เปิดโปง!!  ที่มาธรณีสงฆ์ ส่ง ยงยุทธ วิชัยดิษฐ รับโทษจำคุก 2 ปี เล่นแร่แปรธาตุ จากที่วัด สู่ อาณาจักรสนามกอล์ฟอัลไพน์

ที่ศาลอาญาแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ มีการตัดสินคดีที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ โดย ศาลอาญาแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้นัดอ่านคำพิพากษา

เมื่อเวลา 09.50 น. วันที่ 29 สิงหาคม 2560 ที่ศาลอาญาแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ มีการตัดสินคดีที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ โดย ศาลอาญาแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้นัดอ่านคำพิพากษาในคดีที่ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และอดีต รมว.มหาดไทย สมัยดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อปี 2544 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จากกรณีการจดทะเบียนโอนมรดกและโอนสิทธิขายธรณีสงฆ์ของที่ดิน วัดธรรมามิการามวรวิหาร จ.ปทุมธานี จำนวน 732 ไร่โดยมิชอบ

 

ทั้งนี้ ศาลมีคำพิพากษา จำคุก นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ เป็นเวลา 2 ปี ไม่รอลงอาญา จากคำสั่งเพิกถอน คำสั่งให้คืนที่ดินของอธิบดีกรมที่ดิน ศาลเห็นว่า จงใจหาผลประโยชน์และเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท อัลไพน์ และทำลายศรัทธา ของผู้เลื่อมใสพุทธศาสนา และทำให้กรมที่ดิน ที่เป็นหน่วยงานรัฐต้องเสื่อมเสีย หลังจากทราบผล นายยงยุทธ มีดวงตาแดงก่ำ และปฏิเสธให้สัมภาษณ์ ถึงกระบวนการยื่นประกันตัว

ถ้าย้อนกลับไป ก็ต้องไปไล่เรียงเรื่องดังต่อไปนี้....

 

เปิดโปง!!  ที่มาธรณีสงฆ์ ส่ง ยงยุทธ วิชัยดิษฐ รับโทษจำคุก 2 ปี เล่นแร่แปรธาตุ จากที่วัด สู่ อาณาจักรสนามกอล์ฟอัลไพน์

 

วันที่ 26 ตุลาคม 2559 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้นำสำนวนคดีที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ เป็นเอกสารประมาณ 8 ลัง เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ขณะนั้น และอดีตหัวหน้าหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157


.............................................................

 

ซึ่งที่มาของการยื่นฟ้องดังกล่าว เกิดจากเรื่องราวของที่ดิน มีประวัติที่น่าติดตามอย่างยิ่ง โดยแรกเริ่มเดิมทีดินนั้น คุณยายเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ผู้เป็นอุปัฏฐายิกาของเจ้าอาวาสวัดธรรมิการามวรวิหาร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ทำพินัยกรรม ณ ที่ว่าการอำเภอดุสิต ต่อหน้าว่าที่ร้อยตรีเสมอใจ พุ่มพวง นายอำเภอดุสิตในขณะนั้น

 

20 พฤศจิกายน 2512 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 20 ตำบลคลองซอยที่ที่ 5 ฝั่งตะวันออก (บึงตะเคียน) อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เนื้อที่ 730 ไร่ 1 งาน 51 ตารางวา ถวายเป็นกรรมสิทธิ์ให้แก่วัดธรรมมิการามวรวิหาร

 

22 พฤษภาคม 2514 คุณยายเนื่อมได้ถึงแก่กรรมเมื่อ จึงมีการตั้งผู้จัดการมรดก แต่การณ์ปรากฏว่าแทนที่ ที่ดินดังกล่าวจะถูกจดทะเบียนโอนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของวัด แต่พระราชเมธาภรณ์อดีตเจ้าอาวาส แสดงเจตจำนงจะขายที่ดินของวัด แต่ผู้จัดการมรดกเดิมที่มีจำนวน 3 คนไม่ยอมจึงได้มีการตั้งผู้จัดการมรดกใหม่คือมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ต่อมาก็ได้โอนที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ

31 สิงหาคม 2533 มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ มีการขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้กับทางด้านบริษัท อัลไพน์ เรียลเอสเตท จำกัด และบริษัท อัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ต คลับ จำกัด ในราคา 142 ล้านบาท

 

ทั้งนี้จากการตรวจสอบปรากฏว่า บริษัททั้งสองแห่งมี นางอุไรวรรณ เทียนทอง ถือหุ้นอยู่ 3 แสนหุ้น มูลค่า 30 ล้านบาท, นายวิทยา เทียนทอง ถือหุ้นอยู่ 1.5 แสนหุ้น มูลค่า 15 ล้านบาท, นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ ถือหุ้น 1.5 แสนหุ้น มาตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2533 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ นายเสนาะ เทียนทอง จะไม่อนุญาตให้วัดรับที่ดินที่ได้มาตามพินัยกรรม เพราะตามประมวลกฎหมายที่ดิน ผู้ใดจะถือครองที่ดินของวัดเกิน 50 ไร่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องอนุมัติก่อน ซึ่งในการนี้ผู้ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้นคือ นายเสนาะ เทียนทอง ต่อมามีการนำที่ดินแปลงนี้ไปจำนองในวงเงิน 220 ล้านบาท และในปี พ.ศ.2541 และทาง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาขอซื้อสนามกอล์ฟอัลไพน์จาก นายเสนาะ เทียนทอง ในราคา 500 ล้านบาท

เปิดโปง!!  ที่มาธรณีสงฆ์ ส่ง ยงยุทธ วิชัยดิษฐ รับโทษจำคุก 2 ปี เล่นแร่แปรธาตุ จากที่วัด สู่ อาณาจักรสนามกอล์ฟอัลไพน์

 

25 ธันวาคม 2543 กรมการศาสนา ในขณะนั้นได้ทำการส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา วินิจฉัยในข้อกฎหมายใน และได้รับคำตอบตามหนังสือ ที่ นร 0601/0175 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 โดยสรุปว่าวัดธรรมิการามวรวิหาร ได้กรรมสิทธิ์ทันทีที่นางเนื่อมถึงแก่กรรม ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่ธรณีสงฆ์ ตามมาตรา33(2) (13) แห่ง พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ซึ่งการโอนที่ธรณีสงฆ์ต้องทำโดยพระราชบัญญัติ ตามมาตรา 34(14)แห่ง พรบ.คณะสงฆ์ โดยมาตรา 84 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินที่ใช้อ้างในการโอนไม่ใช่บทบัญญัติยกเว้นการได้มาดังกล่าว

 

 

ขณะที่ทางด้าน มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางเนื่อมจึงต้องโอนที่ดินมรดกตามพินัยกรรมที่ระบุไว้ให้ตกแก่วัดธรรมิการามวรวิหาร เท่านั้น จะโอนให้แกบุคคลอื่นนอกเหนือจากวัดธรรมิการามวรวิหาร ไม่ได้ การโอนที่ดินมรดกให้แก่บุคคลอื่นนอกเหนือจากที่ระบุให้เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรม จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของเจ้าของมรดก ซึ่งไม่ผูกพันทายาทและจะต้องรับผิดชอบต่อทายาท ตามมาตรา 1720(21) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

จากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าว กรมที่ดินจึงมีคำสั่งเพิกถอนรายการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและโฉนดที่ดินดังกล่าวซึ่งถือได้ว่าเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่ง พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 จากนั้นประชาชนเจ้าของบ้านจัดสรรในสนามกอล์ฟอัลไพน์จึงอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองดังกล่าวต่อผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ซึ่งก็คือปลัดกระทรวงมหาดไทย

 

ด้านนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รักษาการปลัดกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้นในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของกระทรวงมหาดไทยกลับมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของกรมที่ดิน(ที่ให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและโฉนดที่ดิน) ก่อนเกษียณอายุราชการเพียงไม่กี่วัน จนมาถูกรื้อฟื้นเมื่อเดือนธันวาคม 2551 เมื่อมีการสั่งให้กรมที่ดินตรวจสอบใหม่

 

 

 

 

จนเป็นที่มาในการฟ้องร้องคดีดังกล่าว และนำมาซึ่งศาลอาญาแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ มีคำพิพากษา จำคุก นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็นเวลา 2 ปี ไม่รอลงอาญา