พายุไต้ฝุ่น “ทกซูรี” พ่นพิษ ทำภูเก็ตอ่วม ดินสไลด์ทำโรงแรม 9 ชั้น ที่กำลังก่อสร้าง ต.กมลา อ.กระทู้ พังถล่ม (คลิป)

พายุโซนร้อนทกซูรี  (DOKSURI) ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนใต้ของเมืองวินห์ ประเทศเวียดนามแล้ว หรือที่ละติจูด 17.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 106.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

โดยมีผลกระทบทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล กรมอุตุนินยมวิทยาได้ประกาศเตือนฝนตกหนักและฝนตกสะสม อาจจะเกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน อันเกิดจากอิทธิพลของพายุ ทกซูรี
จากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่น "ทกซูรี" ทำให้ฝนตกหนักที่ จ.ภูเก็ต ตลอดทั้งคืน ส่งผลให้มีน้ำท่วมและดินทรุดตัว โดยโรงแรม 9 ชั้น ที่กำลังก่อสร้าง บ้านหัวควน ต.กมลา อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต ทรุดตัวพังลงมาเมื่อเวลาประมาณ 09.00 น. นอกจากนี้หลายพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ตมีน้ำท่วม ผิวจราจรหลายสาย  


น้ำป่าที่กะรน
 
 
 
 

พายุไต้ฝุ่น “ทกซูรี” พ่นพิษ ทำภูเก็ตอ่วม  ดินสไลด์ทำโรงแรม 9 ชั้น ที่กำลังก่อสร้าง ต.กมลา อ.กระทู้ พังถล่ม (คลิป)

พายุไต้ฝุ่น “ทกซูรี” พ่นพิษ ทำภูเก็ตอ่วม  ดินสไลด์ทำโรงแรม 9 ชั้น ที่กำลังก่อสร้าง ต.กมลา อ.กระทู้ พังถล่ม (คลิป)

พายุไต้ฝุ่น “ทกซูรี” พ่นพิษ ทำภูเก็ตอ่วม  ดินสไลด์ทำโรงแรม 9 ชั้น ที่กำลังก่อสร้าง ต.กมลา อ.กระทู้ พังถล่ม (คลิป)

พายุไต้ฝุ่น “ทกซูรี” พ่นพิษ ทำภูเก็ตอ่วม  ดินสไลด์ทำโรงแรม 9 ชั้น ที่กำลังก่อสร้าง ต.กมลา อ.กระทู้ พังถล่ม (คลิป)

พายุไต้ฝุ่น “ทกซูรี” พ่นพิษ ทำภูเก็ตอ่วม  ดินสไลด์ทำโรงแรม 9 ชั้น ที่กำลังก่อสร้าง ต.กมลา อ.กระทู้ พังถล่ม (คลิป)

พายุไต้ฝุ่น “ทกซูรี” พ่นพิษ ทำภูเก็ตอ่วม  ดินสไลด์ทำโรงแรม 9 ชั้น ที่กำลังก่อสร้าง ต.กมลา อ.กระทู้ พังถล่ม (คลิป)

 

ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศพายุ “ทกซูรี” (DOKSURI) ล่าสุดฉบับที่ 10 โดยพายุไต้ฝุ่น“ทกซูรี” ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนใต้ของเมืองวินห์ ประเทศเวียดนามแล้ว หรือที่ละติจูด 17.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 106.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

คาดว่า พายุนี้จะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศลาว และเคลื่อนผ่านบริเวณจังหวัดนครพนม หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเคลื่อนเข้าปกคลุมจังหวัดน่านในวันที่ 16 ก.ย.60 ส่งผลให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมที่อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปประเทศเวียดนามตอนบนควรตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางด้วย โดยมีผลกระทบตามภาคต่างๆดังนี้
       

วันที่ 15 ก.ย. 60
- ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดน่าน แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย และพิจิตร
  - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร บึงกาฬ หนองคาย อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
- ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
- ภาคใต้ บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 16 ก.ย. 60
- ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ และนครราชสีมา
- ภาคกลาง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี กาญจนบุรี อ่างทอง ราชบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
- ภาคใต้ บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลาระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล
       

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 15-18 ก.ย. 60
       

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดในระยะนี้

 

ขอบคุณคลิปจาก JS100, Kniruj Bankamala