สู้ได้ครึ่งหนึ่งหรือยัง!! เห็นชายปั่นจักรยานพ่วงข้างสุดขยันรับงานทุกอย่างไม่เกี่ยง ได้คุยด้วยถึงกับน้ำตาไหลไม่สมประกอบแต่สุดยอดกตัญญู (คลิป)

เมื่อวันที่ 10 ก.ย.60 เพจ สีสันโคราช ได้โพสต์คลิปวิดีโอพร้อมเรื่องราวของชายป่วยสมองพิการคนหนึ่งระบุว่าชายรายนี้เป็นบุคคลกตัญญู เลี้ยงดูยายชราโดยการปั่นจักรยานพ่วงเก็บของเก่าขาย มีรายได้ประมาณวันละ 50 บาท ซึ่งในแต่ละเดือนชายรายนี้มีรายได้จากเบี้ยคนพิการเดือนละ 800 บาท ก็ได้มอบให้ยายเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายภายในบ้าน สร้างรอยยิ้มและถือเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้แก่ผู้พบเห็นได้เป็นอย่างมาก โดยผู้โพสต์ระบุว่า...

"หนุ่มพิการยอดกตัญญู ปั่นจักรยาน เร่เก็บของเก่าเลี้ยงยายชรา" นายมังกร ยะลา อายุ 29 ปี อยู่บ้านเลขที่ 106 หมู่ 12 ต.วังหมี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา เป็นโรคสมองพิการแต่กำเนิด (CP) ใช้จักรยานพ่วงข้างตระเวนเก็บของเก่าตามถังขยะและข้างถนนเลี้ยงตนเองกับยายวัย 70 ปี นายมังกร ให้ข้อมูลว่า ช่วงเช้าๆของทุกวันตนจะปั่นจักรยานคู่ชีพไปเก็บขวดพลาสติก กระป๋อง กระดาษ ฯลฯ นำไปขายให้ร้านของเก่าในหมู่บ้านทุกวัน ซึ่งมีรายได้ประมาณวันละ 50 บาท และตนเองก็ได้เงินคนพิการเดือนละ 800 บาท จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก็ได้มอบให้ยายไว้เป็นค่าใช้จ่ายในบ้าน ตนเองรักยายมาก ยายเลี้ยงมาแต่เล็กๆ งานเก็บของเก่าก็เป็นงานสุจริต รู้สึกภูมิใจที่ได้ทำงานเลี้ยงตัวเองและยายชรา ทางด้าน นางอรุณ แก้วสามัคคี ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า นายมังกร เป็นคนดี คนขยัน ทางหมู่บ้านก็ได้จ้างทำงานเก็บขยะ คุมเครื่องเสียง และเขาก็มีจิตอาสามาช่วยงานในกิจกรรมของหมู่บ้านบ่อยๆ

**สมองพิการ(Cerebral Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง (ที่มา:สถาบันราชานุกูล) #เพจสีสันโคราช ขอยกย่องคนแกร่งยอดกตัญญู #กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. #หนุ่มพิการยอดกตัญญู #สีสันโคราช

สู้ได้ครึ่งหนึ่งหรือยัง!! เห็นชายปั่นจักรยานพ่วงข้างสุดขยันรับงานทุกอย่างไม่เกี่ยง ได้คุยด้วยถึงกับน้ำตาไหลไม่สมประกอบแต่สุดยอดกตัญญู (คลิป)

สู้ได้ครึ่งหนึ่งหรือยัง!! เห็นชายปั่นจักรยานพ่วงข้างสุดขยันรับงานทุกอย่างไม่เกี่ยง ได้คุยด้วยถึงกับน้ำตาไหลไม่สมประกอบแต่สุดยอดกตัญญู (คลิป)

สมองพิการ(Cerebral Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้ นอกจากนี้ อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา  และโรคลมชัก เป็นต้น

สาเหตุ
อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ประมาณร้อยละ 25 หาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตของสมอง คือ ตั้งแต่ระยะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 7-8 ปี

โดยแบ่งสาเหตุการเกิดได้ 3 ระยะ คือ

1. ระยะที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดาหรือระยะก่อนคลอด(prenatal period) นับตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์จนถึงอายุครรภ์ 6 เดือน ซึ่งได้แก่

1.1 ภาวะการติดเชื้อของมารดาระหว่างตั้งครรภ์  เช่น โรคหัดเยอรมัน ซิฟิลิส เริม มาเลเรีย เอดส์ เป็นต้น

1.2 ภาวะการขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ เช่น มารดาที่มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์คล้ายจะแท้ง หรือมีการลอกตัวของรกก่อนกำหนด มารดาขาดอาหารหรือซีดมาก

1.3 ภาวะขาดสารอาหารที่มีคุณค่าของมารดา เช่น ธาตุเหล็ก ไอโอดีน วิตามินต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารต่างๆ

1.4 มารดามีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน เด็กอาจตัวใหญ่ผิดปกติ ทำให้เกิดอันตรายจากการคลอดได้ หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงมาก อาจทำให้มีเลือดออกในสมองของเด็กได้

1.5 ยาและสารพิษบางอย่างที่มารดาได้รับมากเกินปกติ (ตะกั่ว ปรอท บุหรี่ สุรา)

1.6 ความผิดปกติของสมองโดยกำเนิด เช่น ภาวะน้ำคั่งในกะโหลกศีรษะ สมองไม่เจริญ สมองลีบ สมองเล็ก

1.7 ความผิดปกติของโครโมโซม

1.8 รก และสายสะดือไม่สมบูรณ์

2. ระยะระหว่างคลอด(perinatal period)

นับตั้งแต่ 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์จนถึงสัปดาห์แรกหลังคลอด ได้แก่

2.1 เด็กคลอดก่อนกําหนด และเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย คือ ต่ำกว่า 2,500 กรัม จะมีความเสี่ยงสูงที่จะสมองพิการ

2.2 ภาวะการขาดออกซิเจนในเด็กระหว่างคลอด จากการคลอดลำบาก คลอดผิดปกติ เช่น คลอดท่าก้น หรือสายสะดือพันคอ  เด็กสำลักน้ำคร่ำ หรือ การคลอดที่ต้องใช้เครื่องช่วย เช่น คีมคีบ หรือ เครื่องดูดศีรษะ

2.3 ภาวะกลุ่มเลือดมารดาและทารกไม่เข้ากัน ทำให้เด็กคลอดออกมาตัวเหลือง

2.4 การคลอดโดยใช้ยาระงับปวดบางชนิด เช่น มอร์ฟีน หรือการฉีดยาเข้าไขสันหลัง เพื่อระงับปวดระหว่างคลอด อาจเสี่ยงกับการขาดออกซิเจนในเด็กได้

สู้ได้ครึ่งหนึ่งหรือยัง!! เห็นชายปั่นจักรยานพ่วงข้างสุดขยันรับงานทุกอย่างไม่เกี่ยง ได้คุยด้วยถึงกับน้ำตาไหลไม่สมประกอบแต่สุดยอดกตัญญู (คลิป)

สู้ได้ครึ่งหนึ่งหรือยัง!! เห็นชายปั่นจักรยานพ่วงข้างสุดขยันรับงานทุกอย่างไม่เกี่ยง ได้คุยด้วยถึงกับน้ำตาไหลไม่สมประกอบแต่สุดยอดกตัญญู (คลิป)

3.ระยะหลังคลอด (postnatal period) ได้แก่

3.1 ภาวะสมองเด็กขาดออกซิเจน เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด การวางยาสลบ การจมน้ำ หรือมีอาการชัก

3.2 การติดเชื้อของเด็ก เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมองอักเสบ โรคหัด เป็นต้น

3.3 อุบัติเหตุที่ทำให้มีอันตรายต่อสมองของเด็ก เช่น กะโหลกร้าว มีเลือดออกในสมอง

 อาการและอาการแสดง

ส่วนใหญ่พ่อแม่มักพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี สังเกตได้จากเด็กจะมีท่านอนผิดปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง เด็กอายุมากกว่า 5 เดือน กำมือมากกว่าแบมือ หรือในเด็กที่มีอายุมากว่า 2 ปียังไม่สามารถเดินได้ เป็นต้น จำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ

สู้ได้ครึ่งหนึ่งหรือยัง!! เห็นชายปั่นจักรยานพ่วงข้างสุดขยันรับงานทุกอย่างไม่เกี่ยง ได้คุยด้วยถึงกับน้ำตาไหลไม่สมประกอบแต่สุดยอดกตัญญู (คลิป)


ขอบคุณ : สีสันโคราช