เปิดหน้าประวัติศาสตร์วง "คาราบาว" เมื่อแอ๊ดนำทีมหนุน "กบฏ 9 ก.ย." ช่วยพลทหาร "มะโหนก" ปฏิวัติ พล.อ.เปรม

หลายครั้งหลายคราที่วงดนตรีเพื่อชีวิตยิ่งใหญ่อย่าง "คาราบาว" ได้พาตัวเองเข้าไปอยู่ในห้วงประวัติศาสตร์ทางการเมืองของไทย หนึ่งในนั้นคือเหตุการณ์ที่ถูกจารึกชื่อว่า "กบฏ 9 กันยา" ที่ไม่เพียงแค่คาราบาวจะอยู่ในเหตุการณ์เท่านั้น ทว่าแอ๊ดและเพื่อนพ้อง ยังได้มีส่วนในการร่วมก่อกบฎอีกด้วย

9 กันยายน 2528 ขณะที่ พล.อ.เปรม ติณลาสูลานนทท์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น เดินทางไปราชการที่ประเทศอินโดนีเซีย ส่วนมือขวาอย่าง พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารบก ก็เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในยุโรป เป็นจังหวะเวลาท่ีนายทหารนอกราชการกลุ่มหนึ่ง ได้รวมตัวกันวางแผนพร้อมกระทำการก่อรัฐประหารขึ้น  ทว่าสุดท้ายกลับล้มเหลวไม่เป็นท่า กลายเป็นกบฏ

คณะปฏิวัติ ประกอบด้วย พ.อ.มนูญ รูปขจร (ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นมนูญกฤต) นาวาอากาศโท มนัส รูปขจร พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมันันทน์ พล.อ.เสริม ณ นคร พล.อ.ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พร้อมด้วยทหารประจำการอีกส่วนหนึ่ง โดยปฏิบัติการยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.เปรม เริ่มขึ้นตอนตี 3 ในขณะที่แอ๊ดและวงคาราบาว กำลังแสดงอยู่บนเวทีที่สวนอัมพร โดยคาราบาวถูกชักชวนมาให้เรียกร้องความสนใจแก่ประชาชนในบริเวณนั้น นอกนอกนี้คาราบาววยังมีหน้าที่เรียกมวลชนให้สนับสนุนคณะผู้ก่อการ โดยตามแผนจะมีการถ่ายสดการแสดงคอนเสิร์ตของคาราบาวทางโทรทัศน์ สลับกับการอ่านประกาศของคณะปฏิวัติ

การปฏิวัติเริ่มเมื่อเวลา  03.00 น. เมื่อรถถัง 22 คัน จากกองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ (ม.พัน.4 รอ.) พร้อมด้วยกำลังทหารกว่า 400 นาย จากกองกำลังทหารอากาศโยธิน เข้าควบคุมกองบัญชาการทหารสูงสุด สนามเสือป่า กรมประชาสัมพันธ์ รวมถึงองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย(อสมท.) และอ่านแถลงการณ์ของคณะปฏิวัติ ขณะที่บนเวที ซึ่งวงคาราบาวกำลังแสดงดนตรี ก็มีการกล่าวโจมตี พล.อ.เปรม อยู่ต่อเนื่อง และเวลานั้นแอ๊ด และ เล็ก คาราบาว ต่างก็พกปืนขึ้นไปขณะเล่นคอนเสิร์ตด้วย 

แต่การปฏิวัติก็ใช่ว่าจะราบรื่น เพราะทหารฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม มีการแถลงและอ่านประกาศสวนกันไปมาหลายรอบ ยิงต่อสู้กันไปถึงเช้าจรดเย็นของวันที่ 9 กันยายน จนมีการเจรจากันในเวลา 15.00 น. ก่อนการยอมถอดกำลังกันในเวลา 17.00 น. และปรากฏว่ารัฐประหารล้มเหลว 

เปิดหน้าประวัติศาสตร์วง "คาราบาว" เมื่อแอ๊ดนำทีมหนุน "กบฏ 9 ก.ย." ช่วยพลทหาร "มะโหนก" ปฏิวัติ พล.อ.เปรม

 

สาเหตุสำคัญที่ทำให้การปฏิบัติครั้นนั้นล้มเหลวเพราะ ผู้ก่อการขาดกำลังเสริม ซึ่งมีการเล่าว่า พ.อ.มนูญ ไม่ใช่หัวหอกตัวจริง ทว่าได้มีการนัดกับบุคคลสำคัญคนหนึ่งในปฏิบัติการนี้ แต่สุดท้ายก็ไม่มาตามนัด จึงเป็นที่มาของคำว่า "นัดแล้วไม่มา"

เปิดหน้าประวัติศาสตร์วง "คาราบาว" เมื่อแอ๊ดนำทีมหนุน "กบฏ 9 ก.ย." ช่วยพลทหาร "มะโหนก" ปฏิวัติ พล.อ.เปรม

เปิดหน้าประวัติศาสตร์วง "คาราบาว" เมื่อแอ๊ดนำทีมหนุน "กบฏ 9 ก.ย." ช่วยพลทหาร "มะโหนก" ปฏิวัติ พล.อ.เปรม

แอ๊ด คาราบาว เคยเล่าถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า "คืนนั้นผมไม่ได้นอน มารับแจ้งข่าวตอนประมาณ 5 โมงเย็นของวันที่ 8 ผมวิ่งหาเครื่องดนตรีและล็อกตัวคนในบ้านผมทุกคนไว้ ไม่ให้ไปไหน เพราะกลัวข่าวรั่ว ตีห้าของเช้ามืดวันที่ 9 ผมขับรถนำเพื่อนมุ่งไปลานพระรูปทรงม้า เพื่อนๆ ผมเริ่มไหวตัวเพราะเห็นกองกำลังฝ่ายเราตั้งด่าน เป็นจุดๆ ผมจึงตัดสินใจบอกเพื่อนในวงว่า ผมกำลังปฏิวัติ เราจะทำให้เมืองไทยดีขึ้น ทำเพื่อชาติเพื่อประชาชน เพื่อนผมไม่มีใครปฏิเสธ ที่ถูกผมหลอกให้มาปฏิวัติ นอกจากผมแล้ว ก็เห็นมีแต่เล็กเท่านั้น ที่รับสภาพวันนั้นได้ดี พากันตะโกนร้อง ลิงโลด เมื่อรู้ว่าพวกเรากำลังมาทำอะไร"

เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นที่มาของ เพลง " มะโหนก" (ถึกควายทุยภาค 6) ที่แอ๊ด แต่งให้ พ.อ.มนูญ หรือที่เขาเรียกอย่างสนิทใจด้วยความนับถือว่า "พี่นูญ"  ซึ่งในเพลงนี้ท่อนหนึ่งร้องว่า "โหนกตัดสินใจรับใช้ชาติประชา มาเป็นพลทหารม้าสังกัดมอพันสี่" ซึ่งหมายถึงว่า พี่นูญของเคยเป็นผู้บังคับบัญชาการกองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ (ม.พัน 4 รอ.)

เปิดหน้าประวัติศาสตร์วง "คาราบาว" เมื่อแอ๊ดนำทีมหนุน "กบฏ 9 ก.ย." ช่วยพลทหาร "มะโหนก" ปฏิวัติ พล.อ.เปรม

เปิดหน้าประวัติศาสตร์วง "คาราบาว" เมื่อแอ๊ดนำทีมหนุน "กบฏ 9 ก.ย." ช่วยพลทหาร "มะโหนก" ปฏิวัติ พล.อ.เปรม

 

ในเพลงมะโหนกนี้ยังได้นำเสียงระเบิดและเสียงปืนจากคอนเสิร์ตที่สวนอัมพร มาใส่ไว้ เพลงนี้บรรจุไว้ในอัลบั้มหมายเลข 6 ของวงคาราบาว ชื่อชุด "อเมริโกย" ส่วนปกอัลบั้มออกแบบเป็นลายพรางทหาร ซึ่งมีที่มาจากเหตุการณ์ กบฏ 9  กันยา โดยออกแบบให้เมื่อนำปกอัลบั้มมาวางกลับหัว จะอ่านได้ว่า "9 ก.ย." วันปฏิวัติล้มเหลว


ขอบคุณภาพจาก : Carabao Official