สู้มะเร็งกว่า10ปียึดศก.พอเพียง-เกษตรอินทรีย์เป็นเกษตรกรดีเด่น-ทุเรียนชนะประกวด

สู้มะเร็งกว่า10ปียึดศก.พอเพียง-เกษตรอินทรีย์เป็นเกษตรกรดีเด่น-ทุเรียนชนะประกวด

          อำไพ สุขไกรรัตน์  เจ้าของ “ สวนทุเรียนน้าอำไพ  ” พื้นเพเดิมเป็นคนอ่างทอง เคยทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาล โรงพยาบาลเลิดสิน    ต่อมาพบว่า ตัวเองป่วยเป็นมะเร็งที่ลำคอ  จึงลาออกเพื่อรักษาตัวและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ขออยู่กับเทือกเขาไร่สวน เดินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรอินทรีย์ โดยซื้อที่ดินจากชาวบ้าน ประมาณ  32 ไร่ ปลูกไม้ผลหลากหลายชนิด อาทิ  ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ลิ้นจี่  มะกรูด มะนาว ส้ม  กล้วย  โดยทุเรียนซึ่งปลูกมากที่สุดนำต้นพันธ์มาจากจันทบุรี เมื่อมาปลูกกับดินที่ทองผาภูมิ ได้รสชาติ อร่อย เนื้อแน่น ทั้งนี้อำไพตั้งใจทำสวนแห่งนี้ในแนวทางเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ต้น  เพราะต้องการให้เกษตรอินทรีย์เยียวยาอาการป่วยของตัวเองด้วย 


               วันนี้สิ่งที่อำไพทุ่มเทนอกจากสร้างรายได้เลี้ยงตัวเองได้  สุขภาพของตัวเองดีขึ้นเพราะได้ทำงานทุกวัน ร่างกายหลีกไกลจากสารเคมี  ขณะเดียวกันยังได้รับการยอมรับ  โดยได้รับเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาทำสวนเมื่อปี 2556  ขณะที่ผลผลิตโดยเฉพาะทุเรียนล่าสุดในงานวันผลไม้ดีของอำเภอทองผาภูมิปี  2560 ทุเรียนของอำไพได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดทุเรียนก้านยาว และรองชนะเลิศอันดับ 2 ทุเรียนหมอนทอง  
            อำไพ เล่าว่า ในสวนแห่งนี้ปฏิเสธการใช้สารเคมีอย่างสิ้นเชิงเพราะตัวเองป่วยด้วยโรคมะเร็ง การบำรุงดูแลไม้ผลต่างๆก็ใช้สารเพิ่มประสิทธิภาพดิน จุลินทรีย์ 12 ตระกูล  ซึ่งใช้มากว่า 2 ปีแล้ว  โดยนอกจากใช้รองก้นหลุมแล้วยังใช้กับพืชผลต่างๆที่ปลูกในสวน ไม่ว่าจะเป็นกล้วย มะกรูด เงาะ มังคุด และยังใช้ร่วมกับน้ำหมักที่ทำเองฉีดพ่นทางใบ ทำให้ผลผลิตสมบูรณ์ผลใหญ่  ล่าสุดคุณอำไพเตรียมลงทุเรียนเพิ่มอีก 150 ต้น และยังคงเลือกใช้ สารเพิ่มประสิทธิภาพดิน จุลินทรีย์ 12 ตระกูล  เพื่อขยายผลการทำเกษตรกรอินทรีย์ให้มากขึ้น
         “ปัจจุบันทุเรียน โลละ100 กว่าบาท ต้นหนึ่งได้ผลผลิตกว่า 100 ลูก ขณะนี้ทางจังหวัดกำลังหาทางช่วยเพิ่มมูลค่าให้เนื่องจากเป็นผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะทำให้ขายได้ในราคาที่สูงกว่า ทุเรียนที่ใช้สารเคมี” อำไพกล่าว     
          ทั้งนี้ สารเพิ่มประสิทธิภาพดิน จุลินทรีย์ 12 ตระกูล  ต่อยอดมาจาก ศาสตราจารย์ โอกาดะ ที่ได้นำจุลินทรี E.M. ออกเผยแพร่ และลูกศิษย์ลูกหา ซึ่งมี “สมคิด กิจวิถี” เป็น หนึ่งในกลุ่มนักวิชาการที่เป็นหัวขบวนในเรื่องนี้ ได้นำจุลินทรี 5 ตระกูลมา มาต่อยอดอีก 7 ตระกูล รวมเป็น 12 ตระกูล  

สู้มะเร็งกว่า10ปียึดศก.พอเพียง-เกษตรอินทรีย์เป็นเกษตรกรดีเด่น-ทุเรียนชนะประกวด  
 


            “ทั้งจุลินทรีย์กินอากาศและไม่กินอากาศ เป็นตัวย่อยสลายหินเปลือกโลก ให้เป็นดินปุ๋ย โดยย่อยสลายแร่ธาตุที่มีอยู่ไต้ดินได้ ขณะที่ในไร่นาสวน ได้ฆ่าจุลินทรีย์หมดแล้วด้วยขบวนการทางเคมี จึงจำเป็นต้องเติมจุลินทรีย์ลงไปในดินให้ได้มากที่สุดที่จะทำได้ จากแนวคิด 2 ข้อนี้ ได้มีการวิเคราะห์ว่าจุลินทรีย์สามารถเจริญพันธุ์ได้ ในวัตถุดิบที่ใช้ทำปุ๋ยได้ดีหรือไม่ และวัตถุดิบทำปุ๋ยนั้นๆ จุลินทรีย์ทั้งสองเหล่า คือเหล่ากินอากาศและเหล่าไม่กินอากาศ จะเจริญพันธุ์ร่วมกันในปุ๋ยกองเดียวกันได้หรือไม่? ได้มีบทสรุปจากการทดลองมากกว่า 1,000 ครั้ง ในทั่วภูมิภาคของประเทศไทย และสรุปลงตัวได้ในจุลินทรีย์ 12 ตระกูล ซึงเป็นจุลินทรีย์หลัก ในการประสานงานดึงจุลินทรีย์ตระกูลอื่นที่เป็นประโยชน์ในดินมาร่วมขบวนในการปรับปรุงคุณภาพดินให้ดี  หรือเรียกว่า การสร้างก้อนดินให้เป็นก้อนปุ๋ย โดย ปุ๋ยที่ทำสำเร็จแล้วในน้ำหนัก 1 กรัมจะต้องมีจุลินทรีย์ไม่น้อยกว่า 2,000,000 ตัว(สองล้านตัว)” สมคิดกล่าว

สู้มะเร็งกว่า10ปียึดศก.พอเพียง-เกษตรอินทรีย์เป็นเกษตรกรดีเด่น-ทุเรียนชนะประกวด

 

สู้มะเร็งกว่า10ปียึดศก.พอเพียง-เกษตรอินทรีย์เป็นเกษตรกรดีเด่น-ทุเรียนชนะประกวด

          ผู้สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ สามารถติดต่อ  “อำไพ สุขไกรรัตน์"  ได้ที่ “สวนทุเรียนน้าอำไพ ”หมู่ที่ 3 ตำบลหินดาด อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 
           ผู้สนใจข้อมูลสารเพิ่มประสิทธิภาพดิน จุลินทรีย์ 12 ตระกูลสามารถสอบถามรายละเอียดได้จาก “บดินทร์เดชา ชูคล้าย” โทรศัพท์ 099-476-5559

 

 

สู้มะเร็งกว่า10ปียึดศก.พอเพียง-เกษตรอินทรีย์เป็นเกษตรกรดีเด่น-ทุเรียนชนะประกวด