สะใจกองเชียร์ ! “จรูญ หยูทอง” ยันแต่งกลอน “ใครหาหูหนี”แสดงออกทางศิลปะคดีจำนำข้าว

สะใจกองเชียร์ ! “จรูญ หยูทอง” ยันแต่งกลอน “ใครหาหูหนี”แสดงออกทางศิลปะคดีจำนำข้าว

จากกรณี ศิลปินแห่งชาติและนักวิชาการ วิจารณ์  น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่มาฟังคำพิพากษาของศาลในคดี โครงการรับจำนำข้าว  โดยนำปัญหาน้ำในหูไม่เท่ากัน และการหนีออกนอกประเทศของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาแต่งเป็นกลอนคำผวน และถูกตีความจาก มวลชนและนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งว่า เป็นการเหยียดเพศ หยาบโลน โดยเสนอให้ปลดออกจากตำแหน่งศิลปินแห่งชาติและวงการวิชาการนั้น ล่าสุด จรูญ หยูทอง นักวิชาการสถาบันทักษิณคดีศึกษา ซึ่งแต่งกลอน

“ใครพาหูหนี”และตกเป็นหนึ่งในคู่กรณีสังคมขณะนี้ได้โพสต์ภาพและเนื้อหา ยืนยันการกระทำของตัวเองว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ พร้อมโต้กลับกลุ่มคนที่วิจารณ์ตำหนิว่า 

 “ส่องสังคมไทยผ่านน้ำในหูฯของจำเลยคดีรับจำนำข้าว
จากกรณีที่จำเลยในคดีรับจำนำข้าวคนหนึ่งไม่มารับฟังการอ่านคำพิพากษาของศาลฯในวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ โดยอ้างต่อศาลผ่านทางทนายความว่า “ป่วยหนัก หน้ามืด วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรงเพราะน้ำในหูไม่เท่ากัน จึงไม่สามารถมาศาลได้” ซึ่งศาลฯไม่เชื่อว่าจำเลยป่วยจริงตามอ้างเพราะไม่มีใบรับรองแพทย์ จึงออกหมายจับตัวจำเลยให้มาฟังการอานคำพิพากษาในวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๐ ต่อไป

ซึ่งต่อมาปรากฏความจริงว่า จำเลยคนนั้นได้หลบหนีออกจากประเทศไทยไปก่อนหน้านั้นแล้ว แต่กลับหลอกลวงสื่อมวลชนและคนทั่วโลกว่าจะออกจากบ้านในเช้าวันที่ ๒๕ สิงหาคม เวลา ๗.๓๐ น.เพื่อไปศาล ทำให้สื่อมวลชนจำนวนหนึ่งไปรอทำข่าวอยู่หน้าบ้านและหลายคนทำทีเหมือนไม่รู้ว่าจำเลยหนีไปแล้ว แต่มีบางคนน่าจะรู้แล้วเลยไม่มาศาล ส่วนฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงกลับออกมาบอกว่าไม่รู้และยังคิดว่าจำเลยยังอยู่ในประเทศและอาจจะไปรักษาอาการป่วยอยู่ที่ไหนสักแห่ง(อันนี้ไม่รู้เขาเชื่อเช่นนั้นจริงไหมเหมือนกัน)

 

 

หลังจากนั้น หลายคนได้หยิบยกเอาเรื่อง “น้ำในหูไม่เท่ากันฯ”ของจำเลยมาล้อเลียนทางการเมืองในหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปภาพและคำผวน เนื้อหาสาระก็เพื่อวิพากษ์พฤติกรรมที่ไม่สง่างามของจำเลยเหมือนที่ศาลไม่เชื่อเลยออกหมายจับ   แต่แทนที่คนบางกลุ่มในสังคมนี้จะคิดตามภาพและข้อเขียนเหล่านี้เกี่ยวกับประเด็นคนดีระดับอดีตนายกรัฐมนตรีที่เคยถูกสถาปนาเป็นวีรสตรี-นักรบประชาธิปไตยที่พร้อมจะยอมตายในสนามรบแต่กลับไม่มีสัจจะศีลธรรมขั้นพื้นฐาน ไม่รักษาคำพูดต่อ

สื่อมวลชน ศาลและประชาชน คนเหล่านี้กลับออกมาประณามหยามเหยียดคนที่เล่นคำผวนล้อเลียนว่าละเมิดจารีตทางเพศ มีทัศนะกดขี่ทางเพศและลามปามไปถึงบุพการีของผู้เขียน อีกทั้งยังไปไกลถึงการเคลื่อนไหวเข้าชื่อกันถอดถอนผู้เขียนออกจากตำแหน่งศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ด้วยข้อหาว่าประพฤติตนเสื่อเสียเกียรติยศไม่สมศักดิ์ศรีและสร้างความเสื่อมเสียแก่วงการศิลปินแห่งชาติ

จากปรากฏการณ์และธาตุแท้ดังกล่าวข้างต้นของคนในสังคมไทยในกรณีนี้  ผมมีความเห็นและค้นพบว่า
ประการแรก สังคมไทยมีคตินิยมในเรื่องความดี-ความชั่ว ธรรมะ-อธรรมหรือพูดให้ถึงที่สุดคือ อุบาทว์-ศักดิ์สิทธิ์ แตกต่างกันสุดขั้ว กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อหรือให้ความนับถือศรัทธาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิเพียงหนึ่งเดียว ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งกลับมองว่าสิ่งนั้นคืออุบาทว์ พูดง่ายๆว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของฝ่ายหนึ่งกลายเป็นสิ่งอุบาทว์สำหรับอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งอยู่ตรงกันข้าม โดยไม่ได้เรียนรู้ สรุปบทเรียนว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต้องเป็นคุณมากกว่าโทษ และสิ่งที่เรียกว่าอุบาทว์ย่อมมีโทษมากกว่าคุณ ตามคติความเชื่อของบรรพบุรุษไทย

ประการที่สอง ฝักฝ่ายทางความเชื่อของคู่ขัดแย้งในสังคมไทยมีสมาชิกหลายระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานทั่วไปจนถึงระดับ “สาวก”ผู้ยอมตายถวายหัวและออกมาปกป้องคนที่ตัวเองเชื่อถือ คนเหล่านี้จะฟังเฉพาะคนที่ตัวเองเชื่อและเป็นผู้นำของตนฝ่ายเดียวและเชื่อโดยสนิทใจและปฏิเสธอีกฝ่ายในทุกกรณี แม้แต่กับศาลสถิตยุติธรรม
ประการที่สาม สังคมนี้มักอ้างเรื่องสิทธิสตรี การกดขี่ทางเพศแบบลักปิดลักเปิด ไม่เสมอภาค ไม่เสมอต้อนเสมอปลาย เช่น กรณีบทกวีคำผวนถูกกล่าวหาว่าผู้เขียนมีทัศนคติกดขี่ทางเพศ จนคนกลุ่มหนึ่งทนไม่ได้ออกมาก่นประณามอย่างหยาบคายด้วยคำถ่อยสถุลภายใต้หลักการ “คนดีที่ทนต่อความหยาบคายไม่ได้” แต่คนพวกนี้กลับเฉยเมยต่อกรณีการละเมิดทางเพศของบคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ตกเป็นข่าวอยู่ก่อนหน้านี้ เช่นเดียวกับกรณีอื่นๆที่คล้ายกันนี้อีกมากมาย(หรือเพราะกลุ่มนี้เขาสนใจเฉพาะกรณีอดีตนายกรัฐมนตรีคนนี้เท่านั้น)

ประการที่สี่ สังคมนี้ไม่เข้าใจวิถีวรรณกรรมชาวบ้านหรือวรรณกรรมท้องถิ่นที่เรียกว่าคำผวนและการ “เล่นเพลงเล่นเพศ”ในแวดวงศิลปินพื้นบ้านทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทยที่ไม่ว่าจะเป็นเพลงเรือ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ลำตัด หนังตะลุง โนรา ลิเก รองแง็ง ฯลฯ ล้วนเข้าลักษณะเอาเรื่องเพศมาอุปมาอุปไมยเพื่อความสนุกสนานและทั้งผู้แสดงและคนดูไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องลามกอนาจาร(หากมีศิลปะในการแต่ง) และทัศนะเกี่ยวกับผู้หญิงถ้าจะว่าไปแล้ว วรรณคดีไทยหลายเรื่องและนักเขียน-กวีไทยที่เรารู้จักกันดีหลายคนก็มีสิทธิ์ถูกกกล่าวหาว่ามีคตินิยมกดขี่ทางเพศ เช่น เรื่องขุนช้างขุนแผน สุนทรภู่ เป็นต้น(หรือเพราะเรื่องและคนเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับอดีตนายกรัฐมนตรีท่านนี้อีกเหมือนกัน)

ประการที่ห้า สังคมนี้มักเอาจริงเอาจังกับเรื่องเล่นๆ แต่ไม่สนใจเรื่องสำคัญ เรื่องใหญ่ๆที่เกี่ยวกับความเสียหาย ความเป็นความตายของชาติบ้านเมือง เช่น จะเป็นจะตายเสียให้ได้กับการเขียนคำผวนล้อเลียนอดีตนายกรัฐมนตรี แต่กลับไม่สนใจความเสียหายต่อชาติบ้านเมืองที่คนเหล่านี้กระทำและที่สำคัญจรรยาบรรณของอดีตผู้นำชาติที่โกหกคนทั้งโลก โหกศาล สื่อมวลชนและประชาชน ซึ่งน่าจะสร้างความเสียหายต่อชาติบ้านเมืองและสังคมมากกว่าหลายเท่า

ประการที่หก สังคมนี้มีทัศนคติต่อศาลว่า ถ้าตัดสินเป็นคุณกับตนและพวกก็จะบอกว่ายุติธรรมดี แต่ถ้าตัดสินให้เป็นโทษก็จะบอกว่าไม่ยุติธรรม สองมาตรฐาน เป็นศาลในระบบเผด็จการ สรุปง่ายๆว่า “ยุติธรรมหรือเป็นกลางคือเข้าข้างกู”สถานเดียวเท่านั้น เพราะ “กูและพวกกูคือความถูกต้อง” คือ “อารยะ” “ผู้มีปัญญารอบรู้” “ทันสมัย” เป็น “ประชาธิปไตย” ส่วนพวกอื่นเป็น “เผด็จการ” “สลิ่ม” “แมลงสาบ” “หยาบช้า” “สามานย์” ฯลฯ

 

สะใจกองเชียร์ ! “จรูญ หยูทอง” ยันแต่งกลอน “ใครหาหูหนี”แสดงออกทางศิลปะคดีจำนำข้าว

สะใจกองเชียร์ ! “จรูญ หยูทอง” ยันแต่งกลอน “ใครหาหูหนี”แสดงออกทางศิลปะคดีจำนำข้าว

 

 

ประการที่เจ็ด สังคมนี้เป็น “สังคมแห่งความรู้สึก”ไม่ใช่ “สังคมแห่งการเรียนรู้” เราถูกสอนให้ “เชื่อ”และให้ “จำ”ตามที่ผู้ให้กำเนิด ผู้นำ ผู้มีอำนาจต้องการมากกว่าสอนให้ “เรียนรู้”และสอนให้ “คิด” เราจึงเชื่อตามๆกันไปด้วยศรัทธามากกว่าปัญญา และที่น่าเศร้าคือเราศรัทธาในสิ่งที่ไม่น่าศรัทธา เราเจ็บแล้วไม่จำ ไม่เรียนรู้ ไม่สรุปบทเรียนของความผิดพลาดและเราไม่ให้เกียรติในความคิดต่างของกันและกัน เรารักและเกลียดกันตามที่ผู้นำที่เราศรัทธาสั่งให้รักและบอกให้เกลียดตามๆกันไป
ทางออกสำหรับสังคมแบบนี้ที่ยั่งยืนคือสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมและจิตสำนึกสาธารณะ เพื่อให้คนในสังคมรู้จักเรียนรู้และแยกแยะให้ออกระหว่าง “สิ่งศักดิ์สิทธิ์”กับ “อุบาทว์”หรือ “ความดี”กับ “ความชั่ว” หรือ “ธรรมะ”กับ “อธรรม” ฯลฯ ว่ามันมีเส้นแบ่งหรือดูกันที่ตรงไหน โดยไม่ต้องมีใครมาบังคับบัญชาสั่งให้เชื่อให้จำโดยไม่รู้จักคิด ในระยะเร่งด่วน เราต้องใช้กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันการเมืองการปกครอง สถาบันสื่อมวลชน-สันทนาการ ฯลฯ ออกมาให้ความจริงกับสมาชิกในสังคม บอกเล่าให้คนรุ่นหลังรู้ความจริง อยู่กับความจริงและยอมรับความจริงและที่สำคัญ คนที่เป็นหลักให้กับชาติบ้านเมืองต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนอื่น ให้เหมือนที่เวียดนามมีลุงโฮ พม่ามีอองซาน สิงคโปร์มีลีกวานยู ฯลฯ

ไม่ใช่มีแต่แบบอย่างที่ไม่ดี ไม่คู่ควรแก่การยอมรับนับถือของอนุชน ทั้งฝ่ายที่หมดอำนาจและฝ่ายที่มีอำนาจเช่นที่ผ่านมา
สุดท้ายแล้วเราต้องตอบคนไทยด้วยกันและชาวโลกให้ได้ว่า เราขัดแย้งกันเรื่องอะไร เราเกลียดกัน เราทำลายล้างกันทำไม เพราะอะไร เพื่อใครและมันจะจบลงอย่างไร.
Cr.FB : จรูญ หยูทอง