ปวดศีรษะนานๆ อย่าชะล่าใจ!! เตือนภัยใครชอบกินอาหารสุกๆ ดิบๆ กระทั่งผัก เสี่ยงเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ เช็คให้ชัวร์ก่อนนำเข้าปาก (มีคลิป)

เมื่อวันที่ 29 ส.ค.60 เพจ Infectious ง่ายนิดเดียว ได้โพสต์เรื่องราวเตือนภัยสำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ทำให้ป่วยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ มีอาการปวดศีรษะนานกว่า 10 วัน มองเห็นภาพซ้อน ตาซ้ายมองด้านข้าง บน และล่างไม่สุด ตรวจร่างกายพบความผิดปกติเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อตา กรณีนี้แพทย์สันนิษฐานว่า พยาธิขึ้นสมอง โดยผู้โพสต์ระบุว่า...

"เตือนภัย" ใครชอบกินอาหารดิบๆไม่สุก แชร์+แท็กคนชอบกินอาหารไม่สุก คนไข้มาด้วยอาการปวดศีรษะ 10 วัน มองเห็นภาพซ้อน ตาซ้ายมองไปด้านข้างบนด้านข้างและล่างไม่สุด ตรวจร่างกายพบความผิดปกติเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อตา สงสัยพยาธิขึ้นสมอง เจาะน้ำไขสันหลังพบเม็ดเลือดขาว (Eosinophil) ชนิดที่พบเวลาติดเชื้อพยาธิ วินิจฉัย เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ คนไข้มีประวัติกินของสุกๆดิบๆ หมูดิบลาบลู่เลือดไม่สุก ที่เคยเจอเคสก่อนๆ
กินหอยเชอรี่ ไม่สุกเอามายำหรือมาลวกจิ้ม หรือกินดี (น้ำดี) จากตัววรนุช นึกถึงเชื้อ 3 เชื้อ
1)พยาธิตัวจี๊ด Gnathostoma spinigerum กินปลาน้ำจืด หนู งู กบ
2)พยาธิหอยโข่งหรือปวดหัวหอย
Angiostrongylus cantonensis กิน หอย กบ ตะกวด งู
3)พยาธิตืดหมู Taenia solium กินหมู ผักไม่สะอาด
ลิ้งค์ความรู้ https://neurosci.kku.ac.th/…/pdf_file/07-Eosinophilic_menin… ปล. กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ปรุงอาหารให้สุก นะครับ

ปวดศีรษะนานๆ อย่าชะล่าใจ!! เตือนภัยใครชอบกินอาหารสุกๆ ดิบๆ กระทั่งผัก เสี่ยงเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ เช็คให้ชัวร์ก่อนนำเข้าปาก (มีคลิป)

ปวดศีรษะนานๆ อย่าชะล่าใจ!! เตือนภัยใครชอบกินอาหารสุกๆ ดิบๆ กระทั่งผัก เสี่ยงเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ เช็คให้ชัวร์ก่อนนำเข้าปาก (มีคลิป)

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบอีโอซิโนฟิลิก (Eosinophilic meningoencephalitis ) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า โรคแองจิโอสตรองจิลิเอซิส แคนโทเนนซิส เกิดจากพยาธิตัวกลม  Angiostrongylus cantonensis ซึ่งปกติแล้วพยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในหลอดเลือดแดงของปอดหนู  ผู้ป่วยจะมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบและสมองอักเสบ น้ำไขสันหลังจะมีจำนวนเซลล์สูง ตรวจพบในน้ำไขสันหลัง มีเซลล์เพิ่มขึ้น เท่ากับหรือมากกว่า 20%  โดยมีจำนวนเซลล์อีโอซิโนฟิลมากกว่า 10% จึงเรียกว่า โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบอีโอซิโนฟิลิก ติดต่อโดย คนกินหอยโข่ง หอยทากยักษ์ สัตว์น้ำหรือพืช ที่มี ตัวอ่อนระยะที่ 3 ของพยาธิชนิดนี้เข้าไป   เข้าสู่และก่อโรคของระบบประสาทกลาง คือ สมอง ไขสันหลัง และเยื่อหุ้มสมอง  

สำหรับประเทศไทย ได้มีการพบผู้ป่วยที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอับเสบและมีเซลล์อีโอซิโนฟิล ประปรายกระจายอยู่ทั่วไป เท่าที่พบแล้วมีมากทางภาคอิสาน กรุงเทพ อยุธยา ปราจีนบุรี สระบุรี  โดยพบพยาธิจากการตรวจศพ    พบว่า หอยโข่ง (Pila snail)  เป็นโฮสต์ กึ่งกลาง นำโรคที่สำคัญในประเทศไทย เนื่องจากผู้ป่วยด้วยโรคนี้มีประวัติอาการหลังจากกินหอยโข่ง และยังตรวจพบพยาธิตัวอ่อน A. cantonensis ในหอยโข่งที่จับเอามาตรวจ จากแหล่งที่ผู้ป่วยนำมาทำอาหารด้วย นอกจากนี้ พิพัฒน์ ชุติชูเดช ได้ตรวจพบพยาธิตัวแก่จากหนู ในปี พ.ศ. 2505 จึงเป็นที่ทราบว่า โรคแองจิโอสตรองจิลิเอซีสมีอยู่ในประเทศไทย และน่าจะเป็นโรคประจำถิ่นเช่นเดียวกับที่พบในหมู่เกาะทะเลใต้

อาการสำคัญ ระยะฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์ แต่บางรายอาจจะมีอาการหลังจากรับประทานหอยโข่งไป 24 ชั่วโมงหลังจากผู้ป่วยกินหอยโข่ง หรือหอยทากยักษ์ จะมีอาการ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ในช่วง 1 – 2 ชั่วโมง หลังกิน ปวดศีรษะน้อยๆ ในช่วง 2 – 3 วันแรก และปวดมากขึ้นอย่างเฉียบพลัน บางคนปวดตุบๆ บางคนปวดมากคล้ายศีรษะจะระเบิด สายตาเสื่อม หลังและคอแข็ง ฟันดัสผิดปกติ Kerning's sign ให้ผลบวก ซึม หมดสติ ผิวหนังชา แขนขาอ่อนแรง ใบหน้าและกล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต ชักกระตุก 

ปวดศีรษะนานๆ อย่าชะล่าใจ!! เตือนภัยใครชอบกินอาหารสุกๆ ดิบๆ กระทั่งผัก เสี่ยงเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ เช็คให้ชัวร์ก่อนนำเข้าปาก (มีคลิป)

การรักษา ส่วนใหญ่รักษาตามอาการ การรักษาที่ดีที่สุดคือ การเจาะน้ำไขสันหลัง ออกบ่อยๆ ครั้งละ 3 - 10 มิลลิลิตรและการใช้สเตียรอยด์ชนิดกิน เช่น เพรดนิโซโลน 30 - 60 มิลลิกรัม ต่อวัน ร่วมกับยาแก้ปวด พบว่า อาการของโรคดีขึ้น

การป้องกันและควบคุม
1.ต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน โดยเฉพาะในเขตชนบท ทราบถึงการติดต่อและการป้องกันไม่ให้เกิดเป็นโรคหลายๆทาง เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และอาสาสมัครในด้านสุขศึกษา
2.ต้องไม่รับประทานหอยหรือสัตว์น้ำอื่นๆ โดยไม่ทำให้สุกเสียก่อน
3.น้ำดื่มควรต้มให้สะอาด เพราะอาจมีระยะติดต่ออยู่ในน้ำ
4.พืชผักที่จะรับประทานสดๆ ควรล้างให้สะอาด
5.ผู้ที่ใช้มือทำงานบริเวณที่มีหอยนำโรค ควรล้างมือให้สะอาดหลังเลิกงาน
6.รณรงค์กำจัดหนูนา นอกจากลดความเสียหายทางผลผลิตการเกษตรแล้ว ยังเป็นการช่วยกำจัดโฮสต์ที่สำคัญต่อวงจรชีวิตของพยาธิ และการกำจัดหอยด้วยวิธีใส่สารเคมี แต่ทำได้ยากในประเทศไทย

ปวดศีรษะนานๆ อย่าชะล่าใจ!! เตือนภัยใครชอบกินอาหารสุกๆ ดิบๆ กระทั่งผัก เสี่ยงเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ เช็คให้ชัวร์ก่อนนำเข้าปาก (มีคลิป)

ขอบคุณ : Infectious ง่ายนิดเดียว