ระทึก ขวัญผวา !!! แผ่นดินไหวเขย่าอินโด 6.3 ริกเตอร์ เข้าขั้นรุนแรง!

เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยารายงานเหตุแผ่นดินไหวซึ่งเกิดขึ้นทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ละติจูด, ลองจิจูด : -1.16, 99.76

ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 เวลา 17.06 Z. หากนับเป็นเวลาตามประเทศไทยคือเมื่อช่วงเวลาประมาณ 00.06 นาฬิกา วันที่ 1 กันยายน 2560 มีขนาด6.3 ริกเตอร์ และลึกจากพื้นผิวดินประมาณ46 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด
 

ระทึก ขวัญผวา !!! แผ่นดินไหวเขย่าอินโด 6.3 ริกเตอร์ เข้าขั้นรุนแรง!

ระทึก ขวัญผวา !!! แผ่นดินไหวเขย่าอินโด 6.3 ริกเตอร์ เข้าขั้นรุนแรง!

สำหรับขนาดของแผ่นดินไหวในครั้งนี้จัดอยู่ในส่วนเข้าขั้นรุนแรง โดยอ้างอิงจากมาตรวัดริกเตอร์มีรายละเอียดว่า 

มาตราริกเตอร์ถูกแบ่ง เป็น 6 ระดับ คือ
ขนาด 1.0 – 2.9 ริกเตอร์ สั่นไหวเล็กน้อย ไม่มากแต่รู้สึกได้ อาจทำให้เกิดการเวียนหัว
ขนาด 3.0 – 3.9 ริกเตอร์ ผู้ที่อยู่ในอาคารจะรู้สึกสั่นไหวเหมือนมีรถขนาดใหญ่วิ่งผ่านข้างบ้านที่พักอาศัยอยู่
ขนาด 4.0 – 4.9 ริกเตอร์ เกิดการสั่นไหวขนาดปานกลาง วัตถุที่แขวนไว้จะมีอาการแกว่งไกวไปมา
ขนาด 5.0 – 5.9 ริกเตอร์ เกิดการสั่นไหวรุนแรง บริเวณกว้าง เครื่องใช้ไม้สอย และวัตถุสิ่งของเคลื่อนที่
ขนาด 6.0 - 6.5 ริกเตอร์ เกิดการสั่นไวรุนแรงมาก อาคารบ้านเรือนจะเกิดความเสียหาย มีการพังทลาย
ขนาด 7.0 ริกเตอร์ขึ้นไป จะเกิดความสั่นไหวรุนแรง อาคารสิ่งก่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง สะพาน จะเกิดความเสียหายมาก แผ่นดินแตกแยก วัตถุที่อยู่บนพื้นจะถูกเหวี่ยงกระเด็น

 

สำหรับแผ่นดินไหวนั้น เป็นปรากฏการณ์สั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปจะไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน

แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน

ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา เรียกว่า วิทยาแผ่นดินไหว เมื่อจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อยู่นอกชายฝั่ง อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ นอกจากนี้ แผ่นดินไหวยังอาจก่อให้เกิดดินถล่ม และบางครั้งกิจกรรมภูเขาไฟตามมาได้

 

 

อ้างอิง กรมอุตุนิยมวิทยา และ วิกิพีเดีย