ลูกหนี้ได้เฮ!!! กฏหมายใหม่ห้ามอายัดเงินเดือนลูกหนี้ มีผลบังคับใช้แล้ววันนี้ (รายละเอียด)

จากกรณีที่มีการแก้กฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฉบับที่ 30 กำหนดมูลค่าของสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่อายัดไม่ได้ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท และบำเหน็จหรือค่าชดเชย ไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร  ซึ่งได้ประกาศราชกิจจานุเบกษาไว้ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 กันยายน 2560 นี้

 

ลูกหนี้ได้เฮ!!! กฏหมายใหม่ห้ามอายัดเงินเดือนลูกหนี้ มีผลบังคับใช้แล้ววันนี้ (รายละเอียด)

 

การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวถือว่าเป็นการปฏิรูปการบังคับคดีทั้งระบบ เนื่องจากปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กฎหมายส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการแก้ไขปรับปรุง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับคดี ลดขั้นตอนการบังคับคดี และลดโอกาสในการใช้ช่องทางกฎหมายเพื่อการประวิงคดี รวมทั้งกำหนดให้มีมาตรการคุ้มครองคู่ความและบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะส่งผลให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันเป็นการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนและเสริมสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนเสริมสร้างความเชื่อมั่นในลงทุนและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งสาระสำคัญของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฉบับที่ 30 มีดังนี้

1. กำหนดมูลค่าของทรัพย์สินที่ยึดไม่ได้ในมูลค่าที่สูงขึ้นจากเดิม ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มหลับนอน เครื่องใช้ในครัวเรือนหรือเครื่องใช้สอยส่วนตัว ราคาไม่เกินประเภทละ 20,000 บาท สำหรับ สัตว์ สิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ ราคารวมกันไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดี อาจกำหนดมูลค่าที่สูงกว่านี้ได้ ตามที่ลูกหนี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็น


2. กำหนดมูลค่าของสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่อายัดไม่ได้ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท และบำเหน็จหรือค่าชดเชย ไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร


3. กำหนดวิธีการบังคับคดีเป็นการเฉพาะกับทรัพย์ประเภทใหม่ ๆ ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น หุ้น ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิในสิทธิบัตร สิทธิใoเครื่องหมายการค้า เป็นต้น


4. ลดขั้นตอนการขออนุญาตศาลขายทอดตลาด


5. กำหนดให้เจ้าหนี้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้รับจำนอง เจ้าของร่วมสามารถใช้สิทธิเต็มที่ในการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด หรือหาผู้ซื้อทรัพย์เพื่อให้ได้ในราคาที่ต้องการ

6. ยกเลิกการใช้สิทธิคัดค้านราคา การผูกพันราคา และการร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด อันเนื่องมาจากราคาต่ำ


7. กำหนดเรื่องการใช้สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการขอเปลี่ยนแปลงวิธีการขาย ในการขายแยกรายการ หรือวิธีขายรวมกันไป ในกรณีที่ยึดทรัพย์มาหลายรายการ โดยต้องร้องคัดค้านก่อนวันขาย แต่ต้องไม่ช้ากว่า 3 วัน นับแต่ทราบการประกาศขาย


8. กำหนดเวลาสำหรับผู้ที่อ้างว่าทรัพย์ที่ยึดไว้นั้นไม่ใช่ทรัพย์ของลูกหนี้ ตามคำพิพากษา โดยให้ยื่นคำร้องต่อศาลภายใน 60 วันนับแต่ยึดทรัพย์นั้น ๆ


9. ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดสามารถขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้ลูกหนี้ออกจากทรัพย์ที่ซื้อจากการขายทอดตลาดได้ โดยไม่ต้องขอออกคำบังคับ ผลสัมฤทธิ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฉบับที่ 30


10. มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน อันจะส่งผลให้การบังคับคดีมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดโอกาสในการใช้ช่องทางของกฎหมายในการประวิงคดี และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ฝ่ายใด เนื่องจากการใช้เวลาในการบังคับคดีเป็นเวลานาน เจ้าหนี้ก็ไม่ได้รับชำระหนี้ และลูกหนี้ก็ต้องรับภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ตลอดจนทำให้ทรัพย์ที่ยึดไว้ก็เสื่อมสภาพและส่งผลกระทบต่อราคาในการขายทอดตลาด


11. ลูกหนี้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม และสามารถชำระหนี้และปลดหนี้ได้เร็วขึ้น


12. เป็นการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวกับการบังคับคดีให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล


13. เป็นปัจจัยบวกต่อการประเมินความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ของธนาคารโลก โดยเฉพาะในตัวชี้วัดที่ 9 การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง (Enforcing Contracts)

 

ลูกหนี้ได้เฮ!!! กฏหมายใหม่ห้ามอายัดเงินเดือนลูกหนี้ มีผลบังคับใช้แล้ววันนี้ (รายละเอียด)