สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พัฒนา “หุ่นยนต์กู้ระเบิด” สายพันธุ์ไทย ” เปี่ยมสมรรถนะ ต้นทุนต่ำ ลดการสูญเสีย และป้องกันเหตุร้าย คาดใช้ปลายปีนี้

(สทป.) พัฒนา “หุ่นยนต์กู้ระเบิด” สายพันธุ์ไทย ” เปี่ยมสมรรถนะ ต้นทุนต่ำ ลดการสูญเสีย และป้องกันเหตุร้าย คาดใช้ปลายปีนี้ 
หุ่นยนต์กู้ระเบิด คือ 1 ในนวัตกรรมที่จะช่วยลดความสูญเสียของประชาชนและเจ้าหน้าที่เก็บกู้ระเบิด แต่ข้อจำกัดสำคัญ คือ “ราคา” ของเทคโนโลยีนี้ ที่มีต้นทุนสูงและปัจจุบันยังคงนำเข้าจากต่างประเทศ
 

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน เฉพาะพื้นที่ บช.น. เจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด หรือ EOD มีหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด 4 เครื่อง แบ่งเป็น หุ่นขนาดเล็กที่ใช้สำรวจระเบิด จำนวน 2 เครื่อง และหุ่นขนาดกลาง ใช้หยิบ-ยกวัตถุระเบิด หรือสิ่งกีดขวาง จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งแม้จะมีน้ำหนักมาตรฐาน คือ 15 กิโลกรัม และยังมีจุดอ่อน คือ ตัวหุ่นยนต์ที่ใหญ่ ไม่สามารถเข้าพื้นที่แคบ และที่สำคัญราคาสูงถึง 6 ล้านบาท

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ  พัฒนา “หุ่นยนต์กู้ระเบิด” สายพันธุ์ไทย ” เปี่ยมสมรรถนะ ต้นทุนต่ำ ลดการสูญเสีย และป้องกันเหตุร้าย คาดใช้ปลายปี
ขณะที่ การนำเข้าหุ่นยนต์ใหม่มีต้นทุนสูง อาทิ หุ่นยนต์จาก Roborteam ซึ่งเป็น 1 ใน 4 บริษัทสัญชาติอิสราเอล ที่ส่งหุ่นยนต์กู้ระเบิดขายในไทย แม้หุ่นยนต์จะเปี่ยมศักยภาพ ทั้งน้ำหนักเบา คือ 15 กิโลกรัม แต่ยกวัตถุได้น้ำหนักกว่า 20 กิโลกรัม มีกล้อง 4 ตัว ที่เคลื่อนที่ได้ 360 องศา และแป้นคอนโทรลขนาดเล็ก อีกทั้งยังมีอุปกรณ์เสริม อาทิ แมปปิง หรือ เลเซอร์แสกนแผนที่ แต่อุปสรรคในการเข้าถึงเทคโนโลยี ที่เฉพาะตัวหุ่นกับคอนโทรล มีราคาสูงถึง 2,800,000 บาท ยังไม่นับอุปกรณ์เสริมและการซ่อมบำรุง
 

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ  พัฒนา “หุ่นยนต์กู้ระเบิด” สายพันธุ์ไทย ” เปี่ยมสมรรถนะ ต้นทุนต่ำ ลดการสูญเสีย และป้องกันเหตุร้าย คาดใช้ปลายปี

ส่าสุด สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) พัฒนา “หุ่นยนต์กู้ระเบิด” สายพันธุ์ไทย ชื่อ ดี-เอ็มพาย ที่ถูกพัฒนาโดยวิศวกรไทย สทป. และมหาวิทยาลัยสงขลาฯ ซึ่งสามารถออกแบบให้มีน้ำหนักเบา 15 กิโลกรัม และมีอุปกรณ์พื้นฐานครบ คือ ล้อ ที่เปลี่ยนได้ทั้งล้อปกติและสายพาน, กล้อง 3 ตัว สำหรับตรวจวัตถุระเบิด, ฟลิปเปอร์ (Flipper) ที่ใช้พยุงหุ่นยนต์ในพื้นที่เอียง หรือ ขึ้นบันได และแขนหยิบ-ยก ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยสงขลาฯน.ท.ดร.ธนาสิทธิ์ เสือส่าน วิศวกรระบบเก็บกู้ระเบิด สทป. กล่าวว่า การผลิตเองช่วยลดต้นทุน จากเดิมนำเข้า ราคาไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท แต่ผลิตเองต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 8 แสนบาท นอกจากนี้ ยังลดต้นทุนในการซ่อมแซมระยะยาวและทำให้เจ้าหน้าที่กล้าใช้หุ่นยนต์เต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลว่า หุ่นยนต์มีราคาสูงทั้งนี้ ปลายปี 2560 สทป. เตรียมส่งหุ่นยนต์กู้ระเบิด 10 เครื่อง ให้กองทัพบก, กองทัพเรือ และตำรวจ ทดลองใช้ ซึ่งจะมีการเก็บข้อมูลทุก 3 เดือน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้เหมาะกับการใช้งาน
เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนานี้จึงเป็นความหวังใหม่ ที่หน่วยงานในกำกับของรัฐและสถาบันการศึกษาจะช่วยกันพัฒนา “หุ่นยนต์กู้ระเบิด” เปี่ยมสมรรถนะ แต่มีต้นทุนลดลง เพื่อลดการสูญเสีย และป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นในประเทศ

 

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ  พัฒนา “หุ่นยนต์กู้ระเบิด” สายพันธุ์ไทย ” เปี่ยมสมรรถนะ ต้นทุนต่ำ ลดการสูญเสีย และป้องกันเหตุร้าย คาดใช้ปลายปี