พญาศรีสัตตนาคราชเป็นหนึ่งในพญานาคผู้มีฤทธิ์ ทรงศักดาอานุภาพ นามของพญาศรีสัตตฯ นี้ก็ปรากฏพบในตำนานอุรังคธาตุเช่นกันความดังนี้ว่า

เปิดตำนาน พญาศรีสัตตนาคราช สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สองฝั่งลำน้ำโขง ที่มาขององค์พญานาคทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน

พญาศรีสัตตนาคราชเป็นหนึ่งในพญานาคผู้มีฤทธิ์ ทรงศักดาอานุภาพ นามของพญาศรีสัตตฯ นี้ก็ปรากฏพบในตำนานอุรังคธาตุเช่นกันความดังนี้ว่า.....

พระศาสดา ก็เสด็จไปสู้ดอยนันทกังรี ซึ่งเป็นที่อยู่ของนางนันทยักษ์แต่ก่อน มีนาคตัวหนึ่ง 7 หัว ชื่อว่าศรีสัตตนาค เข้ามาทูลขอให้พระศาสดาทรงย่ำรอยพระบาทไว้ ณ ที่นั้น ทรงก้าวพระบาทข้ามตีนดอยก้ำขวาแล้วทรงแย้มพระโอฐ เจ้าอานนท์กราบทูลถาม ตถาคตตรัสว่า เราเห็นนาค 7 หัวเป็นนิมิต ต่อไปภายหน้าที่นี้จักบังเกิดเป็นเมือง มีชื่อว่าเมืองศรีสัตตนาค

 

 

เผ่าพันธุ์ของพญามุจลินท์นาคราช คือ พญานาค 7 เศียร ได้สืบสายพันธุ์มาจนถึง พญาศรีสัตตนาคราช (นาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาล) เชื่อกันว่าเป็นกษัตริย์แห่งพญานาคฝั่งลาว ส่วนฝั่งไทยนั้นมี พญาศรีสุทโธนาคราช (นาคาธิบดีสีสุทโธ) เป็น กษัตริย์พญานาคฝั่งไทย แต่เป็นพญานาคเศียรเดียว ซึ่งเล่ากันว่า สองราชาพญานาคคู่นี้เป็นสหายรักกันมาก

 

เปิดตำนาน พญาศรีสัตตนาคราช สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สองฝั่งลำน้ำโขง ที่มาขององค์พญานาคทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน

 

โดยมีเรื่องของราชาแห่งนาคทั้งสองตนนี้ โดยทางด้านหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย ได้เล่าเอาไว้ดังต่อไปนี้

 

 

เปิดตำนาน พญาศรีสัตตนาคราช สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สองฝั่งลำน้ำโขง ที่มาขององค์พญานาคทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน

 

ในผืนน้ำของประเทศไทยเรา มีพญานาคราชเป็นใหญ่นามกรว่า พญาศรีสุทโธนาคราช (นาคาธิบดีสีสุทโธ) ชอบการจำศีลบำเพ็ญเพียร และปฏิบัติธรรม นิสัยอ่อนโยนมีเมตตา ไม่ชอบการต่อสู้ เข้าข่ายเป็นพญานาคผู้น่านับถือเป็นอย่างยิ่ง ส่วนฝั่งลาวนั้น มี พญาศรีสัตตนาคราช เป็นใหญ่เหนือพญานาคทั้งปวง ที่ทรงฤทธิ์มีอำนาจเหนือกว่าพญานาคทั้งหลายในสองแผ่นดินไทย-ลาว ถึงท่านเป็นพญานาคที่มีฤทธิ์เดช แต่ก็ชอบการจำศีลภาวนา และประพฤติปฏิบัติธรรมเหมือนกันกับทางด้านพญาศรีสุทโธนาคราช (นาคาธิบดีสีสุทโธ) มีตำนานกล่าวว่าท่านชอบมาที่วัดพระธาตุพนมเหมือนกัน จนขนาดมีการตกลงกันว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการความช่วยเหลือ ก็จะช่วยกันอย่างเต็มที่เต็มกำลังความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้อยใหญ่เรื่องใดก็ตาม

 

ขณะที่ทางด้าน พญาศรีสัตตนาคราช มีความเด่นสง่าเหนือกว่าใครเพราะมี 7 เศียร ลำตัวเดียว ถือได้ว่าเป็นตระกูลพญานาคที่สืบสายพันธุ์มาแต่ครั้งพุทธกาล มีความใกล้ชิดพระพุทธองค์ และพระพุทธศาสนา จนอาจถือว่าเป็นต้นตระกูลแห่งพญานาคทั้งหลายทั้งปวง

 

 

เปิดตำนาน พญาศรีสัตตนาคราช สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สองฝั่งลำน้ำโขง ที่มาขององค์พญานาคทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน

 

หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย ยังได้บอกเล่าต่อว่า ส่วนใดที่อยู่ใกล้ต้นน้ำลำธาร หรือหากมีพิธีกรรมอันใดเกิดขึ้น ให้อัญเชิญบอกกล่าวแก่เหล่าพญานาค พิธีกรรมนั้นจะศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนทั้งสองฝั่งลำน้ำโขงนั้นให้การเคารพศรัทธา องค์พญานาค เป็นอย่างยิ่ง
 

 

ปัจจุบันนี้ จังหวัดนครพนม จึงออกแบบและก่อสร้างองค์พญาศรีสัตตนาคราช เพื่อเป็นนิมิตหมายอันดีในการสร้างสัญลักษณ์เมืองขึ้น และได้ทำการประกอบพิธีอัญเชิญองค์พญาศรีสัตตนาคราชขึ้นประดิษฐาน ท่ามกลางประชาชนชาวไทยและลาว ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง และ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง จ.นครพนม และพระสงฆ์จากวัดใกล้เคียงมาร่วมในพิธี โดยทางจังหวัดได้ทำพิธีสมโภชใหญ่ พุทธาภิเษก รวม 9 วัน 9 คืน ระหว่างวันที่

วันที่ 9 – 18 กันยายน ที่ผ่านมา

 

เปิดตำนาน พญาศรีสัตตนาคราช สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สองฝั่งลำน้ำโขง ที่มาขององค์พญานาคทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน

ภายใต้ความเชื่อเกี่ยวกับ องค์พญาศรีสัตตนาคราช ซึ่งเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของ จ.นครพนม อย่างที่ทราบกันว่าพี่น้องชาวไทยและชาวลาว ล้วนมีความเชื่อผูกพันอยู่กับองค์พญานาค พอๆ กับความผูกพันในลำน้ำโขง รุ่นปู่ย่าล้วนศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของพญานาคในฐานะที่เป็นผู้ดูแลปกปักษ์รักษาแถบลุ่มน้ำโขง รักษาพุทธศาสนา รวมถึงองค์พระธาตุพนม ซึ่งเป็นองค์พญานาคทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน แน่นอนว่าจากประติมากรรมที่สูงค่าผนวกกับความเชื่อความศรัทธาที่มีต่อองค์พญาศรีสัตตนาคราช ย่อมส่งผลให้จังหวัดนครพนม ดินแดนแห่งลุ่มน้ำโขงกลายเป็นแลนด์มาร์คสำคัญที่สร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจของจังหวัดอย่างไม่อาจปฏิเสธ ณ บริเวณที่ประดิษฐานองค์พญานาค ลานศรีสัตตนาคราช ริมฝั่งแม่น้ำโขงหน้าสำนักงานป่าไม้ ถนนสุนทรวิจิตร ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม

 

เปิดตำนาน พญาศรีสัตตนาคราช สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สองฝั่งลำน้ำโขง ที่มาขององค์พญานาคทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน

องค์พญาศรีสัตตนาคราช หล่อด้วยทองเหลือง มีน้ำหนักรวม 9,000 กก. เป็นรูปพญานาคขดหาง 7 เศียร ประดิษฐานบนแท่นฐานแปดเหลี่ยม กว้าง 6 เมตร ความสูงทั้งหมดรวมฐาน 15 เมตร สามารถพ่นน้ำได้ วัตถุประสงค์การก่อสร้างครั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อเกี่ยวต่อเรื่องพญานาคของชาวไทย และชาวลาวที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง อีกทั้งยังต้องการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนม เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งสถานที่แห่งนี้จะกลายเป็นแลนมาร์กแห่งใหม่อีกจุดหนึ่งของภูมิภาคนี้

 

เปิดตำนาน พญาศรีสัตตนาคราช สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สองฝั่งลำน้ำโขง ที่มาขององค์พญานาคทองเหลืองที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน