ในช่วง 7 วันข้างหน้า ทั่วทุกภาคของประเทศจะมีฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย

ข้อมูลลักษณะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) พบว่า ในช่วง 7 วันข้างหน้า ทั่วทุกภาคของประเทศจะมีฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ ซึ่งพื้นที่ ในส่วนของลุ่มเจ้าพระยา อาจจะได้รับผลกระทบเนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำ

 

เตรียมตัว!!มท.1 สั่ง 7 จังหวัด ลุ่มเจ้าพระยา เตรียมรับมือ 7 วันนี้ เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน

เตรียมตัว!!มท.1 สั่ง 7 จังหวัด ลุ่มเจ้าพระยา เตรียมรับมือ 7 วันนี้ เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน

 

ข้อมูลลักษณะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) พบว่า ในช่วง 7 วันข้างหน้า ทั่วทุกภาคของประเทศจะมีฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ ซึ่งพื้นที่ ในส่วนของลุ่มเจ้าพระยา อาจจะได้รับผลกระทบเนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำ ดังนั้น ใน 7 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบไปด้วย ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ลพบุรี และ พระนครศรีอยุธยา จำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวรับมือกับ สถานการณ์น้ำท่วม หรือ น้ำหลากในช่วงระยะเวลาดังกล่าว

 

วันที่ 14 กรกฎาคม 2560 ทางด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ(บกปภ.ช.) กล่าวว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้ประสานข้อมูลลักษณะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) พบว่า ในช่วง 7 วันข้างหน้า ทั่วทุกภาคของประเทศจะมีฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ จึงได้สั่งการให้ ปภ.ประสานจังหวัดเตรียมพร้อมรับมือ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัยจากภาวะฝนตกหนัก โดยได้ให้ดำเนินการ 3 ด้าน คือ
 

1.ด้านการเตรียมพร้อมรับมือ ให้จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยประจำพื้นที่เสี่ยงภัยให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที

2.ด้านการประสานการปฏิบัติ ให้บูรณาการและสนธิกำลังเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงาน ให้พร้อมปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และครอบคลุมทุกพื้นที่

3.สร้างการรับรู้แก่ประชาชนให้รับทราบสถานการณ์อุทกภัยและแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ผ่านทุกช่องทางสื่อในพื้นที่ เครือข่ายอาสาสมัคร รวมถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้สามารถเตรียมพร้อมรับมือ ตัดสินใจแก้ไขปัญหา และอพยพหนีภัยได้ทันที

 

นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวระหว่างลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำบริเวณประตูระบายน้ำวัดใบบัว อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่นอกคันกั้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีระดับสูงขึ้น ว่าจากปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ตอนบน จากมีฝนตกหนักทางด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาขึ้นไป บริเวณจังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดชัยนาท จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดลพบุรี ทำให้ปริมาณน้ำดังกล่าวไหลเข้าสู่เขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น คาดว่า ภายใน 3-4 วัน จะมีปริมาณมากถึง 2,100 ลูกบาศก์เมตร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยามากขึ้น ซึ่งอาจต้องระบายมากถึง 1,500 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้กรมชลประทานได้ทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 2 เครื่อง บริเวณประตูระบายน้ำวัดใบบัว เพื่อเร่งสูบน้ำ ป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับพื้นที่นาข้าวของเกษตรกร

เตรียมตัว!!มท.1 สั่ง 7 จังหวัด ลุ่มเจ้าพระยา เตรียมรับมือ 7 วันนี้ เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน

เตรียมตัว!!มท.1 สั่ง 7 จังหวัด ลุ่มเจ้าพระยา เตรียมรับมือ 7 วันนี้ เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน

เตรียมตัว!!มท.1 สั่ง 7 จังหวัด ลุ่มเจ้าพระยา เตรียมรับมือ 7 วันนี้ เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน

เตรียมตัว!!มท.1 สั่ง 7 จังหวัด ลุ่มเจ้าพระยา เตรียมรับมือ 7 วันนี้ เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน