เรื่องเงินเรื่องใหญ่ !!! การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายที่ "สามี-ภรรยา" ต้องรู้ หากเกิดการ"หย่าร้าง" สรุปง่ายๆเข้าใจได้ทันที!

วันที่ 6 สิงหาคม 2560 ทนายชื่อดัง เกิดผล แก้วเกิด ได้โพสต์ข้อกฎหมายผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงกรณีการแบ่งสินสมรสของสามี-ภรรยาที่มีเหตุหย่าร้างกัน ทั้งสมัครใจและโดนฟ้องร้อง ระบุว่า

เมื่อสามีภรรยา หย่าร้างกัน ไม่ว่าจะสมัครใจหย่า หรือ หย่าโดยคำพิพากษาของศาลก็ตาม

1. หากในขณะที่หย่า หรือศาลพิพากษาให้หย่า ไม่ได้ตกลงกันเรื่องสินสมรสไว้ และไม่สามารถแบ่งสินสมรสกันได้ เพราะเหตุใดก็ตาม คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถนำมาฟ้องแบ่งสินสมรสได้ ตามกฎหมาย แม้จะเคยฟ้องหย่ามาแล้ว และภายหลังมาฟ้องแบ่งสินสมรส ก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องซ้ำ แต่อย่างใด

พิพากษาศาลฎีกาที่ 3786/2546
ประเด็นในการฟ้องหย่าในคดีก่อนมีสาระเป็นเรื่องของสภาพการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา แต่เรื่องการขอแบ่งสินสมรสในคดีหลังเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินโดยมีสาระอยู่ที่ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคนละมูลคดีกันแม้จะมีผลมาจากการฟ้องหย่าแต่ก็หาจำต้องขอแบ่งสินสมรสมากับคดีฟ้องหย่าไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติว่าจะต้องฟ้องขอแบ่งสินสมรสมาพร้อมกันกับการฟ้องหย่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอแบ่งสินสมรสจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

2. ในกรณีสมัครใจหย่า โดยมีข้อตกลงเรื่อง ค่าเลี้ยงชีพ หรือ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งมักตกลงให้ฝ่ายชาย (อาจจะมีฝ่ายหญิงบ้าง) ส่งเสียอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นรายเดือน ๆ ละ เท่านั้น เท่านี้บาท จนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ เช่น

Ex 1 ให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร โดยฝ่ายชายจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 5,000 บาท ทุกๆวันที่ 2 ของทุกเดือน ไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ โดยเริ่มชำระงวดแรก วันที่ 2 สิงหาคม 2560 จนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ ตามตัวอย่างนี้ จะพบเห็นปัญหามากมาย เพราะเงื่อนไขสำคัญมี 2 ประการ คือ

1.ชายจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจนกว่า #จะบรรลุนิติภาวะ

คำว่า บรรลุนิติภาวะ เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ เมื่ออายุ 20 ปี บริบูรณ์ หรือ เมื่อผู้เยาว์สมรสชอบด้วยกฎหมาย เช่น ผู้เยาว์ อายุ 17 ปี สมรสโดยควสมยินยอมของมารดา ก็ถือว่า การสมรสนั่น เป็นเหตุให้พ้นสภาพจากการเป็นผู้เยาว์ และ เป็นบุคคลที่มีภาวะในสถานะผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว เสมือนอายุ 20 ปี บริบูรณ์ ฝ่ายบิดา ก็ไม่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อไป

2. การจ่ายค่าอุปการะเลี่ยงดูทุกๆเดือนๆละ 1 ครั้ง นั้น มีผลต่อการผิดนัด อย่างไรบ้าง
ส่วนใหญ่คู่สมรส จะไม่ทราบว่า ในกรณีมีข้อตกลงให้แบ่งชำระ เป็นงวดๆ เช่น งวดเดือนสิงหาคม กันยายน ตุลาคม ฝ่ายชายยังชำระตามปกติ เดือนละ 5,000 บาท
แต่พอมาถึงเดือน พฤศจิกายน ธันวาคม ฝ่ายชายไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามข้อตกลงแต่เดือน มกราคม 2561 ยังมาไม่ถึง ซึ่งฝ่ายชายไม่ยอมจ่ายค่าอุปการะ ก็ถือว่าผิดนัดเพียง 2 งวด คือ งวดเดือน พฤศจิกายน และ ธันวาคม เท่านั้น งวดที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ยังไม่ถือว่าผิดนัด

กรณีแบบนี้ ฝ่ายหญิงจะเสียเปรียบทันที เพราะถ้าจะฟ้องร้อง ก็ฟ้องเรียกได้เพียง 2 เดือน คือ เดือน พ.ย. และ ธ.ค. 2560 เท่านั้น
ส่วนเดือนอื่นๆ ฟ้องไม่ได้ จะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อฝ่ายชายผิดนัด
วิธีแก้ไขและป้องกันพอมี .. ครั้งต่อไปจะมาแนะนำวิธีป้องกันจอมเจ้าเล่ห์ ไม่จ่ายเงินค่าเลี้ยงดูบุตรตามสัญญา ...

เรื่องเงินเรื่องใหญ่ !!! การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายที่ "สามี-ภรรยา" ต้องรู้ หากเกิดการ"หย่าร้าง"  สรุปง่ายๆเข้าใจได้ทันที!

 

 

อ้างอิง  เกิดผล แก้วเกิด