จากกรณีทางด้านคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เรียกร้องรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2561

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร้องรัฐบาลปรับค่าจ้างปี 61 อัตรา 600 บาท ต่อวันเป็นอย่างต่ำ ด้าน กระทรวงแรงงาน แจงแล้ว ต้องเป็นแบบนี้

จากกรณีทางด้านคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เรียกร้องรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2561 โดยระบุค่าจ้างอยู่ที่ 600 – 700 บาทต่อวัน ให้ครอบคลุมแรงงานทุกภาคส่วน เพราะปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพและไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเรื่องค่าครองชีพในปัจจุบัน ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2560 นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ โฆษกกระทรวงแรงงาน ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ว่าปกติแล้วการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้น เป็นสิทธิของคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวนั้นจะเป็นการทำงานร่วมกันแบบไตรภาคี ประกอบด้วย ตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาล ตัวแทนจากฝ่ายนายจ้าง ตัวแทนจากฝ่ายลูกจ้าง ร่วมกันพิจารณา โดยใช้หลักการประกอบการพิจารณาหลายประการ อาทิ ความแตกต่างของค่าครองชีพในแต่ละพื้นที่ มูลค่าตลาดทั้งหมดของสินค้าและบริการภายในประเทศ (จีดีพี) และอัตราการพัฒนาของเศรษฐกิจในพื้นที่นั้นๆ

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร้องรัฐบาลปรับค่าจ้างปี 61 อัตรา 600 บาท ต่อวันเป็นอย่างต่ำ ด้าน กระทรวงแรงงาน แจงแล้ว ต้องเป็นแบบนี้

 

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร้องรัฐบาลปรับค่าจ้างปี 61 อัตรา 600 บาท ต่อวันเป็นอย่างต่ำ ด้าน กระทรวงแรงงาน แจงแล้ว ต้องเป็นแบบนี้

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร้องรัฐบาลปรับค่าจ้างปี 61 อัตรา 600 บาท ต่อวันเป็นอย่างต่ำ ด้าน กระทรวงแรงงาน แจงแล้ว ต้องเป็นแบบนี้

ปี 2560 ทางด้าน คณะกรรมการค่าจ้างได้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2560 เพิ่มขึ้นในจำนวน 5 – 10 บาททั่วประเทศ ส่งผลให้ค่าแรงขั้นต่ำปรับเป็น 305-310 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าบางพื้นที่ ปรับขึ้น 5 บาท บางพื้นที่ปรับขึ้น 10 บาท เพราะในแต่ละพื้นที่มีค่าครองชีพที่แตกต่างกัน ซึ่งการปรับค่าจ้างแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่

1.กลุ่มที่ไม่ปรับค่าจ้างเลยใน 8 จังหวัด คือ สิงห์บุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช ตรัง ระนอง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา

2. ปรับขึ้น 5 บาท ใน 49 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี พัทลุง สตูล กำแพงเพชร พิจิตร แพร่ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคราม ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ชัยนาท ลพบุรี นครนายก สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม จันทบุรี ตราด ลำพูน พะเยา สุโขทัย อุตรดิตถ์ บึงกาฬ นครพนม อุบลราชธานี อ่างทอง เลย หนองบัวลำภู มุกดาหาร ยโสธร เชียงราย พิษณุโลก อุดรธานี ชัยภูมิ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ และหนองคาย

 

3. กลุ่มที่ปรับขึ้น 8 บาท ใน 13 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น นครราชสีมา ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง สุราษฎร์ธานี สงขลา เชียงใหม่ สระบุรี ฉะเชิงเทรา กระบี่ พังงา และพระนครศรีอยุธยา และกลุ่มที่

4. ปรับขึ้น 10 บาท ใน 7 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และภูเก็ต ทั้งนี้ค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา

 

จากการเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ให้กระทรวงแรงงานจะสามารถพิจารณาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้ถึง 600 -700 บาทต่อวันนั้น เป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้และเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ เชื่อว่าผู้ประกอบการก็ไม่สามารถอยู่ได้ เพราะหากมีการพิจารณาขึ้นจริง การบังคับใช้จะต้องมีการบังคับใช้กับผู้ประกอบการทุกประเภท ไม่ยกเว้นว่าผู้ประกอบการนั้นจะมีผลประกอบการที่ดีหรือผลประกอบการที่แย่

 

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร้องรัฐบาลปรับค่าจ้างปี 61 อัตรา 600 บาท ต่อวันเป็นอย่างต่ำ ด้าน กระทรวงแรงงาน แจงแล้ว ต้องเป็นแบบนี้

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร้องรัฐบาลปรับค่าจ้างปี 61 อัตรา 600 บาท ต่อวันเป็นอย่างต่ำ ด้าน กระทรวงแรงงาน แจงแล้ว ต้องเป็นแบบนี้

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร้องรัฐบาลปรับค่าจ้างปี 61 อัตรา 600 บาท ต่อวันเป็นอย่างต่ำ ด้าน กระทรวงแรงงาน แจงแล้ว ต้องเป็นแบบนี้