มารู้จัก บิ๊กแดง ผช.ผบ.ทบ. ป้ายแดง งานนี้พวกจาบจ้วง / ก่อความรุนแรง มีหนาว เพราะเขาคนนี้บอกได้คำเดียว ไม่ธรรมดา

มารู้จัก บิ๊กแดง ผช.ผบ.ทบ. ป้ายแดง งานนี้พวกจาบจ้วง / ก่อความรุนแรง มีหนาว เพราะเขาคนนี้บอกได้คำเดียว ไม่ธรรมดา

มารู้จัก บิ๊กแดง ผช.ผบ.ทบ. ป้ายแดง งานนี้พวกจาบจ้วง / ก่อความรุนแรง มีหนาว เพราะเขาคนนี้บอกได้คำเดียว ไม่ธรรมดา

พล.ท.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2503 มีชื่อเล่นว่า "แดง" จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกเล่น ๆ ของบุคคลทั่วไปว่า "บิ๊กแดง" เป็นบุตรชายคนโตของ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่มีบทบาทในเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 กับ พ.อ.หญิง คุณหญิง อรชร คงสมพงษ์ ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ รศ.ดร.กฤษติกา คงสมพงษ์ (นามสกุลเดิม-ศิริจรรยา) อาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อดีตพิธีกรรายการเกมโชว์กำจัดจุดอ่อน ทางช่อง 3 มีบุตรที่เกิดจากการสมรสก่อนหน้า 2 คน คือ ร.อ.พิรพงษ์ คงสมพงษ์ (ชื่อเล่น-พลุ) และว่าที่ ร.ต.หญิง อมรัชต์ คงสมพงษ์ (ชื่อเล่น-เพลิน)

มารู้จัก บิ๊กแดง ผช.ผบ.ทบ. ป้ายแดง งานนี้พวกจาบจ้วง / ก่อความรุนแรง มีหนาว เพราะเขาคนนี้บอกได้คำเดียว ไม่ธรรมดา

การรับราชการตำแหน่งที่สำคัญ อาทิ นักบินประจำกองบินปีกหมุนศูนย์การบินทหารบก, ฝ่ายเสนาธิการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) และรองเสนาธิการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (รองเสธ.ร.11 รอ.), ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 พัน 2 รอ.) ก่อนติดยศพันเอก (พ.อ.) ในตำแหน่งเสนาธิการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (เสธ.ร.11 รอ.)
จากนั้นขึ้นรับตำแหน่งรองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (รองผบ.ร.11 รอ.) ขณะเดียวกันก็ไปราชการสนามที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ ในหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส

 

จากนั้นขึ้นเป็นเสนาธิการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (เสธ.พล.1 รอ.) ในยศพันเอกพิเศษ พ.อ.(พิเศษ) ก่อนที่จะเป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์และขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (รองผบ.พล.1 รอ.)[6]และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15 และในเวลาต่อมาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทัพภาค 1 พล.ท.อภิรัชต์ เป็นที่รู้จักกันในเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 พล.ท.อภิรัชต์ในฐานะผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการเป็นที่บัญชาการของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นผู้นำกำลังทหารปฏิบัติการยึดคืนสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไทยคมที่จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553 จากการยึดครองของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) แม้จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็เป็นผู้นำทหารกลุ่มสุดท้ายที่อยู่รักษาพื้นที่บนชั้นดาดฟ้าของสถานีไทยคมโดยไม่ยอมทิ้งพื้นที่แม้จะถูกล้อมไว้ทั้งคืน กระทั่งมีการเจรจาต่อรองให้ทหารออกจากพื้นที่ชนิดที่ไร้การปะทะแบบหวุดหวิด

ซึ่งก่อนหน้านั้น พล.ท.อภิรัชต์ เป็นผู้นำทหารในสังกัดกองทัพบกหลายคน หลายเหล่า แถลงข่าวตำหนิพฤติกรรมของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ซึ่งถือว่าเป็นนายทหารรุ่นพี่และเป็นอาจารย์มาก่อนที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ที่ออกมากล่าววิพากษ์วิจารณ์ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก อย่างรุนแรงหลายครั้ง ซึ่งถือเป็นผู้บังคับบัญชาระดับสูง และในต้นปี พ.ศ. 2551พล.ท.อภิรัชต์ เป็นผู้ที่เข้าไปกระซิบกับนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ให้หยุดพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบันจนเป็นที่กล่าวขานมาแล้ว

และเป็นที่ฮือฮาเมื่อ นายกฯได้แต่งตั้งให้ พล.ท.อภิรัชต์ ดำรงตำแหน่ง "ประธานคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งการเข้ามานั่งเป็นประธานบอร์ดสลากของ พล.ท.อภิรัชต์ หรือที่เรียกกันว่า "เสธ.แดง" สะท้อนถึงความไว้วางใจอย่างสูงจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ที่ต้องการ "คนมีฝีมือ" และทำงานได้รวดเร็วฉับไวตามสเป็กของท่านผู้นำ