความถูกต้องและนายทะเบียนพิจารณาอนุญาตให้ทํางาน ให้ตรงตามเอกสารและหลักฐานของนายจ้าง รายใหม่โดยอนุญาตให้ทํางานได้ไม่เกินวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ โดยให้คนต่างด้าวชําระค่าธรรมเนียม การยื่นคําขอ ๑๐๐ บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทํางาน ปีละ ๙๐๐ บาท ทั้งนี้ ให้นับต่อจาก ระยะเวลาที่ใบอนุญาตทํางานเดิมยังไม่สิ้นอายุและให้ต่ออายุใบอนุญาตทํางานได้อีกครั้งเดียว ไม่เกินวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ โดยให้คนต่างด้าวชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอ ๑๐๐ บาท และ ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตทํางาน ปีละ ๙๐๐ บาท

(๒) คนต่างด้าวที่ผ่านการตรวจสัญชาติ และคนต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทํางาน แต่ทํางานกับนายจ้างไม่ตรงตามที่ ระบุไว้ในใบอนุญาตทํางาน ให้นายทะเบียนอนุญาตให้เปลี่ยนนายจ้างได้ โดยให้คนต่างด้าวดังกล่าวยื่นคําขออนุญาตเปลี่ยนนายจ้างตามแบบ ตท.๒ หรือ ตท.๘ ท้ายกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการแจ้งการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี ณ สํานักงานจัดหางานจังหวัด ในท้องที่จังหวัดอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ทํางาน ปัจจุบันของคนต่างด้าว หรือสํานักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ - ๑๐ ในเขตพื้ นที่อันเป็น ที่ตั้งของสถานที่ทํางานปัจจุบันของคนต่างด้าว โดยให้คนต่างด้าวชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําขอ ๑๐๐ บาท และค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนนายจ้าง ๙๐๐ บาท และให้ได้รับการยกเว้นการตรวจสุขภาพ ในกรณีคนต่างด้าวที่ เข้ามาทํางานโดยถูกต้องตามกฎหมาย ตามบันทึกความตกลงหรือบันทึก ความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทําไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ ก่อนวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ ให้เปลี่ยน นายจ้างได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราค่าธรรมเนียมที่กําหนดไว้ในวรรคหนึ่ง สําหรับคนต่างด้าว ที่เข้ามาทํางานในประเทศตามบันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทําไว้กับรัฐบาล ต่างประเทศ ภายหลังวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙ ให้เปลี่ยนนายจ้างได้ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้ (ก) นายจ้างเลิกจ้างหรือนายจ้างเสียชีวิต (ข) นายจ้างล้มละลาย (ค) นายจ้างกระทําทารุณกรรมหรือทําร้ายร่างกายลูกจ้าง (ง) นายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างหรือกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน (จ) ลูกจ้างทํางานในสภาพการทํางานหรือสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ อาจทําให้ลูกจ้าง ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย

อ่านราชกิจจานุเบกษาฉบับเต็ม คลิก (ฝังลิงค์นี้   http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/177/6.PDF)