อยากให้ได้อ่าน !!! "ไพศาล" เปิดอกถึง "ทักษิณ" จำฝังใจเคยสนับสนุน แต่ 2 เรื่องนี้มันรับไม่ได้!

สืบเนื่องจาก 19 กันยายน 2560 วันครบรอบ 11 ปี  เหตุการณ์รัฐประหารรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกนำไปขยายความว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งของประเทศ ที่มีมาจนถึงปัจจุบันนี้

อย่างไรก็ตามหากได้ไล่เรียงข้อมูลและลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ปัญหาสำคัญของประเทศไทยก็คือระบอบทักษิณ ที่เริ่มถือกำเนิดขึ้นนับตั้งแต่นายทักษิณ เข้ามาบริหารประเทศในสมัยแรก

ในขณะที่การรัฐประหารก็เป็นกระบวนการหนึ่งที่พยายามจะหยุดยั้งระบอบทักษิณ แต่ก็ทำไม่สำเร็จ จนทำให้ระบอบทักษิณมีวิวัฒนาการในลักษณะปรับตัวและสร้างปัญหาให้กับประเทศมาจนถึงวันนี้

ล่าสุดนั้นนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีความเคลื่อนไหวโดยโพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวในวันครบรอบ 11 ปี เหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งในขณะนั้นเขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  โดยข้อความทั้งหมดระบุว่า

I hope the memory of what happened 11 years ago has not faded from the hearts of Thai people. (1)

(ผมหวังว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 11 ปีที่แล้ว จะยังไม่ลบเลือนไปจากความทรงจำในใจของคนไทยทุกคน)

I am, and will always be, concerned about the livelihood of my fellow Thai citizens. (2)

(ผมจะยังคง และจะเป็นตลอดไป กับการดูแลเอาใจใส่ พี่น้องชาวไทยทุกคน)

อยากให้ได้อ่าน !!! "ไพศาล" เปิดอกถึง "ทักษิณ" จำฝังใจเคยสนับสนุน แต่ 2 เรื่องนี้มันรับไม่ได้!

ต่อมาในวันเดียวกัน นายไพศาล พืชมงคล ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า

รำลึก11ปี ยึดอำนาจระบอบทักษิน

1.เกือบลืมวันสำคัญไปแล้ว เห็นท่านแม้วเขียนเรื่องนี้ก็นึกถึงขึ้นมาบ้าง ก็ไม่ลืมท่านแม้วเช่นกัน เพราะมีอุปการะกันมามาก ท่านเคยเป็นลูกค้าลูกความผมนานมาก ผมก็เคยเป็นลูกพรรคท่านตอนพรรคความหวังใหม่ไปควบกับพรรคไทยรักไทย ตอนเลือกตั้งครั้งแรกท่านก็จ้างสำนักงานผมตรวจคุณสมบัติผู้สมัคร สส. ทุกคน ค่าจ้างตรวจคนละ5พันบาทเชียวนา

2.พวกผมสนับสนุนท่าน หลงไหลท่านว่าเป็นอัจฉริยะแห่งยุคอยากให้ท่านบริหารบ้านเมืองให้นานๆถึงกับอาสาประสานกับพรรคจีนให้เรียนรู้การจัดตั้งมวลชนและได้เสนอแนะการบริหารบ้านเมืองเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า600ฉบับ

3.ในที่สุดก็ต้องไปคนละทาง ผมรับไม่ได้กับ2เรื่องคือการทุจริตและการก้าวล่วงพระราชอำนาจแล้วเข้าร่วมการต่อต้านกับประชาชนภาคส่วนต่างๆ

4.วันนี้เมื่อ11ปีก่อนราว3ทุ่มผมก็ไปช่วย คมช. ทำประกาศคำสั่งต่างๆ ในการยึดอำนาจและการจัดการต่างๆ มีท่านอาจารย์มีชัยอยู่คนเดียว ผมทำหน้าที่ร่าง ท่านมีชัยทำหน้าที่ตรวจ ประกาศคำสั่งในคืนนั้นทำกันอย่างนี้ คืนนั้นไม่พร้อมสักอย่าง 
เครื่องคอมและคนพิมพ์เอามาจากสำนักงานผมทั้งนั้น คืนนั้นนายพลหลายคนผมบอกให้ทำอะไรก็ทำกัน

5.หลังจากนั้น2วันเห็นคนมากันมากแล้วผมก็กลับและไม่ได้เกี่ยวข้องจนได้รับแต่งตั้งเป็น สว. ก็มีใครต่อใครมาอ้างว่าเป็นผู้เสนอ คมช. แต่งตั้งจนผมไม่รู้ว่าเป็นหนี้บุญคุณใคร ใช้หนี้บุญคุณไม่ถูก ก็ไปขอพบหัวหน้า คมช. แล้วถามเรื่องนี้ ท่านก็บอกว่าท่านตั้งเอง ผมถามว่าเราไม่รู้จักกันทำไมท่านตั้งผม พล.อ. สนธิ ตอบว่า ในคืนนี้ ถ้าท่านแพ้ ผมก็ต้องหัวขาดกับท่าน ผมจำเรื่องทั้งนี้ไม่เคยลืม

6.ผมไม่มีความเกลียดความแค้นอะไรกับท่านแม้ว ใจยังมีความอบอุ่นด้วยไมตรีอยู่เสมอ หวังให้ท่านเลิกเกี่ยวข้องกับพวกล้มเจ้าแล้วช่วยคิดอ่านบำรุงแผ่นดิน บ้านเมืองก็จะเป็นปกติสุขและศานติแน่ เมื่อใดความหวังนี้เป็นจริงผมก็จะขอไปเยี่ยมท่าน

7.มาถึงวันนี้ท่านแม้วคงคิดถึงคนบางคนที่รับใช้ท่านจนท่านวางใจแล้วทำให้ท่านชนฟ้าชนดิน แล้วคนพวกนั้นก็ยังคงทำอย่างนั้นในวันนี้!

ก็รำลึกวันครบ11ปี19กันยา49อย่างนี้แหละ

อยากให้ได้อ่าน !!! "ไพศาล" เปิดอกถึง "ทักษิณ" จำฝังใจเคยสนับสนุน แต่ 2 เรื่องนี้มันรับไม่ได้!

อยากให้ได้อ่าน !!! "ไพศาล" เปิดอกถึง "ทักษิณ" จำฝังใจเคยสนับสนุน แต่ 2 เรื่องนี้มันรับไม่ได้!

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เกิดในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ โค่นรักษาการนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร (ยศในขณะนั้น) นับเป็นรัฐประหารในรอบ 15 ปี รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในเดือนต่อมา หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปที่มีกำหนดจัดในเดือนเมษายนถูกสั่งให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมานับแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐประหารยกเลิกการเลือกตั้งซึ่งกำหนดจัดในเดือนตุลาคม ยกเลิกรัฐธรรมนูญ สั่งยุบรัฐสภา สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง ยับยั้งและตรวจพิจารณาสื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก และจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรีหลายคน

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน แถลงสาเหตุเมื่อวันที่ 21 กันยายน และให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูรัฐบาลระบอบประชาธิปไตยภายในหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกาศว่า หลังจากการเลือกตั้งและการตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยแล้ว คณะปฏิรูปการปกครองจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งยังไม่มีการอธิบายบทบาทที่มีต่อการเมืองไทยในอนาคต

หลังรัฐประหาร คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้แต่งตั้งพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน 41 จังหวัด แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด

รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาตอบรับจากนานาชาติมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์ในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย การแสดงความความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต และว่า รัฐประหาร "ไม่มีเหตุผลยอมรับได้"

ลำดับเหตุการณ์ในวันนั้น พลตรี ประพาศ ศกุนตนาค อ่านแถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองฯทหารบกมีส่วนสำคัญในการก่อรัฐประหารครั้งนี้ มีริบบิ้นสีเหลืองผูกกระบอกปืน และมีผ้าพันคอสีเหลือง

เช้าวันที่ 19 กันยายน มีคำสั่งจากพันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร เรียกผู้นำทุกเหล่าทัพเข้าประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่มีผู้นำเหล่าทัพคนใดเข้าร่วม ยกเว้น พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทำให้ช่วงบ่ายมีกระแสข่าวลือรัฐประหารแพร่สะพัดไปทั่วทำเนียบรัฐบาลและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีข่าวลือว่ารัฐมนตรีและนักการเมืองร่วมรัฐบาลหลายคนหลบหนีออกนอกประเทศแล้ว ช่วงพลบค่ำมีข่าวว่ากำลังทหารหน่วยรบพิเศษจากจังหวัดลพบุรี เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพมหานคร

เวลา 18.00 น. สมชาย มีเสน ผู้จัดรายการวิทยุ เอฟ.เอ็ม. 92.25 เมกกะเฮิร์ซ นัดผู้ฟังรายการจำนวนหนึ่งเข้าพบพลเอกสนธิ ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) เพื่อขอให้ทหารให้ความคุ้มครองกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จะชุมนุมขับไล่พันตำรวจโททักษิณในวันรุ่งขึ้น ประมาณ 21.00 น. กำลังทหารจากพลร่มป่าหวาย หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เข้ามาประจำการที่กองบัญชาการกองทัพบก

เวลา 22.00 น. ขบวนรถถังเคลื่อนเข้าคุมเชิงที่สะพานมัฆวานรังสรรค์และถนนราชดำเนิน ไม่กี่นาทีต่อมา ทหารจำนวนมากออกมาตรึงกำลังตามถนนต่าง ๆ ตั้งแต่แยกเกียกกาย ผ่านมาถึงถนนราชสีมา บริเวณสวนรื่นฤดี สี่แยกราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) โดยมีทหารแต่งกายลายพรางเต็มยศเป็นผู้ควบคุมกำลัง

เวลา 22.54 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยออกอากาศทางสถานีทุกช่อง ขึ้นคำประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมขออภัยในความไม่สะดวก และเปิดเพลง "ความฝันอันสูงสุด" ประกอบ ด้านสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นและบีบีซีเผยแพร่ข่าวรถถังและกำลังทหารควบคุมสถานการณ์ภายในกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้น พลตรี ประพาศ ศกุนตนาค อดีตโฆษก ททบ.5 อ่านแถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่แสดงไว้ในหน้าจอก่อนหน้านี้ซ้ำสองครั้ง

เกือบเที่ยงคืน ผู้บัญชาทหารทุกเหล่าทัพเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต

 

อ้างอิง Paisal Puechmongkol